พูดคุย:พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวรรณศิลป์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวรรณคดี วรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เรื่องสั้น นวนิยาย และอื่น ๆ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ข้อความจากบทความ น้อย อาจารยางกูร แก้

(ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง เนื่องจากเนื้อหาซ้ำซ้อน)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นนักปราชญ์คู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช เป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทราโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2365 ณ บ้านริมคลองโสธร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปี มะเมีย บิดาชื่อนายทองดี มารดาชื่อนางบัง เป็นบุตรคนที่ 6 เมื่ออายุได้ประมาณ 6-7 ปี เรียนหนังสือไทยกับหลวงบรรเทาทุกข์ราษฎร์ กรมการเมืองฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นพี่ชายใหญ่ของท่าน ในขณะที่หลวงบรรเทาทุกข์ราษฎร อุปสมบทเป็นภิกษุอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร เมื่ออายุ 13 ปี ท่านได้เข้าไปศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร อยู่กับสามเณรน้าชาย ชื่อทัด ณ วัดสระเกศวรวิหาร อายุ 14 ปี บรรพชาเป็นสามเณรเรียนหนังสือไทยกับพระกรรมวาจาจารย์ (จัน) เรียนหนังสือขอมกับพระครุวิหารกิจจานุการ (กรรมวาจาจีน) ศึกษาพระธรรมวินัยจากสำนักต่าง ๆ เช่น เรียนคัมภีร์สารสงเคราะห์ สำนักสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)เรียนคัมภีร์มงคลทีปนี้ในสำนักพระอุปทยาจารย์ (ศุข) เรียนคัมภีร์มูลกัจจายนในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) เรียนคัมภีร์กังขาวิตะระณี ในสำนักอาจารย์เกิด เรียนคัมภีร์มหาวงศ์ในสำนักพระครูด้วง เรียนคัมภีร์อื่น ๆ ในสำนักพระครูปาน พระใบฎีกาแก้ว พระอาจารย์คง อาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ด้วย ท่านได้บวชเป็นสามเณร 8 ปี เมื่ออายุ 21 ปี ได้อุปสมบทที่วัดสระเกศวรวิหาร ท่านแตกฉานทั้ง ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษาบาลี สันสกฤต รู้การแต่งคำประพันธ์ฉันทลักษณ์เป็นอย่างดี เมื่ออายุ 24 ปี ได้เข้าแปลปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะ ณ วัดราษฎร์บูรณะได้เป็นเปรียญ 5 ประโยค ด้วยระยะเวลานั้น วัดสระเกศวรวิหารขาดพระมหาเปรียญเป็นเวลานับสิบปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสยินดี ทรงเฉลิมพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหม่ รื้อกุฏิเก่าฝาไม้ไผ่ออกสร้างกุฏิตึกเป็นเสนาสนะงดงาม ตลอดทั้งก่อสร้างสถาปนาภูเขาทองด้วยนับเป็นเกียรติยศอย่างสูง ด้วยความอุตสาหะพากเพียรใฝ่รู้ของท่าน จึงได้ขอศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพรรษาที่ 6 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุม พระราชาคณะ ณ วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม สอบได้เปรียญ 7 ประโยค พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชาคณะที่ “พระประสิทธิสุตคุณ” จนถึงปี พ.ศ. 2396 ท่านจึงได้ลาสิกขาบท เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรงค์ (ขณะนั้นเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพชรภักดี) ได้นำเข้าถวายตัวรับราชการอยู่ในกรมมหาดเล็กเวรศักดิ์ รัชกาลที่ 4 ทรงใช้สอยในเรื่องหนังสือไทย หนังสือขอมคล่องแคล่ว สมพระราชหฤทัย รับราชการ 1 ปี ได้เป็นที่ “ขุนประสิทธิ์อักษรศาสตร์” ผู้ช่วยเจ้ากรมพระยารักษ์ ว่าที่ เจ้ากรมอักษรพิมพการ ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น “ขุนสารประเสริฐ” ปลัดทูลฉลอง กรมพระอาลักษณ์ และเมื่อเจ้านครเชียงใหม่นำช้างเผือกมาถวาย ท่านได้แต่งฉันทกล่อมช้าง ในปี พ.