ภาษาออสซีเชีย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ภาษาออสซีเชีย (Ossetic/Ossetian/Ossete language) เป็นภาษากลุ่มอิหร่านใช้พูดในแถบออสซีเชียแถบเทือกเขาคอเคซัส โดยนอร์ทออสซีเชียอยู่ในรัสเซีย ส่วนเซาท์ออสซีเชียอยู่ในจอร์เจีย มีผู้พูดภาษานี้ราว 500,000 คน ภาษานี้มี 35 หน่วยเสียง เป็นพยัญชนะ 26 เสียง สระเดี่ยว 7 เสียง สระประสม 2 เสียง เขียนด้วยอักษรซีริลลิก ในช่วง พ.ศ. 2481–2493 ในเซาท์ออสซีเชียเขียนภาษานี้ด้วยอักษรจอร์เจีย
ภาษาออสซีเชีย | |
---|---|
ирон ӕвзаг (irōn ævzag) дигорон ӕвзаг (digōrōn ævzag) | |
ออกเสียง | แม่แบบ:IPA-os แม่แบบ:IPA-os |
ประเทศที่มีการพูด | ออสซีเชีย |
ภูมิภาค | คอเคซัส |
ชาติพันธุ์ | ชาวออสซีเชีย |
จำนวนผู้พูด | 597,450 (2010)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ภาษาถิ่น |
Jassic (สูญหาย)
|
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
รัฐที่มีการยอมรับบางส่วน: เซาท์ออสซีเชีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | os |
ISO 639-2 | oss |
ISO 639-3 | oss |
Linguasphere | 58-ABB-a |
ข้อความภาษาออสซีเชียในอักษรละตินจากหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1935 | |
ประวัติและการจัดจำแนก
แก้ภาษาออสซีเชียเป็นภาษาพูดและภาษาเขียนของชาวออสซีเตส ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของเทือกเขาคอเคซัสและเป็นชนกลุ่มใหญ่ในสาธารณรัฐออสเซเตียเหนือ-อลาเนีย ซึ่งอยู่ในสหพันธรัฐรัสเซียและออสซีเชียใต้ซึ่งเป็นรัฐอิสระโดยพฤตินัยในสาธารณรัฐจอร์เจีย ภาษาออสซีเชียอยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน กลุ่มอิหร่านตะวันออก กลุ่มย่อยอิหร่านตะวันออกตอนเหนือ จึงมีความใกล้เคียงกับภาษาปาทาน และภาษายักโนบี
ในยุคคลาสสิก ภาษาในกลุ่มภาษาอิหร่านได้แพร่กระจายในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน เอเชียกลาง ยุโรปตะวันออก และเทือกเขาคอเคซัส ภาษาออสเซเตียเป็นภาษาเดียวที่อยู่รอดโดยสืบทอดมาจากภาษาไซเทียซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่าน สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาษาออสเซเตียจัดเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอิหร่านเช่นเดียวกับภาษาเคิร์ด ภาษาตาตี และภาษาตาลิช ที่มีผู้พูดจำนวนหนึ่งในเทือกเขาคอเคซัส เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอลานิกซึ่งเป็นภาษาของชาวอะลานที่เป็นเผ่าในยุคกลางที่สืบทอดมาจากชาวซาร์มาเทียน และเชื่อว่าเป็นลูกหลานภาษาเดียวที่เหลืออยู่ของภาษาซาร์มาเทียน ภาษาที่มีความใกล้เคียงกันมากที่สุดคือภาษายักโนบีในทาจิกิสถาน ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ของกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาออสซีเชียมีปัจจัยแสดงพหูพจน์ –ta ซึ่งเหมือนกับในภาษายักโนบี ภาษาซาร์มาเทียน และภาษาซอกเดีย
ระบบการเขียน
แก้ระบบการเขียนภาษาออสเซเตียเขียนด้วยอักษรซีริลลิกแต่ต่างจากภาษาอื่นที่มีอักษร Ӕ ӕ บิดาของภาษาออสเซเตียสมัยใหม่คือ กอสตา เซตากูรอฟ ซึ่งเป็นกวี ในรัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในจอร์เจียเขียนด้วยอักษรจอร์เจีย หนังสือภาษาออสเซเตียฉบับแรกตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2341 และใน พ.ศ. 2387 ได้มีการปรับการใช้อักษรโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย Andreas Sjögren มีการนำอักษรละตินมาใช้ในราว พ.ศ. 2463 แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2480 ได้นำอักษรซีริลลิกแบบใหม่มาใช้ ส่วนการเขียนด้วยอักษรจอร์เจียนั้น ได้เพิ่มตัวอักษร 3 ตัวเข้าไปใน พ.ศ. 2363 การใช้อักษรซีริลลิกในออสเซเตียใต้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2480 ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้อักษรจอร์เจียอีกใน พ.ศ. 2497 เคยมีการนำอักษรอาหรับมาใช้ใน พ.ศ. 2482 แต่ก็เป็นในระยะเวลาสั้นๆ
การใช้ภาษา
