มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

ละครโทรทัศน์

มังกรหยก ภาค1 (1994) (อังกฤษ: The Legend of conder heroes) หรือ มังกรหยก ตอน กำเนิดก๊วยเจ๋ง เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของวรรณกรรมชิ้นเอกของ กิมย้ง เรื่อง มังกรหยก นำแสดงโดย จาง จื้อหลิน, จู อิน, หลอ เจียเหลียง, กวน เป่าฮุย, หลิน เจียหัว, เจิ้ง เหว่ยฉวน ออกอากาศทางช่อง TVB ในฮ่องกง เป็นเวอร์ชันที่มีการตัดทอนบทให้สั้นลงกว่าบทประพันธ์ อีกทั้งยังเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยดังเท่าที่ควร เพราะตอนที่ออนแอร์ละครชุดนี้ครั้งแรก ปรากฏว่าเรตติ้งไม่ประสบความสำเร็จมากนัก สาเหตุเพราะผู้ชมละครส่วนใหญ่ในตอนนั้น ยังคงประทับใจ กับเวอร์ชันเก่า มังกรหยก ภาค1 (1983) อยู่มากและผู้ชมส่วนใหญ่ในฮ่องกงกล่าวว่า จูอิน ไม่ได้แสดงบทอึ้งย้ง แต่เธอกำลังแสดงเป็น องเหม๋ยหลิงคนที่สอง(พยายามเลียนแบบ องเหม๋ยหลิง).[1]แต่อย่างไรก็ตาม เวอร์ชันนี้ ถือได้ว่าได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง โดยออกอากาศครั้งแรกในฮ่องกงทำเรตติ้งเฉลี่ยได้ 32 จุดเปิด เป็นอันดับสามของละครทีวีบี ที่มีคนดูมากที่สุดแห่งปีพ.ศ. 2537(1994)

มังกรหยก
The Legend of the Condor Heroes 1994
ปกดีวีดี
จีนตัวเต็ม射鵰英雄傳
จีนตัวย่อ射雕英雄传
จีนกลางShè Diāo Yīng Xióng Zhuàn
กวางตุ้งมาตรฐานSe6 Diu1 Jing1 Hung4 Zyun6
ประเภทWuxia
เขียนโดยกิมย้ง (แบบดั้งเดิม)
หว่อง กัวไฟ
กำกับโดยเหลียง ตักหว่า
หยวน หมิงหมิง
ล่าม กินหลง
หยุน ไหว่ยี่
กง กัมหง
เล่า กัวโห
ล่าม ดิกออน (กำกับฉากต่อสู้)
แสดงนำจาง จื้อหลิน
จู อิน
หลอ เจียเหลียง
กวน เป่าฮุย
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องโจเซฟ กู่
หัง คิงไฟ่
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดJuet Sai Juet Chiu (絕世絕招) ขับร้องโดย จาง จื้อหลิน และ อู๋ เชี่ยนเหลียน
ดนตรีแก่นเรื่องปิดNan Tak Wu Tou (難得糊塗) ขับร้องโดย จาง จื้อหลิน
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับกวางตุ้ง
จำนวนตอน35
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตหลี่ ทิมฉิง
สถานที่ถ่ายทำHong Kong
ความยาวตอน45 นาที/ตอน
บริษัทผู้ผลิตTVB
ออกอากาศ
เครือข่ายTVB Jade (จีน)
ช่อง 3 แฟมิลี่ (ไทย)
ออกอากาศOctober 3 –
December 2, 1994
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มังกรหยก ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย (1995)

ในฮ่องกง มังกรหยก 1994 ถึงแม้เรตติ้งจะไม่ประสบความสำเร็จเท่า มังกรหยก 1983 (The Legend of conder heroes 1983) ฉบับ องเหม่ยหลิง ที่ออกอากาศครั้งแรกฮิตถล่มทลายทั่วโลกก็ตาม แต่ทว่าก็สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่า "มังกรหยก 1976" (The Legend of conder heroes 1976) ฉบับ หมีเซียะ รวมถึงงานสร้างหลังจากเวอร์ชันนี้ที่เป็นของจีนและไต้หวันทั้งหมด คือ มังกรหยก 2003 (The Legend of conder heroes 2003), มังกรหยก 2008 (The Legend of conder heroes 2008) และ มังกรหยก 2017 (The Legend of conder heroes 2017)

