ภาษาซอกเดีย เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตอนกลางใช้พูดในบริเวณซอกเดีย (หุบเขาที่ราบลุ่มแม่น้ำซาราฟฮาน) ปัจจุบันอยู่ในอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน[5] และคีร์กีซสถาน[6] เป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณคดี ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียกลางและภาษาพาร์เทียน เป็นภาษาทางการค้าในเอเชียกลางและเป็นภาษากลางระหว่างพ่อค้าชาวจีนและชาวอิหร่าน ไม่พบหลักฐานของภาษาที่เก่ากว่าภาษานี้ ไวยากรณ์ของภาษาซอกเดียมีลักษณะอนุรักษนิยมมากกว่าภาษาเปอร์เซียกลาง

ภาษาซอกเดีย
suγδīk, 𐼼𐼴𐼶𐼹𐼷𐼸 [1]
ประเทศที่มีการพูดซอกเดีย
ภูมิภาคเอเชียกลาง, ประเทศจีน
ยุค100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 1000[2]
พัฒนาไปเป็นภาษายักโนบี
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน
รหัสภาษา
ISO 639-2sog
ISO 639-3sog

ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและการค้าทำให้ภาษานี้ยังคงมีการใช้อยู่ในช่วง 100 ปีแรกหลังการแพร่เข้าสู่บริเวณนี้ของศาสนาอิสลามเมื่อ พ.ศ. 1343 พบคำยืมจากภาษาซอกเดียจำนวนมากในภาษาเปอร์เซียยุคใหม่ สำเนียงหนึ่งของภาษาซอกเดียคือภาษายักโนบียังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน อักษรซอกเดียที่ใช้เขียนภาษาซอกเดียพัฒนามาจากอักษรอราเมอิก อักษรนี้เป็นต้นแบบของอักษรอุยกูร์และอักษรมองโกเลีย

อ้างอิง แก้

  1. Pandey, Anshuman (25 January 2017). "Revised proposal to encode the Sogdian script in Unicode" (PDF). สืบค้นเมื่อ 4 December 2019.
  2. ภาษาซอกเดีย at MultiTree on the Linguist List
  3. Jacques Gernet (31 May 1996). A History of Chinese Civilization. Cambridge University Press. pp. 282–. ISBN 978-0-521-49781-7.
  4. Sigfried J. de Laet; Joachim Herrmann (1 January 1996). History of Humanity: From the seventh century B.C. to the seventh century A.D. UNESCO. pp. 467–. ISBN 978-92-3-102812-0.
  5. Nicholas Sims-Williams. "Sogdian Language and Its Scripts". sogdians.si.edu.
  6. Barthold, W.; Boyle, J.A. (2012). ""Balāsāg̲h̲ūn"". ใน P. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam. Brill Online (second ed.). Universiteitsbibliotheek Leiden. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_1131. First print edition: ISBN 978-9004161214. 1960–2007.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้