ภาษาตังกุต หรือภาษาซีเซี่ย เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าโบราณใช้พูดในจักรวรรดิตังกุต มีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบต ภาษาพม่า และอาจมีความใกล้เคียงกับภาษาจีนด้วย เป็นภาษาราชการในจักรวรรดิตังกุต (ภาษาจีนเรียก ซีเซี่ย 西夏) ซึ่งเป็นอิสระในสมัยราชวงศ์ซ่ง(ซ้อง)เมื่อราว พ.ศ. 1544 และถูกปราบปรามโดยเจงกีสข่าน (Činggis Qaɣan) ใน พ.ศ. 1770 มีอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรตังกุต

ภาษาตังกุต
西夏文
ประเทศที่มีการพูดจักรวรรดิตังกุต
ภูมิภาคประเทศจีน
สูญแล้วหลังการล่มสลายของจักรวรรดิตังกุต
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรตังกุต
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ในประเทศจีน
รหัสภาษา
ISO 639-3txg
หน้าจาก 番漢合時掌中珠

การค้นพบ แก้

เอกสารภาษาตังกุตที่เก่าที่สุดเป็นพระสูตรทางพุทธศาสนาอายุราว พ.ศ. 1745 ซึ่งแสดงว่าภาษานี้ยังคงใช้อยู่ในช่วง 300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิตังกุต

เอกสารภาษาตังกุตส่วนใหญ่ที่พบพบที่คาราโคโตเมื่อ พ.ศ. 2451 โดย Pyotr Kuzmich Kozlov ปัจจุบันเอกสารเหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่สถาบันตะวันออกศึกษา สาขาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซีย เอกสารที่เก็บรักษาไว้นี้ประกอบด้วยเอกสาร 10,000 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นพระสูตรทางพุทธศาสนา กฎหมายและเอกสารทางราชการ อายุราว พุทธศตวรรษที่ 16-18 ในกลุ่มของเอกสารทางพุทธศาสนา มีเอกสารที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งไม่ปรากฏในฉบับภาษาจีนและภาษาทิเบตในปัจจุบัน และยังพบเอกสารเกี่ยวพระอวโลกิเตศวรที่พบเฉพาะในภาษาตังกุต นอกจากนี้มีการเก็บรักษาเอกสารภาษษตังกุตจำนวนน้อยในพิพิธภัณฑ์บริติช หอสมุดแห่งชาติที่ปักกิ่ง ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยปักกิ่งและห้องสมุดอื่นๆ

การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอักษรตังกุตเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 25เมื่อ M. Maurisse ได้รับสำเนาของพระสูตรดอกบัวที่เขียนด้วยภาษาตังกุต โดยเป็นการวิจัยร่วมกับนักวิจัยชาวจีน หลังการค้นพบห้องสมุดคารา-โคโตโดย Pyotr Kuzmich Kozlov ตัวอักษรนี้ถูกจำแนกว่าเป็นของจักรววรดิตังกุตในซีเซี่ย จากนั้นจึงเริ่มศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง นักวิจัยที่มีบทบาทสำคัญคือ N.A. Nevskij ชาวรัสเซียที่สร้างพจนานุกรมภาษาตังกุตเล่มแรก และสร้างความหมายของหน่วยทางไวยากรณ์ของภาษาตังกุตขึ้นมาใหม่ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะอ่านและเข้าใจภาษาตังกุต งานวิจัยของเขาได้รับการเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2503 และได้รับรางวัลจากสหภาพโซเวียต แต่ความสำเร็จในการเข้าใจภาษาตังกุตอย่างสมบูรณ์ยังห่างไกล โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างประโยคที่ยังค้นไม่พบ

การจัดโครงสร้างใหม่ แก้

ความเชื่อมโยงระหว่างการเขียนและการอ่านออกเสียงของภาษาตังกุตเข้าใจยากกว่าระหว่างอักษรจีนกับภาษาจีนปัจจุบัน มีลักษณะของอักษรจีน 90% ที่แสดงหน่วยทางสัทศาสตร์ แต่พบเพียง 10% ในภาษาตังกุต จากงานของ Sufronov การสร้างการออกเสียงของชาวตังกุตขึ้นมาใหม่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งอื่น

การค้นพบเอกสารสองภาษาจีน-ตังกุต ทำให้ Ivanov และ Laufur สามารถเริ่มต้นการสร้างใหม่และศึกษาเปรียบเทียบภาษาตังกุตได้ แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งคือคู่มือการแปลภาษาทิเบตเป็นภาษาตังกุตซึ่งมีการศึกษาเป็นครั้งแรกโดย Nevsky แต่ข้อมูลทั้งสองแหล่งยังไม่เพียงพอสำหรับการสร้างระบบภาษาตังกุตขึ้นมาทั้งหมด ในคู่มือไม่ได้แสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของภาษาตังกุต โดยเป็นคู่มืออย่างง่ายเพื่อช่วยชาวต่างชาติออกเสียงและจดจำคำของภาษาหนึ่งด้วยคำของอีกภาษาหนึ่งที่พวกเขาสามารถจดจำได้ แหล่งที่สามมีพื้นฐานมาจากการสร้างใหม่ในปัจจุบัน ประกอบด้วยพจนานุกรมภาษาตังกุตฉบับต่างๆ การบันทึกการออกเสียงในพจนานุกรมนี้ใช้หลักการของ fanqie ซึ่งยืมมาจากรูปแบบการออกเสียงภาษาจีน

N.A. Nevsky ได้สร้างรูปแบบทางไวยากรณ์ของภาษาตังกุตขึ้นมาใหม่และสร้างพจนานุกรมตังกุต-จีน-อังกฤษควบคู่ไปกับการนำเสนอผลงานเมื่อ พ.ศ. 2503 ในปัจจุบันมีการสอนทางด้านตังกุตศึกษาในจีนมากขึ้น ควบคู่ไปกับนักวิชาการสาขานี้ในไต้หวัน ญี่ปุ่นและสหรัฐ

สัทวิทยา แก้

พยางค์ในภาษาตังกุตมีโครงสร้างแบบ CVC และมีวรรณยุกต์สองเสียง

พยัญชนะ แก้

ชื่อภาษาจีน คำแปลภาษาอังกฤษ ศัพท์ใหม่ Arakawa Gong
重唇音類 heavy lip bilabials p, ph, b, m p, ph, b, m
軽唇音類 light lip labio-dentals f, v, w
舌頭音類 tongue tip dentals t, th, d, n t, th, d, n
舌上音類 upper tongue ty', thy', dy', ny'
牙音類 ga-like velars k, kh, g, ng k, kh, g, ŋ
歯頭音類 tooth tip dental affricates and fricatives ts, tsh, dz, s ts, tsh, dz, s
正歯音類 true tooth palatal affricates and fricatives c, ch, j, sh tɕ, tɕh, dʑ, ɕ
候音類 laryngeals ', h ., x, ɣ
流風音類 flowing air resonants l, lh, ld, z, r, zz l, lh, z, r, ʑ

สระ แก้

普通母音 緊候母音 捲舌母音
close i I u iq eq uq ir Ir ur
mid e o eq2 oq er or
open a aq ar

แหล่งข้อมูลอื่น แก้