มาร (ศาสนาพุทธ)
มาร (บาลี: มาร; มาจากรากศัพท์ มรฺ แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ทำให้ตาย") มารมี5จำพวก 1.กิเลสมาร 2.ขันธมาร 3.อภิสังขารมาร 4.เทวปุตตมาร 5.มัจจุมาร ส่วนเทวปุตตมารหมายถึง เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ ในวรรณกรรมไทย "มาร" หมายถึง ยักษ์ ด้วย[1]
ในพระพุทธศาสนาใช้หมายถึง สิ่งใด ๆ ที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากคุณความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, สิ่งที่ล้างผลาญคุณความดี, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางบุคคลมิให้บรรลุ ผลสำเร็จอันดีงาม[2]
ประเภท แก้
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แบ่งมารออกเป็น 5 ประเภท[2] ได้แก่
- กิเลสมาร คือ กิเลสซึ่งทำให้เรามีความประพฤติ และนิสัยไม่ดีต่าง ๆ ในแง่ของมารหมายถึง กิเลสที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี เช่น นิวรณ์5
- ขันธมาร คือ ขันธ์ ซึ่งบกพร่องแล้วเป็นมารผลาญตัวเอง ในแง่ของมารหมายถึง ขันธ์ที่คอยกีดขวางการทำความดี เช่น ต้องการฟังธรรมะ แต่หูหนวก ไม่สามารถฟังธรรมได้ เป็นต้น
- อภิสังขารมาร คือ ความคิดนึกอันประกอบกับอารมณ์ เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม ทำให้เกิดชาติชรา เป็นต้น ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ
- เทวบุตรมาร เทวดาที่เป็นมาร คือ ท้าววสวัตตี จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นต้น
- มัจจุมาร คือ ความตายที่ตัดโอกาสการทำความดีของเรา
อ้างอิง แก้
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 904
- ↑ 2.0 2.1 , พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), มาร, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
ดูเพิ่ม แก้
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
วิกิพจนานุกรม มีความหมายของคำว่า มาร (ศาสนาพุทธ)