ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก

การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกทีมชาติ 23 ทีมเพื่อเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2019ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยรวมกับทีมชาติฝรั่งเศสที่เข้ารอบโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพเป็น 24 ทีม[1] ซึ่งจะถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงครั้งที่ 8 นับตั้งแต่เริ่มการแข่งขันครั้งแรกในปี 1991 ซึ่งจะเป็นครั้งที่สามที่การแข่งขันจัดขึ้นในยุโรป ต่อจากปี 1995 ซึ่งจัดที่ประเทศสวีเดนและปี 2011 ซึ่งจัดที่ประเทศเยอรมนี โดยจำนวนทีมในแต่ละทวีปที่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายยังคงใช้ตามรอบคัดเลือกครั้งก่อนหน้านี้ เพียงแต่สิทธิ์ในฐานะเจ้าภาพโอนจากคอนคาแคฟในครั้งที่แล้ว (แคนาดา) ไปเป็นยูฟ่า (ฝรั่งเศส) โดยจำนวนทีมในแต่ละทวีปที่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบสุดท้ายเป็นดังนี้

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย แก้

ทีม เข้ารอบในฐานะ วันที่ผ่านเข้ารอบ เข้ารอบสุดท้าย
เป็นครั้งที่
เข้ารอบสุดท้าย
ติดต่อกันเป็นครั้งที่
ผลงานดีที่สุดที่ผ่านมา
  ฝรั่งเศส เจ้าภาพ 19 มีนาคม 2015 4 3 อันดับที่ 4 (2011)
  จีน เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 9 เมษายน 2018 7 2 รองชนะเลิศ (1999)
  ไทย เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 12 เมษายน 2018 2 2 รอบแบ่งกลุ่ม (2015)
  ออสเตรเลีย เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 13 เมษายน 2018 7 7 รอบก่อนรองชนะเลิศ (2007 2011 และ 2015)
  ญี่ปุ่น เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 13 เมษายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (2011)
  เกาหลีใต้ อันดับที่ 5 ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 16 เมษายน 2018 3 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
  บราซิล ชนะเลิศโกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 19 เมษายน 2018 8 8 รองชนะเลิศ (2007)
  ชิลี รองชนะเลิศโกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 22 เมษายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
  สเปน ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 7 8 มิถุนายน 2018 2 2 รอบแบ่งกลุ่ม (2015)
  อิตาลี ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 6 8 มิถุนายน 2018 3 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ (1991)
  อังกฤษ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 1 31 สิงหาคม 2018 5 4 อันดับที่ 3 (2015)
  สกอตแลนด์ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 2 4 กันยายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
  นอร์เวย์ ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 3 4 กันยายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (1995)
  สวีเดน ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 4 4 กันยายน 2018 8 8 รองชนะเลิศ (2003)
  เยอรมนี ชนะเลิศรอบคัดเลือกโซนยุโรป กลุ่มที่ 5 4 กันยายน 2018 8 8 ชนะเลิศ (2003 และ 2007)
  แคนาดา เข้ารอบชิงชนะเลิศคอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 14 ตุลาคม 2018 7 7 อันดับที่ 4 (2003)
  สหรัฐ เข้ารอบชิงชนะเลิศคอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 14 ตุลาคม 2018 8 8 ชนะเลิศ (1991 1999 และ 2015)
  จาเมกา อันดับที่ 3 คอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 17 ตุลาคม 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
  เนเธอร์แลนด์ ชนะรอบเพลย์ออฟโซนยุโรป 13 พฤศจิกายน 2018 2 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
  อาร์เจนตินา ชนะรอบเพลย์ออฟคอนคาแคฟ–คอนเมบอล 13 พฤศจิกายน 2018 3 1 รอบแบ่งกลุ่ม (2003 และ 2007)
  ไนจีเรีย เข้ารอบชิงชนะเลิศแอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 27 พฤศจิกายน 2018 8 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ (1999)
  แอฟริกาใต้ เข้ารอบชิงชนะเลิศแอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 27 พฤศจิกายน 2018 1 1 เข้ารอบเป็นครั้งแรก
  แคเมอรูน อันดับที่ 3 แอฟริกาวีเมนส์คัพออฟเนชันส์ 2018 30 พฤศจิกายน 2018 2 2 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2015)
  นิวซีแลนด์ ชนะเลิศโอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2018 1 ธันวาคม 2018 5 4 รอบแบ่งกลุ่ม (1991 2007 2011 และ 2015)