และส่งให้ จูอิน เป็น อึ้งย้ง ที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับสองรองจาก องเหม่ยหลิง

เนื้อเรื่อง แก้

ครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ยถูกกวาดล้างจนบ้านแตก ก๊วยเจ๋งทายาทคนเดียวของสกุลก๊วยเติบโตเป็นหนุ่ม ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ. เขาได้พบกับอึ้งย้ง ทั้งสองให้คำมั่นสัญญาในการจะเป็นคู่ชีวิต อีกทั้งยังร่วมผจญภัยในยุทธภพ ครั้งหนึ่งก๊วยเจ๋งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอั้งฉิกกง และได้รับคัมภีร์นพเก้าจากจิวแป๊ะทง ทำให้เขามีวิทยายุทธสูงล้ำยิ่งขึ้น

ส่วนเอี้ยคัง ทายาทสกุลเอี้ยได้รับการเลี้ยงดูจากประมุขแห่งเมืองกิม ทั้งเอี้ยคังและก๊วยเจ๋งได้รู้จักกัน และสืบรู้ว่าประมุขแห่งเมืองกิมนั้มคือฆาตกรที่สังหารครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ย แต่ทว่าเอี้ยคังเห็นแก่ลาภยศ ยอมเป็นลูกของศัตรูที่ฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า เอี้ยคังบังเอิญได้รู้ว่า ก๊วยเจ๋งมีคัมภีร์นพเก้าและคัมภีร์เยี่ยมยุทธ จึงร่วมมือกับ อาวเอี๊ยงฮงแย่งชิงคัมภีร์ทั้งสองเล่มจากก๊วยเจ๋ง โดยกำจัดเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ ซึ่งเป็นอาจารย์ของก๊วยเจ๋ง แล้วป้ายความผิดให้อึ้งเอี๊ยะซือ เพื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งเอี๊ยะซือจะได้เข่นฆ่ากันเอง จนเป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งเกือบเอาชีวิตไม่รอด

ขณะเดียวกัน การประลองยุทธที่เขาหัวซานใกล้มาถึง ทุกคนในยุทธภพต่างวางแผนที่จะแย่งชิงคัมภีร์ล้ำค่าทั้งสองเล่ม เป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ[2]

นักแสดงนำ แก้

ตัวละครหลัก แก้

โศกนาฏกรรมหมู่บ้านหนิว แก้

  • เจิงเหว่ยเฉวียน รับบท ก๊วยเซาที
  • อู๋ลี่จู รับบท หลีเพ้ง
  • หลินเจียหัว รับบท เอี้ยทิซิม / มกอี้
  • เหลียงหว่านจิง รับบท เปาเซียะเยียก
  • หวังเหว่ย รับบท อ้วงง้วนอั้งเลียก

เจ็ดประหลาดกังน้ำ แก้

  • กงไหง รับบท ค้างคาวเหินหาว กัวเต็งอัก (บทบาทเดิมจากเวอร์ชันปี 1983)
  • อ้ายเวย รับบท บัณฑิตมือวิเศษ จูชง
  • หวงเทียนตั๋ว รับบท เทพอาชานัย ฮั้งปอกือ
  • เจิ้งเจียเซิง รับบท คนตัดฟืนเขาทักษิณ น่ำฮียิ้น
  • หลี่เย่าจิ้ง รับบท เมตไตรยยิ้ม เตียอาแช
  • ปั๋วจวิน รับบท ผู้กล้าซ่อนกลางตลาด ช้วนกิมฮวด
  • เฉินอันอิ๋ง รับบท กระบี่สาวแคว้นเวียด ฮั้งเซี่ยวย้ง (ส่าโกว จากเวอร์ชันปี 1983)

