เอออร์ตาส่วนท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ในท้อง

เอออร์ตาส่วนท้อง (อังกฤษ: Abdominal aorta) เป็นหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้อง เป็นส่วนหนึ่งของเอออร์ตา ต่อเนื่องมาจากเอออร์ตาส่วนลง (ของส่วนอก)[1]

เอออร์ตาส่วนท้อง
ภาพส่วนของเอออร์ตา พร้อมทั้งส่วน เหนือไต และ ใต้ไต ของเอออร์ตาส่วนท้อง
เอออร์ตาส่วนท้องและแขนง
รายละเอียด
จากเอออร์ตาส่วนอก
แขนง
หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์เวนาคาวา
ตัวระบุ
ภาษาละตินAorta abdominalis,
pars abdominalis aortae
MeSHD001012
TA98A12.2.12.001
TA24205
FMA3789
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โครงสร้าง แก้

เอออร์ตาส่วนท้องเริ่มต้นที่ระดับกะบังลม ผ่านทางช่องเอออร์ติก โดยตามหลักการแล้วจะอยู่ด้านหลังของกะบังลม ที่กระดูกสันหลังระดับ T12[1] เอออร์ตาส่วนท้องทอดตัวลงไปตามผนังด้านหลังของช่องท้อง ด้านหน้าของลำกระดูกสันหลัง ดังนั้นหลอดเลือดนี้จึงโค้งตามรูปร่างของกระดูกสันหลังส่วนเอว นั่นคือนูนออกมาทางด้านหน้า (นูนเข้าไปหาผนังช่องท้อง) โดยจุดที่นูนที่สุดของเอออร์ตาส่วนท้องนี้คือ ณ กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่สาม (L3) เอออร์ตาส่วนท้องจะทอดตัวขนานไปกับอินฟีเรียร์ เวนา คาวา ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของเอออร์ตาส่วนท้อง และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเมื่อจะแยกออกเป็นแขนง ที่ซี่โครงซี่ที่ 11 เอออร์ตาส่วนท้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 122 มม. และกว้าง 55 มม. และมีความดันคงที่[2] เอออร์ตาส่วนท้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนทางคลินิก ได้แก่

  1. ส่วนเหนือไต (suprarenal) หรือส่วนเข้าถึงอวัยวะภายใน (paravisceral) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของกะบังลม แต่อยู่ด้านบนของหลอดเลือดไต
  2. ส่วนใต้ไต (Infrarenal) เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของหลอดเลือดไต และอยู่ด้านบนของจุดแยกสองง่ามกระดูกปีกสะโพก (Iliac bifurcation)

แขนง แก้

เอออร์ตาส่วนท้องส่งเลือดส่วนมากไปเลี้ยงในช่องท้อง โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ T12 และสิ้นสุดที่ L4 พร้อมกับการเข้าสู่จุดแยกสองง่ามกระดูกปีกสะโพก เป็นหลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกร่วม[1] โดยแยกออกเป็นแขนงดังต่อไปนี้