กระบวนการคัดเลือก แก้

การแข่งขันรอบคัดเลือกเริ่มต้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2017 และคาดว่าจะสิ้นสุดในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2018 โดยมีทีมชาติที่เข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกทั้งหมด 143 ทีมไม่รวมทีมชาติฝรั่งเศสที่เข้ารอบอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ

ทวีป สมาพันธ์ การแข่งขัน จำนวนทีมที่เข้าร่วม จำนวนทีมที่มีสิทธิ์เข้ารอบสุดท้าย วันเริ่มการแข่งขัน วันสิ้นสุดการแข่งขัน
เอเชีย เอเอฟซี ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2018 24 5 3 เมษายน 2017 20 เมษายน 2018
แอฟริกา ซีเอเอฟ แอฟริกาวีเมนคัพออฟเนชันส์ 2018 24[1] 3 4 เมษายน 2018 1 ธันวาคม 2018
อเมริกาเหนือ คอนคาแคฟ คอนคาแคฟวีเมนส์แชมเปียนชิป 2018 28[2] 3 หรือ 4 5 พฤษภาคม 2018 17 ตุลาคม 2018[3]
อเมริกาใต้ คอนเมบอล โกปาอาเมริกาเฟเมนินา 2018 10 2 หรือ 3 4 เมษายน 2018 22 เมษายน 2018[3]
โอเชียเนีย โอเอฟซี โอเอฟซีวีเมนส์เนชันส์คัพ 2018 11 1 24 สิงหาคม 2018 1 ธันวาคม 2018
ยุโรป ยูฟ่า ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก โซนยุโรป 46+เจ้าภาพ 8+เจ้าภาพ 6 เมษายน 2018 13 พฤศจิกายน 2018
รวม - ฟุตบอลโลกหญิง 2019 รอบคัดเลือก 143+เจ้าภาพ 23+เจ้าภาพ 3 เมษายน 2017 1 ธันวาคม 2018
[1]ไม่รวมอิเควทอเรียลกินีที่ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงรอบสุดท้าย แต่ยังคงเข้าร่วมแข่งขันแอฟริกาวีเมนคัพออฟเนชันส์ได้
[2]ไม่รวมกัวเดอลุปและมาร์ตีนิกที่เป็นสมาชิกของคอนคาแคฟแต่ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า และไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลก
[3]ทีมอันดับที่ 4 ของโซนอเมริกาเหนือและทีมอันดับที่ 3 ของโซนอเมริกาใต้ต้องแข่งขันกันในรอบเพลย์ออฟในเดือนพฤศจิกายน 2018

รอบคัดเลือกในแต่ละทวีป แก้

เอเอฟซี (เอเชีย) แก้

เช่นเดียวกับการแข่งขันครั้งก่อนหน้านี้ การแข่งขันฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพจะถือเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกสำหรับฟุตบอลโลกหญิงในโซนเอเชียด้วย โดยการแข่งขันแบ่งออกเป็นสองรอบ ได้แก่

  • รอบคัดเลือก รอบคัดเลือกของการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 ถึง 12 เมษายน ค.ศ. 2017 โดยมีทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขัน 24 ทีม อย่างไรก็ตาม ทีมชาติจอร์แดนซึ่งเป็นเจ้าภาพและอีกสามทีมที่ได้สามอันดับแรกจากการแข่งขันครั้งก่อนหน้านี้ได้แก่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีนได้สิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพครั้งนี้โดยไม่ต้องแข่งขันรอบคัดเลือก แต่จอร์แดนตัดสินใจส่งทีมเข้าแข่งขันด้วย โดย 21 ทีมที่เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกถูกแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม หนึ่งกลุ่มมีหกทีมในขณะที่อีกสามกลุ่มที่เหลือมีห้าทีม โดยทีมหนึ่งในแต่ละกลุ่มรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ ทีมชนะเลิศจากแต่ละกลุ่มจะได้สิทธิ์เข้ารอบสุดท้าย และเนื่องจากจอร์แดนซึ่งผ่านเข้ารอบไปแล้วเป็นผู้ชนะของกลุ่ม ทำให้ทีมรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้ารอบด้วย
  • รอบสุดท้าย ทีมที่ผ่านเข้ารอบทั้งแปดทีมจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละสี่ทีม แข่งขันกันแบบพบกันหมด ทีมที่ได้สองอันดับแรกจะได้สิทธิ์ผ่านเข้ารอบแพ้คัดออก และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ในขณะที่อันดับที่สามจากแต่ละสายจะต้องแข่งขันกันในรอบเพลย์ออฟเพื่อหาทีมที่ห้าที่ได้ผ่านเข้าแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายต่อไป