จักรวรรดิมองโกล แก้

เผ่าคียัต แก้

  • หลิวเจียง รับบท เจงกิสข่าน เตมูจิน (ทิบักเจ็ง) (อ้วงง้วนอั้งเลียก จากเวอร์ชันปี 1983)
  • หลิวกุ้ยฟาง รับบท บอร์เต
  • เหอฮ่าวหยวน รับบท เจอเป
  • พานเหวินป๋อ รับบท โจชิ
  • เหอจินหลิง รับบท จักกาไท
  • ไต้เส้าหมิน รับบท โอโกเด
  • หวงจื้อเสียน รับบท เซลุย (ทัวลุ้ย)
  • เฉินเพ่ยเซิน รับบท วาเจน (ฮั้วเจ็ง)
  • หลี่หวงเซิง รับบท มูคาลี
  • หลี่เว่ยหมิน รับบท บอร์ชิ
  • จางหงเหว่ย รับบท บอร์คุล

เผ่าเคอเรอิต แก้

  • จวิ้นสยุง รับบท จามูฮา (จาบบักฮะ) (เตียอาแช จากเวอร์ชันปี 1983)
  • เหลียงเส้าชิว รับบท ชางคุน (ซึงคุน) (เฮ้งชู่เจ็ก จากเวอร์ชันปี 1983)
  • หวังเหวยเต๋อ รับบท โตวสือ

ราชสำนักกิมก๊ก แก้

  • ถานอี้ชิง รับบท ฮ่องเต้ไถ่ฮั้ว อ้วงง้วนเก็ง (บทบาทเดิมจากเวอร์ชันปี 1983)
  • กวนจิง รับบท อ้วงง้วนอั้งฮี

ยอดฝีมือ แก้

  • เฉินตี๋เคอะ รับบท มังกรประตูผี ซัวทงที (บทบาทเดิมจากเวอร์ชันปี 1983)
  • เจียวสยุง รับบท มังกรสามหัว โฮ้วทงไฮ้ (บู๊ซาทง จากเวอร์ชันปี 1983)
  • เติ้งอวี้หรง รับบท เฒ่าประหลาดเซียนโสม เนี่ยจื้ออง
  • ม่ายจื่ออวิ๋น รับบท เพชฌฆาตพันมือ แพ้เลี่ยงโฮ้ว (เล้าชู่เฮี้ยง จากเวอร์ชันปี 1983)
  • เฉาจี้ รับบท ประทับรอยมือ เล่งตี่

พรรคฝ่ามือเหล็ก แก้

  • หงเฉาฟง รับบท ฝ่ามือเหล็กลอยน้ำ คิ้วโชยยิ่ม / ฉือเอิน และ คิ้วโชยตึ๋ง

สำนักพรตช้วนจิน แก้

เจ็ดนักพรต แก้

  • คว่างจั่วฮุย รับบท นักพรตตั้งเอี๊ยง เบ๊เง็ก
  • เยี่ยเจิ้นหัว รับบท นักพรตเซี่ยงจิน ท้ำชู่ตวน
  • เหลียงชินฉี รับบท นักพรตเซี่ยงแช เล้าชู่เฮี้ยง
  • หลินส้างอู่ รับบท นักพรตเซี่ยงชุน คูชู่กี
  • เฉินหรงจวิ้น รับบท นักพรตเง็กเอี๊ยง เฮ้งชู่เจ็ก
  • หลัวเหวย รับบท นักพรตก่วงเล้ง ฮักไต้ทง
  • เหวินเจี๋ยอวิ๋น รับบท แม่ชีเช็งเจ็ง ซึงปุกยี่

พรรคกระยาจก แก้

  • หลิวตัน รับบท ยาจกอุดร อั้งฉิกกง (บทบาทเดิมจากเวอร์ชันปี 1983)
  • เฉินเหมี่ยนเหลียง รับบท โล้วอู่คา
  • อวี๋เทียนเหว่ย รับบท ผู้เฒ่ากั่ง
  • หลีไห่เซิง รับบท ผู้เฒ่าแพ้
  • เซวียฉุนจี รับบท ผู้เฒ่าเลี้ยง

