แคว้นมัตสยะ

(เปลี่ยนทางจาก มัจฉะ)

แคว้นมัตสยะ (อักษรโรมัน: Matsya Kingdom มัจฉะ หรือ มัตสยะ แปลว่า "ปลา"[1]) คือหนึ่งแคว้นใน มหาชนบท 16 แคว้น ที่ปรากฏอยู่ใน ยุคพระเวท ถูกกลาวถึงในมหากาพย์ มหาภารตะ และในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ว่าแคว้นมัจฉะ หรือ มัตสยะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ หรือตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นกุรุ ทางใต้ของแคว้นสุรเสนะ และทางตะวันตกของแม่น้ำยมุนา อันเป็นแดนแบ่งเขตกับปัญจาละใต้[2][3] เทียบกับปัจจุบันแคว้นมัจฉะได้แก่ อาณาเขตของจังหวัดชัยปูร์อัลวาร์ และ ภารัตปูร์ ของรัฐราชสถาน รวมทั้งบริเวณใกล้เคียงโดยรอบเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะ ชื่อ ไวราฏ หรือ วิราฏนคร และบางครั้งก็เรียกว่ามัตสยานครบ้าง เรียกว่ามัตสยาสัยนครบ้าง ปัจจุบันเรียกว่า ไพราฏ อยู่ห่างจากชัยปูร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐราชสถานในปัจจุบัน ขึ้นไปทางเหนือ 64 กิโลเมตร หรือ 41 ไมล์ และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเดลี ระยะทาง 168 กิโลเมตร หรือ 105 ไมล์ [4]

แคว้นมัตสยะ (มัจฉะ)
Kingdom of Matsya

c. 700 BCE–c. 300 BCE
แคว้นมัตสยะและมหาชนบทแคว้นอื่นในยุคพระเวทตอนปลาย
แคว้นมัตสยะและมหาชนบทแคว้นอื่นในยุคพระเวทตอนปลาย
เมืองหลวงวิราฏนคร
ภาษาทั่วไปSanskrit
ศาสนา
Hinduism
Buddhism
Jainism
การปกครองราชาธิปไตย
Maharaja 
ยุคประวัติศาสตร์Bronze Age, Iron Age
• ก่อตั้ง
c. 700 BCE
• สิ้นสุด
c. 300 BCE
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของIndia (in northeast of Rajasthan state)
The position of the Matsya kingdom in Iron Age Vedic India.

เรื่องราวเกี่ยวกับแคว้นมัจฉะ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีน้อยมาก ที่ตั้งของแคว้นและชื่อเมืองหลวงเช่นที่ปรากฏก็ได้จากคัมภีร์และเรื่องราวของฮินดูแทบทั้งหมด แสดงว่าในสมัยของพระพุทธองค์ การพระศาสนายังไม่แพร่หลายในแคว้นมัจฉะ แต่จากการขุดค้นพบศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชที่ไพราฏนี้ ซึ่งมีข้อความเป็นคำเผดียงสงฆ์ ถึงความเคารพเลื่อมใสของพระองค์ ซึ่งมีต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ลงท้ายด้วยทรงระบุหมวดธรรมต่าง ๆ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้พระภิกษุ สามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั้งปวงสนใจ ท่องบ่นศึกษาและสดับฟัง แสดงให้เห็นว่าในรัชสมัยของพระองค์นั้น แคว้นมัจฉะหรือที่นครไวราฏนี้ คงจะมีวัดและพระสงฆ์อยู่มาก

ในสมัยของพระถังซัมจั๋ง การพระศาสนาในแคว้นมัจฉะหรือโดยเฉพาะที่ไวราฏนี้ได้ทรุดโทรมลงแล้ว ท่านบันทึกไว้ว่า ได้พบวัดรวม 8 วัดด้วยกัน แต่อยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งและหักพังทรุดโทรมมาก มีพระภิกษุอยู่เป็นจำนวนน้อย[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

อ้างอิง

แก้
  1. Dalal, Roshen (2017-07-14), "Hinduism and its basic texts", Reading the Sacred Scriptures, 1 [edition]. | New York : Routledge, 2017. |: Routledge, pp. 250, 157–170, ISBN 978-1-315-54593-6, สืบค้นเมื่อ 2020-09-16{{citation}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  2. Bhan, Suraj (2006-12-01). "North Indian Protohistory and Vedic Aryans". Ancient Asia. 1: 173. doi:10.5334/aa.06115. ISSN 2042-5937.
  3. Ratnawat, Shyam Singh. Sharma, Krishna Gopal. (1999). History and culture of Rajasthan : from earliest times upto 1956 A.D. Centre for Rajasthan Studies, University of Rajasthan. p. 7. OCLC 606486051.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Integration of Rajasthan". Rajasthan Legislative Assembly website. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  5. มหาชนบท 16 แคว้น แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล จากเว็บ vichadham.com

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้