ศ. 2414 ท่านได้คิดแบบสอบอ่านหนังสือไทย รวม 6 เล่ม ดังนี้ 1. มูลบทบรรพกิจ 2. วาหะนิติกร 3. อักษรประโยค 4. สังโยคพิธาน 5. พิศาลการันต์ 6. ไวพจน์พิจารณ์ (เล่มนี้แต่ง พ.ศ. 2425) ปรากฏว่า เป็นที่ถูกพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ได้เลื่อนยศเป็น “พระสารประเสริฐ” ปลัดทูลฉลอง กรมพระอาลักษณ์ ในปี พ.ศ. 2415 ท่านได้เป็นครูสอนหนังสือไทย ในกรมมหาดเล็กพ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอาจารย์สอนพระราชวงศ์ที่ยังพระเยาว์ และบุตรหลานข้าราชการได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ 60 บาท ภายหลังได้คิดแบบเรียนอีกหลายเล่ม เช่น อนันตวิภาคยเขมรากษรมาลา (หนังสือขอม) นิติสารสาธก ปกรนำพจนาตถ์ โคลงฉันท์ หลายเรื่องในปี พ.ศ. 2418เมื่อเจ้ากรมพระอาลักษณ์ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็น “พระศรีสุนทรโวหาร” เจ้ากรมอาลักษณ์ ถือศักดินา 3,000 ไร่ ในปี พ.ศ. 2422 เมื่อมีการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามท่านได้มีส่วนในการแต่งโคลงรามเกียรติ์เพื่อจารึกที่ระเบียง รอบพระอุโบสถ และเป็นแม่กองตรวจโคลงรามเกียรติ์ที่ข้าราชการแต่งทูลเกล้าฯ ถวายความชอบในครั้นนั้นได้เลื่อนเป็น พระยาศรีสุนทรโวหาร ญานปรีชามาตย์บรมนาคนิตยภักดีพิริยะ พาหะ ถือศักดินา 3,000 ไร่ พระราชทานเบี้ยหวัดปีละ 4 ชั่ง (สามัญศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา,2540:99-100) ปี พ.ศ. 2425 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้เป็นองคมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน และองคมนตรีสภาอีกด้วย (เกษม หน่ายคอน และคณะ, 2540 : 1-4)และให้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2414 โดยมีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก (พีระ เทพพิทักษ์ และคณะ,2539:63) ต่อมาพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้เป็นอาจารย์ถวายอักษร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ในปีพ.ศ. 2432 ท่านได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า และได้รับพระราชทานพานหมากคนโททอง กระโถนทอง เป็นเครื่องยศ ในปี พ.ศ. 2434 ท่านได้ป่วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหมอหลวงรักษา และให้พาหมอเชลยศักดิ์มารักษาด้วย แต่อาการไม่ดีขึ้น ดังนั้นในวันที่16 ตุลาคม 2434 ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมรวมอายุได้ 69 ปี พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นชาวฉะเชิงเทราโดยกำเนิด มีประวัติผลงานยอดเยี่ยม มีความ อุตสาหะ วิริยะ พากเพียร ใฝ่หาความรู้เป็นตัวอย่างแก่กุลบุตรธิดา อีกทั้งจรรยา มารยาทเป็นที่ถูกอัธยาศัยของผู้พบเห็น รู้จักรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระมหากษัตริย์ถึง 3 พระองค์ คือรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีความรู้เชี่ยวชาญภาษาไทย และภาษาอื่นหาผู้ใดเสมอเหมือนสมควรที่พี่น้องชาวฉะเชิงเทราจะได้ยึดถือเป็นแบบฉบับ และเผยแพร่เกียรติคุณให้เป็นที่ปรากฏ สืบไป

--สุทธิพงษ์ พื้นแสน 15:23, 14 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ข้อมูลส่วนที่มันเกินมาจากในบทความมาใส่เพิ่มดีไหมครับ เช่น ประวัติในช่วงแรก กับบั้นปลายชีวิต เพราะว่าในบทความยังไม่มี--P.N.Boonrod 15:38, 14 กรกฎาคม 2551 (ICT)

เมื่อใส่แล้วก็ต้องเขียนใหม่ แก้สำนวนให้เหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจเข้าข่ายงานเขียนที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ (ข้อความข้างบนดูแล้วเหมือนลอกเนื้อหามาจากที่ใดที่หนึ่ง)

--สุทธิพงษ์ พื้นแสน 15:57, 14 กรกฎาคม 2551 (ICT)

ไม่มีปัญหาครับพี่สุทธิพงษ์--P.N.Boonrod 19:44, 14 กรกฎาคม 2551 (ICT)

กลับไปที่หน้า "พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)"