เกาะดอกท้อ แก้

  • ลั่วอิงจวิน รับบท มารบูรพา อึ้งเอี๊ยะซือ
  • ลู่อิ้งคัง รับบท เค็กเล้งฮวง
  • เฉินเจี๋ยอี๋ รับบท เค็กส่า / ส่าโกว

ลมทมิฬคู่พิฆาต แก้

  • หม่าเต๋อจง รับบท ศพทองแดง ตั้งเฮี้ยงฮวง
  • ม่ายชุ่ยเสียน รับบท ศพเหล็ก บ๊วยเถี่ยวฮวง

หมู่ตึกคืนเมฆา แก้

  • ฟางเจี๋ย รับบท อุปสรรคห้าทะเลสาบ เล็กเซ่งฮวง
  • กัวเจิ้งหง รับบท เล็กกวงเอ็ง
  • เฉินหรุ่ย รับบท เที้ยเอี้ยวเกีย

เขาอูฐขาว แก้

อาณาจักรต้าหลี่ แก้

  • หลีฮั่นฉือ รับบท ราชันทักษิณ ฮ่องเต้กงเก๊ก ตวนตี่เฮ้ง / อิดเต็ง
  • เจี่ยงเหวินตวน รับบท เทพคำนวณ เล้าเอ็ง / เอ็งโกว
  • กัวจั๋วฮว่า รับบท ชาวประมงแห่งเตี่ยมชัง ซู่ตังซัว
  • หวงเหวินเปียว รับบท ตัดฟืน เตียเซี่ยวซิว
  • เส้าจั๋วเหยา รับบท กสิกร บู๊ซาทง
  • หลินเจี้ยนฟง รับบท บัณฑิต จูจื้อลิ้ว

เรตติ้งและผลตอบรับ แก้

ตอนออกอากาศครั้งแรกในฮ่องกง เนื่องจากผู้ชมละครและสื่อมากมาย ยังคงติดภาพอึ้งย้ง ในแบบฉบับของ "องเหม่ยหลิง" อยู่มาก และ มังกรหยก ฉบับ องเหม่ยหลิง ได้เรตติ้งที่สูงมากเกิน จึงเป็นสาเหตุทำให้ มังกรหยก เวอร์ชันนี้ ไม่สามารถทำลายเรตติ้ง เวอร์ชันเก่า คือ "มังกรหยก (1983)" โดยมังกรหยก 1994 ทำเรตติ้งเฉลี่ยได้แค่ 32 จุดเปิด เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเรตติ้งสูงกว่า มังกรหยก 1976 เวอร์ชัน หมีเซียะ[3]

สัปดาห์ ตอนที่ วันที่ เรตติ้งเฉลี่ย (จุดเปิด) กำลังดู(%)
1 01-05 1 สิงหาคม - 5 สิงหาคม 2537 28 (ผู้ชม 1.522.ล้านคน) 70%
2 06-10 8 สิงหาคม - 12 สิงหาคม 2537 30 (ผู้ชม 1.612 ล้านคน) 72%
3 11-15 15 สิงหาคม - 19 สิงหาคม 1994 32 (ผู้ชม 1.708 ล้านคน) 73%
4 16-20 1994年8月22日-8月26日 32 (ผู้ชม 1.73 ล้านคน) 70%
5 21-25 29 สิงหาคม - 2 กันยายน 1994 32 (ผู้ชม 1.73 ล้านคน) 72%
6 26-30 5 กันยายน - 9 กันยายน 2537 32 (ผู้ชม 1.73 ล้านคน) 72%
7 31-35 12-16 กันยายน 2537 32 (ผู้ชม 1.73 ล้านคน ) 74%
  • มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 32 จุดเปิด

บทวิจารณ์ แก้

ตอนออกฉายที่ฮ่องกง เวอร์ชัน "มังกรหยก (1994)" ถูกผู้ชมละครและสื่อต่างๆ วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับเวอร์ชันเก่าที่โด่งดังมาก "มังกรหยก (1983)" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทวิจารณ์ โดย จางงี้ แก้

