พูดคุย:สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิทวีปยุโรปและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับทวีปยุโรป ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิทวีปเอเชีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับทวีปเอเชีย ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

บี-เซิน-ทีน

แก้

อยากทราบจัง ทำไมอ่าน บี-เซิน-ทีน (Byzantine) ขอที่มาหน่อย เหมือนเป็นคำที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน แม้แต่กูเกิลก็หาไม่เจอ --Joobjoob 01:07, 29 มีนาคม 2552 (ICT)


——  ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส เนาววีสติมสุรทิน, ๐๑:๒๘ นาฬิกา (GMT+7)

อีกเล่มนะคะ [1] น่าจะอ่านได้หลายแบบนะคะ Pronunciation: \ˈbi-zən-ˌtēn, ˈbī-, -ˌtīn; bə-ˈzan-ˌ, bī-ˈ\ มีทั้ง บีเซินทีน ตามที่คุณว่า และอีกแบบน่าจะ ไบแซนทีน ซึ่งน่าจะคุ้นหูมากกว่า ขอแก้กลับอย่างที่คุ้นหูมากกว่านะคะ--Joobjoob 01:36, 29 มีนาคม 2552 (ICT)

คืออิชั้นว่า ถ้ามันอ่านได้สองแบบ แบบนึงนิยมกว่า อีกแบบนึงไม่นิยม ใช้แบบที่นิยมกว่าจะดีมั๊ยคะ--Joobjoob 01:52, 29 มีนาคม 2552 (ICT)

  1. จากพจนานุกรมฝรั่งแล้ว คำนี้อ่านได้สี่แบบ ดังนี้
    • /ˈbɪzənˌtin/ = บีเซินทีน
    • /ˈbɪzənˌtaɪn/ = บีเซินไทน์
    • /bɪˈzæntɪn/ = บีแซนทีน
    • /ˈbaɪzənˌtaɪn/ = ไบเซินไทน์
    แต่ฝรั่งเขาไม่อ่าน "ไบแซนไทน์" (/bɪˈzænˌtaɪn/) อย่างที่คนไทยเราคุ้นเสียด้วยสิ
  2. ปัญหาข้อนี้อาจเข้าหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตฯ ข้อ ๔ "คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria = วิกตอเรีย, Louis = หลุยส์ หรือ Cologne = โคโลญ เป็นต้น" จึงใช้ว่า "ไบแซนไทน์" หรืออย่างไร?
    ——  ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส เนาววีสติมสุรทิน, ๐๒:๒๑ นาฬิกา (GMT+7)

แก้เป็นไบแซนทีน นะคะ ไม่ใช่ไบแซนไทน์ อะคะ --Joobjoob 02:24, 29 มีนาคม 2552 (ICT)

  • เดี๋ยวเค้าลองเอาขึ้นหิ้งดูค่ะ รอคนมาถกกันนะ 55~!
——  ปอประตูน้ำ | จิ๊จ๊ะ - ๒๕๕๒ ศก มีนาคมมาส เนาววีสติมสุรทิน, ๐๒:๒๖ นาฬิกา (GMT+7)
ถ้าอย่างที่คุณปอประตูน้ำว่า ... ผมก็ว่าน่าจะเป็น ไบแซนไทน์ อ่าครับ — VIP NEVERMORE


Oxford Advanced Learner's Dictionary of Current English: ISBN 0-19-431550-9 p.174

Byzantine /baɪ'zæntaɪn; bɪ-; -ti:n; AmE 'bɪzənti:n/ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.59.137 (พูดคุย | ตรวจ) 13:15, 29 มีนาคม 2552 (ICT)

Byzantine เป็นสถาปัตยกรรมในยุโรป ดังนั้นก็ควรอ่านแบบยุโรป คือใช้สำเนียงบริเตนครับ ตัดสำเนียงอเมริกันทิ้งได้เลย (ถ้ามีนะ) จาก Oxford ที่ยกมา ตรงกลางเป็น "แซน" ก็ต่อเมื่อออกเสียงเน้นที่พยางค์กลาง แต่ถ้าเน้นที่พยางค์แรก พยางค์กลางจะกร่อนลงไปเป็นชวา ə สำหรับพยางค์แรกและหลังนั้น สามารถเป็นได้ทั้ง "ไบ/บี" กับ "ไทน์/ทีน" --Octra Dagostino 02:42, 30 มีนาคม 2552 (ICT)

Byzantine เป็นยุโรป แล้วเอาภาษาอังกฤษสำเนียงบริติชมาใช้ทำไมละครับ ไหงไม่ใช้พวกสำเนียงตามภาษาอิตาลี หรือภาษากรีก หรือไม่ก็สำเนียงไทยไปเลย ?
byzantine ไม่ใช่ภาษาอิตาลีครับ (ภาษาอิตาลีไม่มี y) แต่เขามีคำว่า bizantina อ่านว่า บีซานตีน่า ซึ่งไม่ใกล้กับภาษาอังกฤษเลย ภาษากรีกยิ่งแล้วใหญ่ --Octra Dagostino 15:16, 2 เมษายน 2552 (ICT)
เข้าเรื่องก่อนนะครับ คือตอนนี้มีเอกสารไหนที่มีการตีพิมพ์แล้วอ้างอิงได้ไหมครับ นอกเหนือจากความนิยมในกูเกิล --Manop | พูดคุย - (irc) 02:12, 31 มีนาคม 2552 (ICT)
ไม่ทราบว่า ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน พอจะใช้เทียบเคียงได้หรือไม่ สาขาวรรณกรรม ระบุว่า Byzantine = ไบแซนไทน์ --ScorpianPK   คุยแค่ "คลิก" 07:45, 31 มีนาคม 2552 (ICT)
สนับสนุน ตามความเห็นคุณ ScorpianPK ไบแซนไทน์ เป็นคำที่คุ้นเคย และเป็นศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน หมวดวรรณกรรม --Sry85 00:50, 1 เมษายน 2552 (ICT)
สนับสนุนตามความเห็นคุณ ScorpianPK ไบแซนไทน์ด้วยครับ คิดว่าวงเล็บคำอ่านที่ใช้กันไว้แทน ส่วนชื่อบทความคงเป็น "ไบแซนไทน์" ตามเอกสารที่มีก่อน เว้นแต่จะมีเอกสารใหม่ออกมา --Manop | พูดคุย - (irc) 04:40, 1 เมษายน 2552 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ ScorpianPK เช่นกันครับ คิดว่าเป็นการถอดเสียงที่คุ้นเคยที่สุดครับ --P W 21:30, 3 เมษายน 2552 (ICT)
กลับไปที่หน้า "สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์"