มะลาละห์ ยูซัฟซัย

(เปลี่ยนทางจาก มาลาลา ยูซาฟไซ)

มะลาละห์ ยูซัฟซัย (ปาทาน: ملاله یوسفزۍ Malālah Yūsafzay, เกิด 12 กรกฎาคม 2540)[1] เป็นเด็กนักเรียนจากเมืองมินโกราในเขตสวาท (Swat District) แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักในการศึกษาและการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีของเธอในหุบเขาสวัด ซึ่งตอลิบานบางครั้งห้ามเด็กหญิงมิให้เข้าศึกษาในโรงเรียน[2][3] ต้นปี 2552 ขณะอายุได้ 11 ปี ยูซาฟไซกลายมาเป็นที่รู้จักผ่านบล็อกที่เธอเขียนให้แก่บีบีซีโดยรายละเอียดกล่าวถึงชีวิตของเธอภายใต้ระบอบฏอลิบาน ความพยายามของฏอลิบานในการเข้าควบคุมหุบเขา และมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง[4] ฤดูร้อนปีต่อมา มีการถ่ายทำสารคดีของนิวยอร์กไทมส์[3] เกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่กองทัพปากีสถานเข้าแทรกแซงในภูมิภาค[5] ยูซาฟไซเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้สัมภาษณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และทางโทรทัศน์[6] และรับตำแหน่งประธานสภาเด็กเขตสวัด (District Child Assembly Swat)[7] นับแต่นั้น เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศโดยเดสมอนด์ ตูตู[8] และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน[2]

มะลาละห์ ยูซัฟซัย
ملاله یوسفزۍ
ยูซาฟไซ ในเดือนตุลาคม 2015
เกิด (1997-07-12) 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปี)
มินโกร่า, เขตสวาท, ประเทศปากีสถาน
สัญชาติปากีสถาน
พลเมืองปากีสถานและแคนาดา (พลเมืองกิตตมศักดิ์)
การศึกษา
อาชีพนักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาสตรี, อดีตบล็อกเกอร์ของบีบีซีอูรดู และนักศึกษา
มีชื่อเสียงจากนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาสตรี
รางวัล
  • รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี ค.ศ. 2014
เว็บไซต์www.malala.org

วันที่ 9 ตุลาคม 2555 มะลาละห์ ยูซาฟซัยถูกยิงที่ศีรษะและคอในความพยายามลอบสังหารโดยมือปืนฏอลิบานขณะกำลังกลับบ้านบนรถโดยสารประจำทางโรงเรียน[9] หลายวันหลังจากนั้น เธอยังหมดสติและอยู่ในภาวะวิกฤต[10] และจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม เธอถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม

ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 มูลนิธิโนเบลได้ประกาศให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับไกลาศ สัตยาธี จากการต่อสู้ของเด็กเพื่อความถูกต้องของการศึกษาในเด็กทั้งหมด ถือเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด[11] ด้วยวัย 17 ปี

ชีวิตในวัยเด็ก แก้

วัยเด็ก แก้

 
[ลิงก์เสีย]Yousafzai กับ Ziauddin พ่อของเธอในปี 2013
 
[ลิงก์เสีย]จากซ้ายไปขวา: มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์, เนลสัน แมนเดลา และ มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ สร้างแรงบันดาลใจแก่ยูซัฟซัย

ยูซาฟไซ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ใน เขตสวาท ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาเธอเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง[12] และเป็นลูกสาวของนายไซอุดดิน ยูซาฟไซ และ Tor Pekai Yousafzai[13] ครอบครัวของเธอมีเชื้อสายปาทาน และนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี[14] ครอบครัวของเธอไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการคลอดที่โรงพยาบาลและทำให้ยูซาฟไซเกิดที่บ้านด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน[15] ชื่อแรกของเธอมะลาละห์ (หมายถึง "ความเศร้าโศกเสียใจ")[16] ถูกตั้งตาม มาลาไล แห่งไมวันด์ (Malalai of Maiwand) ซึ่งเป็นกวีชาวปาทานผู้มีชื่อเสียงจากและเป็นนักรบหญิงจากทางใต้ของอัฟกานิสถาน[17] ส่วนนามสกุลของเธอคือ ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าปาทาน (Pashtun) ขนาดใหญ่ในหุบเขาสวาทของปากีสถาน มาลาละห์อาศัยอยู่ที่บ้านของเธอในเมืองมินโกร่ากับน้องชายสองคนของเธอ (Khushal และ Atal) พ่อแม่ของเธอ และไก่สองตัว

ยูซาฟไซสามารถพูด ภาษาปาทาน ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อของเธอซึ่งเป็นทั้งกวี เจ้าของโรงเรียน และนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา เป็นคนสอนหนังสือให้เธอ

ในการให้สัมภาษณ์ยูซาฟไซ เคยกล่าวไว้ว่าเธอปรารถนาที่จะเป็นหมอ แต่ต่อมาพ่อของเธอสนับสนุนให้เธอกลายเป็นนักการเมืองแทน[18] โดยนายไซอุดดินพูดถึงลูกสาวของเขาว่า เธอเป็นคนที่พิเศษ เพราะสามารถพูดคุยเรื่องการเมืองได้ทั้งคืน หลังจากที่พี่ชายทั้งสองคนเข้านอนแล้ว[19]