ถ้าพูดถึง “ก๊วยเจ๋ง” แล้ว เชื่อได้ว่าคอหนังจีนขนานแท้ ไม่มีใครไม่รู้จักตัวละครตัวนี้และสำหรับ จางจื้อหลิน นั้นนับได้ว่าเป็นโอกาสที่ดีของเขาที่ได้รับเลือกให้มารับบทเด่นจากบทประพันธ์อันเลื่องชื่อของกิมย้งเลยทีเดียว ซึ่งใครๆ ก็เชื่อว่าคนที่ได้รับบท “ก๊วยเจ๋ง” ต้องดังเป็นพลุแตกแน่นอน แต่ก็อีกนั่นแหละ บนความโชคดีก็ยังมีความโชคร้ายอยู่ด้วย อาจเนื่องมาจากในตอนนั้นผู้ชมยังคงติดภาพ “ก๊วยเจ๋ง” ที่นำแสดงโดย หวงเย่อหัว ซึ่งนับได้ว่าเป็นดาราเจ้าบทบาทคนหนึ่งและเข้าวงการก่อน จางจื้อหลิน จึงยังถือได้ว่าแม้จางจื้อหลินจะมีโอกาสได้รับบทบาทที่ดี แต่เขาก็ต้องทำการบ้านหนักพอสมควรเลยทีเดียวที่จะทำให้ “ก๊วยเจ๋ง” โดย จางจื้อหลิน เข้าไปอยู่ในใจของผู้ชมได้ สำหรับ จางจื้อหลิน ที่แสดงในเรื่องนี้นั้นนับได้ว่าเป็นน้องใหม่ที่สามารถแจ้งเกิดในวงการบันเทิงจีนได้ดีทีเดียว เพราะจากบทบาทที่เขาได้รับ เขาสามารถสื่อสารภาพของ “ก๊วยเจ๋ง” ในบุคลิกของเขาเองได้ดี ไม่ว่าจะเป็นแสดงออกทางสีหน้า (ดูออกเลยว่า “ก๊วยเจ๋ง” เนี้ยเขาทึ่มและออกจะซื่อบื้อเสียจริงๆ) หรือท่าทาง (การแสดงออกในเรื่องวิทยายุทธ์ที่เขามี สื่อได้ชัดเจนว่าช่วงใดที่เขาไม่รู้วิทยายุทธ์ หรือตอนใดที่วิทยายุทธ์เขาแกร่งกล้า สื่อสารได้ชัดเจนถึงความสามารถที่ “ก๊วยเจ๋ง” มีตามท้องเรื่อง) แต่ยังดี “จูอิน” ที่รับบทเป็น “อึ้งย้ง” สามารถช่วยรับส่งลูกเล่นในการแสดงให้สามารถเข้าถึงผู้ชมได้บ้าง แต่ถ้าจะให้มองอีกมุมหนึ่งสำหรับ จางจื้อหลิน ก็ยังไม่สามารถแจ้งเกิดได้อย่างสมบูรณ์ เพราะในช่วงนั้นสมัยนั้นคงยังไม่มีใครกล่าวขวัญหรือพูดถึงจางจื้อหลินให้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพราะโดยมากแล้วเขารู้จักความเป็น “ก๊วยเจ๋ง” มากกว่าความเป็น “จางจื้อหลิน” อยู่นั่นเอง

บทวิจารณ์ โดย หลินกุเหนียง แก้

1."วิจารณ์ด้านบทและการดำเนินเรื่อง"