แก้หนังสือที่พิมพ์ในภาษาออสเซเตียเล่มแรกพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2341 หนังสือพิมพ์ฉบับแรก Iron Gazet ตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 ในวลาดิกาฟกัส การแปลไบเบิลเป็นภาษาออสเซเตียสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2553 ภาษาออสเซเตียเป็นภาษาราชการทั้งในออสเซเตียเหนือและออสเซเตียใต้คู่กับภาษารัสเซีย แต่การใช้อย่างเป็นทางการถูกจำกัด มีหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับในออสเซเตียคือ Ræstdzinad (Рæстдзинад, "ความจริง") ในออสเซเตียเหนือและXurzærin (Хурзæрин, "ดวงอาทิตย์") ในออสเซเตียใต้ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใช้ภาษาออสเซเตียในบางบทความ มีวารสารรายเดือน Max dug (Мах дуг, "ยุคของเรา") ที่ตีพิมพ์กวีนิพนธ์และนิยายในภาษาออสเซเตียเป็นครั้งคราว ภาษาออสเซเตียมีสอนในโรงเรียนมัธยม ผู้พูดเป็นภาษาแม่จะเรียนวรรณคดีออสเซเตีย
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาษาออสซีเชีย ที่ Ethnologue (23rd ed., 2020)
บรรณานุกรม
แก้- Abaev, V.I. 1964. A grammatical sketch of Ossetic (Russian version)
- Abaev, V.I. Ossetian Language and Folklore, USSR Academy of Sciences, Moscow-Leningrad, 1949
- Arys-Djanaieva, Lora. Parlons Ossète. Paris: L'Harmattan, 2004, ISBN 2-7475-6235-2.
- Dalby, Andrew (1998). Dictionary of Languages: The Definitive Reference to More Than 400 Languages. Columbia University Press. ISBN 978-0-231-11568-1.
- "Ossetian". Oxford English Dictionary (3rd ed.). Oxford University Press. กันยายน 2005.
- Ivanov, Sergey A.; Lubotsky, Alexandr (2010). "An Alanic Marginal Note and the Exact Date of John II's Battle with the Pechenegs". Byzantinische Zeitschrift. 103 (2): 595–603. doi:10.1515/byzs.2010.017. hdl:1887/18310. S2CID 162785119.
- Nasidze, Ivan; Quinque, Dominique; Dupanloup, Isabelle; Rychkov, Sergey; Naumova, Oksana; Zhukova, Olga; Stoneking, Mark (2004). "Genetic Evidence Concerning the Origins of South and North Ossetians". Annals of Human Genetics. 68 (6): 588–599. doi:10.1046/j.1529-8817.2004.00131.x. PMID 15598217. S2CID 1717933.
- Thordarson, Fridrik. Ossetic. In Rüdiger Schmitt (ed.), Compendium Linguarum Iranicarum, 456-479. Wiesbaden: Dr. Ludwig Reichert.
- Windfuhr, Gernot (2013). The Iranian Languages. Routledge. ISBN 978-1-135-79703-4.
- Zgusta, Ladislav (1987). The Old Ossetic Inscription from the River Zelencuk. [Illustr.] - Wien: Verl. D. Österr. Akad. D. Wiss. 1987. 68 S., 1 Bl. Kt. Gr. 8° (Veröffentlichungen D. Iranischen Kommission. 21.) (Österr. Akad. D. Wiss., Phil. -hist. Kl. Sitzungsberichte. 486.). Austrian Academy of Sciences Press. ISBN 978-3-7001-0994-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Web portal on documentation and grammatical studies of Ossetic (ในภาษาอังกฤษ)
- Ossetic National Corpus(ในภาษาอังกฤษ)
- Genetic Evidence Concerning the Origins of South and North Ossetians
- An article on Ossetic grammar(ในภาษาอังกฤษ) by Fridrik Thordarson
- Ossetic language page at the Minority languages of Russia on the Net เก็บถาวร 2009-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน project (ในภาษารัสเซีย)
- History of the Ossetian writing system and a comprehensive table of characters (ในภาษารัสเซีย)
- Ossetic language materials in English and partly French
- Laboratory of Field Linguistics: Ossetic (studies on Ossetic grammar, modern spoken texts in Ossetic) เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอังกฤษ)
- Omniglot – Ossetian (Ирон ӕвзаг / Дигорон ӕвзаг)
- Ossetic (Iron and Digor) basic lexicon at the Global Lexicostatistical Database
- Russian-Ossetic On-Line Dictionary