แขนงหลอดเลือดแดง กระดูกสันหลัง ชนิด แขนงคู่
หรือไม่
ตำแหน่งหน้า
หรือหลัง
คำอธิบาย
กะบังลมส่วนล่าง T12 ผนังหุ้ม ใช่ หลัง แยกออกที่ด้านบนของช่องท้องใต้กะบังลม ผ่านทางด้านบนและทางด้านในไปยังต่อมหมวกไตและผ่านทแยงขา (crus) ของกะบังลมเหมือนกันทั้งสองข้าง ไปเลี้ยงกะบังลมและแยกออกเป็นหลอดเลือดแดงหมวกไตบน
ท้อง T12 อวัยวะ ไม่ใช่ หน้า แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่
เยื่อยึดลำไส้เล็กบน L1 อวัยวะ ไม่ใช่ หน้า แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่ แยกออกบริเวณใต้ช่องท้อง
หมวกไตกลาง L1 อวัยวะ ใช่ หลัง ทแยงข้ามด้านข้างขาของกะบังลมในแต่ละฝั่ง ไปเลี้ยงต่อมหมวกไต
ไต ระหว่าง L1 และ L2 อวัยวะ ใช่ หลัง แยกออกที่บรืเวณข้างใต้ของหลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กบน หลอดเลือดแดงไตขวาผ่านลึกลงไปยังหลอดเลือดเวนาคาวาด้านล่างเพื่อไปยังไตข้างขวา และเมื่อถึงจุดนี้จึงแยกออกเป็นแขนง ส่วนหลอดเลือดแดงไตซ้ายผ่านลึกลงไปยังหลอดเลือดดำไตซ้าย และจึงแยกออกในขั้ว (hilum) ของไต โดยหลอดเลือดแดงทั้งสองจะแยกออกเป็นหลอดเลือดแดงหมวกไตบนและแขนงท่อไต
ต่อมบ่งเพศ L2 อวัยวะ ใช่ หน้า ในเพศหญิงเป็นหลอดเลือดแดงรังไข่ และในเพศชายเป็นหลอดเลือดแดงอัณฑะ
เอว L1-L4 ผนังหุ้ม ใช่ หลัง แยกตัวออกเป็นสี่หลอดเลือดในแต่ละฝั่งเพื่อหล่อเลี้ยงผนังท้องและไขสันหลัง ส่วนคู่ที่ห้าอยู่ในแขนงเอวของหลอดเลือดแดงอิลิโอลัมบาร์ หลอดเลือดเหล่านี้ผ่านลึกไปยังขาด้านขางของลำกระดูกสันหลัง และผ่านลึกไปยังฝีข้างใหญ่ (psoas major) และควอดราตัสลัมโบรัมเพื่อเข้าสู่ช่องว่างระหว่างพื้นที่เฉียงชั้นใน (internal oblique) และพื้นที่กลับข้าง (transversus) ของกล้ามเนื้อท้อง หลอดเลือดแดงแต่ละหลอดจะแยกออกเป็นแขนงด้านหลังเล็ก ๆ ซึ่งจะแยกออกเป็นแขนงลำกระดูกสันหลังเพื่อไปยังคลองกระดูกสันหลัง และจากนั้นจึงทอดตัวต่อไปเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหลัง
เยื่อยึดลำไส้เล็กล่าง L3 อวัยวะ ไม่ใช่ หน้า แขนงหลอดเลือดแดงใหญ่
กระดูกใต้กระเบนเหน็บตรงกลาง L4 ผนังหุ้ม ไม่ใช่ หลัง หลอดเลือดแดงแยกออกจากตรงกลามของเอออร์ตาที่จุดต่ำสุด แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของเอออร์ตาด้านหลังดั้งเดิม ซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ในสัตว์มีหาง แต่มีขนาดเล็กกว่าในมนุษย์
กระดูกปีกสะโพกร่วม L4 จุดจบ ใช่ หลัง แขนง (แบบแยกเป็นสองง่าม) ส่งเลือดไปเลี้ยงที่ขาและเชิงกราน เป็นจุดปลายของเอออร์ตาส่วนท้อง

โปรดทราบว่าการแยกสองง่าม (ที่ติดกัน) ของอินฟีเรียร์เวนาคาวา คือ ตำแหน่ง L5 และด้านล่างของการแยกสองง่ามของหลอดเลือดแดงเอออร์ตา