"มังกรหยก 1994" เวอร์ชัน จางจื้อหลิน และ จูอิน ถ้านำมาเปรียบเทียบกับเวอรชันเก่า "มังกรหยก 1983" เวอร์ชันของ หวงเย่อหัว และ องเหม่ยหลิง แล้ว ถึงแม้ "มังกรหยก 1994" จะดำเนินเรื่องตามบทประพันธ์ของ "กิมย้ง" เกือบทุกอย่าง(มีตัดทอนเนื้อหาสำคัญลงบ้าง) แต่ด้านความสนุกตื่นเต้นยังไม่อาจสู้เวอร์ชัน "มังกรหยก 1983" ได้เลย ที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะผู้คนจำนวนมากคุ้นเคยกับ "มังกรหยก 1983" มากกว่า ทำให้ผู้ชมได้ลุ้นสนุกตื่นเต้นกับการดำเนินเรื่องที่ยังไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อน ถึงแม้ว่าเวอร์ชัน "มังกรหยก 1983" จะเขียนบทบางปมบางส่วนมีการขยายออกไปบ้างเล็กน้อย แต่ด้วยความน่ารักน่าชังของคู่พระ-นาง (หวงเย่อหัวกับองเหม่ยหลิง) ที่เคมีเข้ากันมาก ก็ทำให้ลืมๆ ส่วนนี้ไปได้ แต่พอมาดูเวอร์ชัน "มังกรหยก 1994" ซึ่งผู้ชมรู้เนื้อหาหมดแล้ว ทำให้ความสนุกลดลงไปเกือบครึ่ง ถึงแม้ข้อดีของ มังกรหยก 1994 คือ มีการดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว กระชับฉับไว แต่ดันขาดความสนุก

2."วิจารณ์ด้านนักแสดง"

บท ก๊วยเจ๋ง แก้

เป็นที่รู้ ๆ กันว่า "มังกรหยก 1983" วางตัวนักแสดงได้ดีมากแทบทุกตัวละคร เหมือนถอดออกมาจากบทประพันธ์เป๊ะๆ แต่ในที่นี้จะวิจารณ์แค่คู่เอกกันค่ะ เวอร์ชัน "มังกรหยก 1983" หวงเย่อหัว นับว่าเป็นต้นแบบก๋วยเจ๋งในใจของผู้ชมไปซะแล้ว ใบหน้าเอ๋อๆ โง่ๆ บื้อๆ ท่าทางเกาหัวยิกๆ บ่งบอกว่ากำลังงง ติดตาคนดูละครไปแล้ว หาใครในบุคลิกนี้ได้ยาก ส่วน จางจื้อหลิน ใน เวอร์ชัน "มังกรหยก 1994" แม้จะหน้าตาหล่อเหลาน่ารักน่าเอ็นดู แต่ความโง่และความบื้อในตัวก๋วยเจ๋งยังฉายแสงได้ไม่เท่าหวงเย่อหัวเลยค่ะ จะว่าไปแล้ว ก๋วยเจ๋งจางจื้อหลินดูเป็นบุรุษหนุ่มรูปงามที่สุภาพ อ่อนโยน มีคุณธรรมและน้ำใจ เหมาะเป็นหนุ่มในฝันของสาว ๆ ซะมากกว่า

บทบาท อึ้งย้ง แก้

องเหม่ยหลิง แก้

ส่วนบท "อึ้งย้ง" รู้สึกว่าไม่มีใครสวมบทได้ดีเท่า องเหม่ยหลิง อีกแล้ว อึ้งย้งที่มีความโหด ทะเล้น, ทะลึ่ง, สวย, น่ารัก, แสนงอน และขี้หึง องเหม่ยหลิง สวมวิญญาณอึ้งยึ้งบุตรีของมารบูรพาได้น่ารักเป็นธรรมชาติแทบไม่มีที่ติเลย

จูอิน แก้

ส่วน จูอิน ถึงแม้จะสวยน่ารัก แต่ความน่ารักของเธอในบทอึ้งย้งดูจงใจทำให้น่ารักมากกว่า อย่างอากัปกิริยาจับเปียบ่อย ๆ ของเธอสร้างความรำคาญตาให้ผู้ชมหลายคนมาก จะว่าไปแล้วแอคติ้งการแสดงของจูอิน ก็ดูเกินงามไม่เป็นธรรมชาตินัก แต่โดยรวมแล้ว "มังกรหยก 1994" ก็มีความสนุกในตัวเองถ้าไม่นำไปเปรียบเทียบกับเวอร์ชันขององเหม่ยหลิง ก๋วยเจ๋งที่รับบทโดย"หวงเย่อหัว" แม้จะติดตาว่าเค้าคือก๋วยเจ๋งมาก่อน แต่จางจื้อหลินก็ยังคงเป็นจางจื้อหลิน ไม่อาจติดภาพก๋วยเจ๋งมาได้ เรียกว่าเรื่องนี้จางจื้อหลินเสมอตัวไม่บวกและไม่ลบค่ะ วิจารณ์โดย "หลินกุเหนียง"[4]