ยูซาฟไซเริ่มพูดเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2008 หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจากมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ และ นายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโต เมื่อพ่อของเธอพาเธอไปเมืองเปศวาร์ เพื่อพูดที่ชมรมสื่อท้องถิ่น[20] เธอกล่าวว่า "ตอลิบานกล้าเอาสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานของฉันไปได้อย่างไร" ซึ่งคำพูดของเธอถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และช่องโทรทัศน์ทั่วทั้งภูมิภาค[21]

ในปี 2009 ยูซาฟไซเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฝึกหัดและเป็นนักการศึกษาใน สถาบันการรายงานสงครามและสันติภาพ ของโครงการเยาวชนเปิดใจของปากีสถานในโรงเรียนในภูมิภาคเพื่อช่วยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมผ่านสื่อ การอภิปรายสาธารณะ และการสนทนา[22]

การเป็นบล็อกเกอร์ของ BBC แก้

ในช่วงปลายปี 2008 Aamer Ahmed Khan จากเว็บไซต์ บีบีซีอูรดู และเพื่อนร่วมงานของเขาได้คิดค้นวิธีใหม่ในทำข่าวของกลุ่มตอลิบานในเมืองสวาท ซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โดยในขณะนั้น มุลลาห์ ฟาซลุลลาห์ เป็นผู้นำกลุ่มก่อการร้ายตอลิบาน ได้ยึดครองหุบเขาสวาท และออกคำสั่งห้ามการดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การศึกษาของเด็กผู้หญิง[23] และการไปออกไปซื้อของของผู้หญิง[24]

นักข่าวจากบีบีซีจึงตัดสินใจขอให้เด็กนักเรียนหญิงทำบล็อกเกี่ยวกับชืวิตของเธอโดยไม่ระบุชื่อ อับดุล ไห่ คาการ์ ผู้สื่อข่าวในเปศวาร์ ติดต่อกับ ไซอุดดิน ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นครูโรงเรียนในท้องถิ่น แต่ไม่สามารถหานักเรียนที่เต็มใจทำเช่นนั้น แม้ว่าในตอนแรกเด็กสาวชื่อไอชา ตกลงที่จะเขียนไดอารี่ แต่หพ่อแม่ของเธอห้ามไม่ให้ทำเพราะกลัวการตอบโต้ของตอลิบาน จนสุดท้าย ไซอุดดิน แนะนำมะลาละห์ ลูกสาวของเขา ซึ่งในขณะนั้นอายุ 11 ปี[25] และเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1[26]

อ้างอิง แก้

  1. Memmot, Mark (9 October 2012). "Taliban Say They Shot Teenaged Pakistani Girl Who Exposed Their Cruelty". NPR. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  2. 2.0 2.1 "Malala Yousafzai: Portrait of the girl blogger". BBC News. 10 October 2012. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  3. 3.0 3.1 Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed (documentary). The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  4. "Diary of a Pakistani schoolgirl". BBC News. 19 January 2009. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  5. "Pakistani girl, 13, praised for blog under Taliban". BBC News. 24 November 2011. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  6. "Young Journalist Inspires Fellow Students". Institute for War & Peace Reporting. 9 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-10. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  7. "Child Assembly ensures a voice for youth affected by crises in Swat, Pakistan".
  8. "Desmond Tutu announces nominees Children's Peace Prize 2011".
  9. Richard Leiby; Michele Langevine Leiby (10 October 2012). "Taliban says it shot Pakistani teen for advocating girls' rights". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  10. Nasir Habib; Reza Sayah (11 October 2012). "Official: Pakistani teen blogger's shooting a 'wake-up call' to 'clear ... danger'". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
  11. [1]
  12. Rowell, Rebecca (1 September 2014). Malala Yousafzai: Education Activist. ABDO. p. 45. ISBN 978-1-61783-897-2. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
  13. Thomas, Rebecca (6 พฤศจิกายน 2015). "Malala Yousafzai: Her father's daughter". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2017.
  14. Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed. The New York Times (documentary). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  15. Throp, Claire (2015). Malala Yousafzai. Heinemann Raintree. p. 12. ISBN 978-1-4846-2469-2. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  16. "Diary of a Pakistani schoolgirl". BBC News. 19 มกราคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  17. "Bacha Khan's philosophy of non-violence and Benazir Bhutto's charisma inspires Malala". The Express Tribune. 16 มกราคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  18. Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed. The New York Times (documentary). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  19. Adam B. Ellick (9 ตุลาคม 2012). "My 'Small Video Star' Fights for Her Life". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  20. "Following in Benazir's footsteps, Malala aspires to become PM of Pakistan". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 10 ธันวาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2016.
  21. Westhead, Rick (26 ตุลาคม 2009). "Brave defiance in Pakistan's Swat Valley". Toronto Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
  22. "Young Journalist Inspires Fellow Students". Institute for War and Peace Reporting. 5 ธันวาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2015.
  23. Peer, Basharat (10 ตุลาคม 2012). "The Girl Who Wanted To Go To School". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
  24. "Malala Yousafzai: Portrait of the girl blogger". BBC News. 10 ตุลาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
  25. "Pakistani Heroine: How Malala Yousafzai Emerged from Anonymity". Time World. 23 ตุลาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2013.
  26. "Young Pakistani Journalist Inspires Fellow Students". Institute of War & Peace Reporting. 15 มกราคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2016.