 
ภาพการให้แสงและเงาปริมาตรโดยซีที สแกนของหลอดเลือดในท้องและเชิงกราน
  1. หลอดเลือดแดงกะบังลมล่าง
  2. หลอดเลือดแดงท้อง
    1. หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารซ้าย
    2. หลอดเลือดแดงม้าม
      1. หลอดเลือดแดงกระเพาะสั้น (6 เส้น)
      2. หลอดเลือดแดงม้าม (6 เส้น)
      3. หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกซ้าย
      4. หลอดเลือดแดงตับอ่อน
    3. หลอดเลือดแดงตับร่วม
      1. หลอดเลือดแดงกระเพาะอาหารขวา
      2. หลอดเลือดแดงแกสโตรดูโอดีนัล
        1. หลอดเลือดแดงแกสโตรอิพิโพลอิกขวา
        2. หลอดเลือดแดงแพนครีเอติโคดูโอดีนัลบน
      3. หลอดเลือดแดงตับขวา
        1. หลอดเลือดแดงถุงน้ำดี
      4. หลอดเลือดแดงตับซ้าย
  3. หลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กบน
    1. หลอดเลือดแดงแพนครีเอติโคดูโอดีนัลล่าง
    2. หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กส่วนกลางและลำไส้เล็กส่วนปลาย
    3. หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ส่วนกลาง
    4. หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ขวา
    5. หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กต่อลำไส้ใหญ่
      1. หลอดเลือดแดงเซเคิลหน้า
      2. หลอดเลือดแดงเซเคิลหลัง – หลอดเลือดแดงไส้ติ่ง
      3. หลอดเลือดแดงลำไส้เล็กส่วนปลาย
      4. หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่
  4. หลอดเลือดแดงหมวกไตกลาง
  5. หลอดเลือดแดงไต
  6. หลอดเลือดแดงอัณฑะหรือรังไข่
  7. หลอดเลือดแดงเอวสี่เส้น
  8. หลอดเลือดแดงเยื่อยึดลำไส้เล็กล่าง
    1. หลอดเลือดแดงลำไส้ใหญ่ซ้าย
    2. หลอดเลือดแดงไส้ใหญ่ส่วนคด (2 หรือ 3 เส้น)
    3. หลอดเลือดแดงไส้ตรงบน
  9. หลอดเลือดแดงกระดูกใต้กระเบนเหน็บกลาง
  10. หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกร่วม
    1. หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกนอก
    2. หลอดเลือดแดงกระดูกปีกสะโพกใน

ความสัมพันธ์ แก้

เอออร์ตาส่วนท้องพาดเยื้องไปทางซ้ายของเส้นกลางลำตัว ถูกปกคลุมทางด้านหน้าด้วยโอเมนตัมน้อยและกระเพาะอาหาร ด้านหลังซึ่งเป็นแขนงหลอดเลือดแดงท้องและข่ายหลอดเลือดแดงท้อง อยู่ด้านล่างของหลอดเลือดดำม้าม, ตับอ่อน, หลอดเลือดดำไตซ้าย, ส่วนล่างของลำไส้เล็กส่วนต้น, เยื่อแขวนลำไส้ และข่ายหลอดเลือดแดงเอออร์ติกส่วนท้อง

ส่วนด้านหลัง เอออร์ตาส่วนท้องจะถูกแยกออกจากกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกอ่อนเส้นใยกระดูกสันหลังโดยเอ็นตามยาวหน้า (anterior longitudinal ligament) และหลอดเลือดดำเอวซ้าย

ที่ด้านขวาเอออร์ตาส่วนท้องมีความสัมพันธ์กับหลอดเลือดดำเอไซโกส, ซิสเตอร์นาไคลี, ท่อช่องอก และขาด้านขวาของกะบังลม โดยจะแยกกันที่สุดท้ายจากส่วนบนของอินฟีเรียร์เวนาคาวา และจากทางขวาของปมประสาทท้อง โดยอินฟีเรียร์เวนาคาวานั้นจะสัมผัสกับเอออร์ตาด้านล่าง

ที่ด้านซ้ายของขาด้านซ้ายของกะบังลม, ด้านซ้ายของปมกระสาทท้อง, ส่วนขึ้นของลำไส้เล็กส่วนต้น และบางขดของลำไส้เล็ก

 
ภาพวาดสามมิติของเอออร์ตาส่วนท้องที่ทางแยกกระดูกปีกสะโพก

ความสัมพันธ์กับอินฟีเรียร์เวนาคาวา แก้

เอออร์ตาส่วนท้องของคู่หลอดเลือดดำ โดยอินฟีเรียร์เวนาคาวา (IVC) จะทอดตัวขนานไปกับเอออร์ตาส่วนท้องด้านขวา

ภาพเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 602 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

  1. 1.0 1.1 1.2 Lech, Christie; Swaminathan, Anand (November 2017). "Abdominal aortic emergencies". Emergency Medicine Clinics of North America. 35 (4): 847–867. doi:10.1016/j.emc.2017.07.003. PMID 28987432.
  2. Jim, Jeffrey; Thompson, Robert W. "Clinical features and diagnosis of abdominal aortic aneurysm". UpToDate.
  3. Jang, Timothy (28 August 2017). "Bedside ultrasonography evaluation of abdominal aortic aneurysm—technique". Medscape.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้