การเข้าใจผิด แก้

มีสื่อมากมายที่กล่าวว่า มังกรหยก 1994 (ภาคก๊วยเจ๋ง ฉบับ จูอิน) นั้นไม่ประสบความสำเร็จ ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่ได้แย่ถึงระดับนั้น

สาเหตุเนื่องจาก มังกรหยก 1994 สร้างตามหลังในยุคถัดมาของเวอร์ชันยอดนิยมทั่วโลก คือ มังกรหยก 1983 ฉบับ องเหม่ยหลิง ที่ฮิตถล่มทลาย (ในประเทศต่าง ๆ ตามแต่ละปีที่ทยอยนำไปออกอากาศครั้งแรก) ทำให้เกิดการเปรียบเทียบความสำเร็จ ถึงแม้ว่า มังกรหยก 1994 จะไม่โด่งดังเท่า มังกรหยก 1983 แต่อย่างไรก็สามารถทำเรตติ้งได้สูงกว่างานสร้าง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง ในเวอร์ชันอื่น ๆ ทั้งหมด

ในฮ่องกง มังกรหยก 1994 มีสถิติเรตติ้งที่สูงกว่า มังกรหยก ฉบับของ หมีเซียะ, โจวซวิ่น หรือแม้แต่ หลี่อีถง

ส่วน มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง ที่สร้างเป็นละครแล้วประสบความสำเร็จน้อยที่สุดหรือไม่ดังในระดับเอเชีย คือ มังกรหยก 1988 (The Legend of conder heroes 1988) เวอร์ชันนี้เป็นงานสร้างของไต้หวันในปีพ.ศ. 2531 ที่ได้ เฉินอวี้เหลียน มารับบท อึ้งย้ง ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเพราะไม่เป็นที่นิยมในระดับเอเชียเลย ถึงแม้ในไต้หวันจะได้รับความนิยมในระดับที่ดี เพราะเป็นประเทศที่ผลิตเองดูเอง แต่ก็เทียบไม่ได้เลยกับ มังกรหยก 1994 ฉบับ จูอิน เวอร์ชันที่เป็นที่รู้จักในระดับเอเชีย มากกว่า

มังกรหยก 1988 งานสร้างไต้หวัน นั้นเคยถูก(บาง)สื่อวิจารณ์ตอนลงม้วนวีดีโอให้เช่าในต่างประเทศว่า แย่ทั้งคอสตูมเสื้อผ้าทรงผม, ฉากและเทคนิค ซึ่งยังห่างชั้นจาก มังกรหยก 1983 ที่เป็นงานสร้างฮ่องกงในยุคเดียวกันอยู่มาก

ส่วน เฉินอวี้เหลียน ในวัย 28 ปี ถึงแม้เธอจะพยายามแสดงบท อึ้งย้ง ฉบับไต้หวัน นี้ออกมาสุดความสามารถแค่ไหนก็ตาม แต่ทว่าจากที่เธอเคยโด่งดังกับบท เซียวเหล่งนึ่ง มาก่อน ภาพลักษณ์ดังกล่าวจึงติดตาผู้ชม ทำให้เธอไม่สามารถสลัดภาพลักษณ์ดังกล่าวออกจากความทรงจำของผู้ชม เลยทำให้ บท อึ้งย้ง ดูขัดกับบุคลิกของเธอเป็นอย่างมาก

ด้วยเพราะเป็นงานสร้างของไต้หวัน (ในยุคนั้นละครของทางไต้หวันน้อยเรื่องจะได้รับความนิยมในระดับเอเชีย) อีกทั้งยังมีกระแสวิจารณ์ ทำให้ มังกรหยก 1988 ชุดนี้ส่วนใหญ่มีการเผยแพร่ลงเป็นม้วนวีดีโอให้เช่าดูในบางประเทศเท่านั้น (บางแหล่งมีการรายงานว่าเคยออกอากาศทางทีวีในบางประเทศ เช่น เวียดนาม) ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้คนมากมายทั่วเอเชีย ไม่รู้จัก เวอร์ชัน มังกรหยก 1988 และอีกหลายคนถึงกับไม่เคยรู้มาก่อนว่าเคยมีการสร้าง มังกรหยก 1988 ชุดนี้ขึ้นมา จนกระทั่งถึงยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media) ที่มีการแพร่หลายทางข้อมูล จึงทำให้หลายคนถึงเพิ่งจะมารับรู้ว่ามีเวอร์ชันนี้อยู่ด้วย