รอบคัดเลือก แก้

ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพได้แก่ ฟิลิปปินส์ (ในฐานะรองชนะเลิศ เนื่องจากทีมชนะเลิศคือจอร์แดนซึ่งผ่านเข้ารอบในฐานะเจ้าภาพ) เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

รอบสุดท้าย แก้

กลุ่มเอ

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   จีน 3 3 0 0 15 1 +14 9 รอบแพ้คัดออก และ ฟุตบอลโลกหญิง 2019
2   ไทย 3 2 0 1 9 6 +3 6
3   ฟิลิปปินส์ 3 1 0 2 3 7 −4 3 นัดชิงอันดับที่ 5
4   จอร์แดน (H) 3 0 0 3 3 16 −13 0
แหล่งที่มา : เอเอฟซี
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขรอบแบ่งกลุ่ม
(H) เจ้าภาพ.

กลุ่มบี

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1   ออสเตรเลีย 3 1 2 0 9 1 +8 5[a] รอบแพ้คัดออก และ ฟุตบอลโลกหญิง 2019
2   ญี่ปุ่น 3 1 2 0 5 1 +4 5[a]
3   เกาหลีใต้ 3 1 2 0 4 0 +4 5[a] นัดชิงอันดับที่ 5
4   เวียดนาม 3 0 0 3 0 16 −16 0
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561. แหล่งที่มา : เอเอฟซี
กฎการจัดอันดับ : เงื่อนไขรอบแบ่งกลุ่ม
หมายเหตุ :
  1. 1.0 1.1 1.2 ผลเฮด-ทู-เฮด: ออสเตรเลีย 0–0 เกาหลีใต้, เกาหลีใต้ 0–0 ญี่ปุ่น, ญี่ปุ่น 1–1 ออสเตรเลีย อันดับเฮด-ทู-เฮด:
    • ออสเตรเลีย: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 1 ประตู
    • ญี่ปุ่น: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 1 ประตู
    • เกาหลีใต้: 2 คะแนน ผลต่างประตูได้-เสีย 0 ยิงได้ 0 ประตู
    เกาหลีใต้ได้อันดับที่สามตามประตูที่ยิงได้ในเฮด-ทู-เฮด ออสเตรเลียและญี่ปุ่นมีอันดับเสมอกันในเฮด-ทู-เฮดจึงต้องจัดอันดับตามผลต่างประตูได้-เสีย

รอบแพ้คัดออก

 
รอบรองชนะเลิศรอบชิงชนะเลิศ
 
      
 
17 เมษายน – อัมมาน
 
 
  จีน1
 
20 เมษายน – อัมมาน
 
  ญี่ปุ่น3
 
  ญี่ปุ่น1
 
17 เมษายน – อัมมาน
 
  ออสเตรเลีย0
 
  ออสเตรเลีย (ลูกโทษ)2 (3)
 
 
  ไทย2 (1)
 
รอบชิงอันดับที่สาม
 
 
20 เมษายน – อัมมาน
 
 
  จีน3
 
 
  ไทย1
 
รอบชิงอันดับที่ห้า
 
  
 
16 เมษายน – อัมมาน
 
 
  ฟิลิปปินส์0
 
 
  เกาหลีใต้5
 

จีน ไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลกหญิงรอบสุดท้าย

ซีเอเอฟ (แอฟริกา) แก้

คอนคาแคฟ (อเมริกาเหนือ) แก้

คอนเมบอล (อเมริกาใต้) แก้

โอเอฟซี (โอเชียเนีย) แก้

ยูฟ่า (ยุโรป) แก้

การแข่งขันเพลย์ออฟระหว่างคอนคาแคฟและคอนเมบอล แก้

ผู้ทำประตูสูงสุด แก้

อ้างอิง แก้

  1. "France to host the FIFA Women's World Cup in 2019". FIFA.com. 19 มีนาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-04.