ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน
ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน (خراسان تركچىسى, ออกเสียง: [xorɑsɑn tyrktʃesi]) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดในบริเวณตอนเหนือของจังหวัดโฆรอซอนเหนือและจังหวัดโฆรอซอเนแรแซวี ประเทศอิหร่าน ผู้พูดภาษานี้เกือบทั้งหมดสามารถพูดภาษาเปอร์เซียได้[4]
ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน | |
---|---|
خراسان تركچىسى | |
ออกเสียง | [xorɑsɑn tyrktʃesi] |
ประเทศที่มีการพูด | อิหร่าน |
ภูมิภาค | เกรตเตอร์โฆรอซอน |
จำนวนผู้พูด | 400,000 คน[1] 886,000 คน (2014)[2] มากกว่า 1,000,000 คน[3] (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
ระบบการเขียน | อักษรเปอร์เซีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | kmz |
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์แก้ไข
ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนส่วนใหญ่ใช้พูดในอิหร่านหลายจังหวัด ถ้านับสำเนียงโอคุซของภาษาอุซเบกเป็นสำเนียงของภาษานี้ด้วย ก็จะมีผู้พูดอยู่ทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานเช่นกัน ภาษานี้แบ่งเป็นสามสำเนียงคือ เหนือ ใต้และตะวันตก
การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียงแก้ไข
ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนจัดอยู่ในภาษากลุ่มโอคุซของภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งรวมภาษาตุรกี ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษากากาอุซ ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน ภาษาเติร์กเมนและภาษาซาลาร์ และสำเนียงโอคุซที่ใช้พูดในอุซเบกิสถาน ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนถือว่าใกล้เคียงมากกับภาษาอุซเบกสำเนียงโอคุซและภาษาเติร์กเมน และใกล้เคียงกับสำเนียงของภาษาอาเซอร์ไบจานที่ใช้พูดในอิหร่าน
เสียงแก้ไข
พยัญชนะแก้ไข
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานปาก | เพดานอ่อน | ลิ้นไก่ | เส้นเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หยุด | p | b | t | d | k | ɡ | q | |||||
กักเสียดแทรก | t͡ʃ | d͡ʒ | ||||||||||
เสียดแทรก | f | v | s | z | ʃ | ʒ | x | ɣ | h | |||
นาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||||||
สะบัด | r | |||||||||||
ข้างลิ้น | l | |||||||||||
เปิด | j |
สระแก้ไข
หน้า | หลัง | |||
---|---|---|---|---|
ไม่ห่อ | ห่อ | ไม่ห่อ | ห่อ | |
ปิด | i | y | ɯ | u |
กลาง | e | ø | o | |
เปิด | æ | ɑ | ɒ |
ลักษณะของภาษาแก้ไข
นามแก้ไข
คำนามทำให้เป็นรูปพหูพจน์ด้วยการเติมปัจจัย-lAr ซึ่งมีสองรูปคือ -lar และ –lær ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระ การกของนามจำแนกโดยการลงท้ายด้วยปัจจัยที่ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระและสระหรือพยัญชนะที่ตามมา การแสดงความเป็นเจ้าของจะเติมปัจจัยเข้าที่นามที่ถูกถือครอง
การก | หลังสระ | หลังพยัญชนะ |
---|---|---|
Nominative | ไม่มีการลงท้าย | |
Genitive | niŋ/nin | iŋ/in |
Dative | ya/yæ | a/æ |
Accusative | ni/nɯ | i/ɯ |
Locative | da/dæ | |
Ablative | dan/dæn | |
Instrumental | nan/næn |
สรรพนามแก้ไข
ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนมีสรรพนามแทนบุคคล 6 คำ และจะมีการลงท้ายต่างจากนามปกติ
เอกพจน์ | พหูพจน์ | |
---|---|---|
บุรุษที่ 1 | mæn | bɯz |
บุรุษที่ 2 | sæn | siz |
บุรุษที่ 3 | o | olar |
สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของแก้ไข
เอกพจน์ | พหูพจน์ | |
---|---|---|
บุรุษที่ 1 | (I)m | (I)mIz |
บุรุษที่ 2 | (I)ŋ | (I)ŋIz |
บุรุษที่ 3 | (s)I | lArI |
กริยาแก้ไข
คำกริยามีการแบ่งย่อยตามกาล ความมุ่งหมาย มาลา บุคคล และจำนวน รูปพื้นฐานของกริยาลงท้ายด้วย -max
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ The Turkic Languages, By Lars Johanson, Éva Ágnes Csató Johanson, page 13, Routledge, 2015
- ↑ Ethnologue - Khorasani Turkish - (2014 J. Leclerc)
- ↑ "TURKIC LANGUAGES OF PERSIA: AN OVERVIEW". 1993.
Ḵorāsāni (Khorasani Turkish). Khorasani Turkish is spoken by more than one million people in the northeast of Persia (in the province of Khorasan) and in the neighboring regions of Turkmenistan up to beyond the Amu Darya River
- ↑ "Ethnologue report for Khorasani Turkic"
Tulu, Sultan (1989). Chorasantürkische Materialien aus Kalāt bei Esfarāyen. Berlin: Klaus Schwarz Verlag. ISBN 3-922968-88-0.
Doerfer, Gerhard; Hesche, Wolfram (1993). Chorasantürkisch: Wörterlisten, Kurzgrammatiken, Indices. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3-447-03320-7.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
มีการทดสอบ ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน ของวิกิพีเดีย ที่วิกิมีเดีย อินคิวเบเตอร์ |