นอกจาก มังกรหยก 1988 ฉบับ เฉินอวี้เหลียน เวอร์ชันทางไต้หวัน จะมีคะแนนใน douban ได้น้อยที่สุดในบรรดางานสร้างทั้งหมดของละครชุด มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (เพียง 4.7 คะแนน) แล้ว ยังเป็นเวอร์ชันที่ผู้คน (นอกไต้หวัน) พูดถึงน้อยที่สุดอีกด้วย นับเป็นความโชคดีของ เฉินอวี้เหลียน ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเธอหรือนำเธอไปเปรียบเทียบกับ องเหม่ยหลิง ในบท อึ้งย้ง เหมือนดาราสาวคนอื่น ๆ ที่เคยรับบท อึ้งย้ง ในเวอร์ชันอื่น ๆ ที่ถูกนำไปเปรียบเทียบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เคยดูเวอร์ชัน มังกรหยก 1988

สรุป มังกรหยก 1994 ฉบับ จูอิน แพ้เรตติ้งแค่เวอร์ชันเดียวเท่านั้น คือ มังกรหยก 1983 ฉบับของ องเหม่ยหลิง ที่เคยฮิตถล่มทลายทั่วโลก

การฉายในประเทศไทย แก้

มีการฉายเป็นทางการ 3 ครั้งทางช่องหลัก

1.ออนแอร์ครั้งแรกทางช่อง 3 กลางปีพ.ศ. 2539 เวลาประมาณ 21.30-22.30 หลังละครไทยเรื่อง เพลิงบุญ เวอร์ชัน หน่อย บุษกร และ ในไทยมังกรหยกเวอร์ชันนี้ ไม่ดังเท่าเวอร์ชัน มังกรหยก 1983

2.มีการรีรันออกอากาศใหม่ในช่อง 3 แฟมิลี่ โดยออกอากาศในวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 15.30 น.

3.ช่อง 9 MCOT HD30 นำกลับมารีรัน เวลา 18.30 น จันทร์-ศุกร์ ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565-


ปัจจุบันมีการรีรันทางช่องพิเศษอื่น ๆ เช่น ใน YouTube

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย แก้

1.มังกรหยก 1994 เป็นงานสร้างของภาคหนึ่งที่มีจำนวนตอนน้อยที่สุดเท่าที่มีการสร้างเป็นละครขึ้นมาทั้งหมด แม้กระทั่งงานสร้างของจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันในเวอร์ชันถัดมา ยังมีจำนวนตอนมากกว่านี้

2.ในฮ่องกง อึ้งย้งที่ จูอิน แสดง ได้รับความนิยมมากกว่า อึ้งย้งในเวอร์ชันหลัง ๆ ที่เป็นงานสร้างในยุคถัดมาของจีนและไต้หวัน เช่น มังกรหยก (2003,2008 และ 2017) ทำให้ อึ้งย้ง ฉบับ จูอิน ประสบความสำเร็จมากกว่าอึ้งย้งเวอร์ชัน ที่สร้างหลังจากเธอ

อ้างอิง แก้

  1. Christopher (เผยแพร่: 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560). ""เปรียบเทียบ อึ้งย้ง 4 เวอร์ชัน"". โดย hket. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "เนื้อเรื่อง [[มังกรหยก]] จากเว็บไซต์ช่อง 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-11-21.
  3. Xiibabby. "5 อันดับเรตติ้งละครชุด,ในปีพ.ศ. 2535 ~ 2550" (ภาษาจีน).
  4. "รวมบทวิจารณ์ มังกรหยก 2537". โดย หลินอวี้. 29 กันยายน 2549. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 11, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้