เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

เทศบาลเมืองในจังหวัดอำนาจเจริญ ประเทศไทย

อำนาจเจริญ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลบุ่ง ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร สถานศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 25,964 คน[1]

เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
สนามกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ
สนามกีฬาจังหวัดอำนาจเจริญ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
ตรา
ทม.อำนาจเจริญตั้งอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ
ทม.อำนาจเจริญ (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°51′N 104°38′E / 15.850°N 104.633°E / 15.850; 104.633
ประเทศ ไทย
จังหวัดอำนาจเจริญ
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
จัดตั้ง1 มกราคม 2538
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีณัฐพงศ์ ตั้งสกุลกุลพัฒน์
พื้นที่
 • ทั้งหมด38 ตร.กม. (15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด25,964 คน
 • ความหนาแน่น683.26 คน/ตร.กม. (1,769.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04370102
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ถนนสุขาภิบาล 1 ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
โทรศัพท์045-511328-3 ต่อ 124
โทรสาร045-511982-3
เว็บไซต์amnatcharoencity.go.th//
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เดิมเป็น สุขาภิบาลบุ่ง อยู่ในอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดใหม่ คือ จังหวัดอำนาจเจริญ ด้วยผลของกฎหมายดังกล่าว จึงมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537[2] มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538[ต้องการอ้างอิง]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลเมืองอำนาจเจริญตั้งอยู่ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบุ่งบางส่วน จำนวน 30 ชุมชน รวมพื้นที่ 38 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับสะพานห้วยชัน ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับสะพานห้วยไร่ ตำบลไก่คำ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับสะพานดอนหวาย ตำบลห้วยไร่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับสะพานห้วยนาค ตำบลโนนโพธิ์ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ

ตราสัญลักษณ์ แก้

 
ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ

เป็นดวงตราที่บรรจุอยู่ภายในวงกลม ด้านบนเป็นรูปเป็นรูปพระมงคลมิ่งเมืองประทับบนดอกบัว เปล่งรัศมีแห่งธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีต้นตะเคียนหินพร้อมเทพพยดาปกปักรักษา

ประชากร แก้

ประชากรเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 26,496 คน เป็นประชากรชาย 12,882 คน ประชากรหญิง 13,614 คน จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 18,999 คน เป็นชาย 9,147 คน เป็นหญิง 9,852 คน (ที่มา : งานทะเบียนราษฎร สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน พ.ศ. 2554))

มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.48 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีวัด จำนวน 11 วัด ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.51 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล โดยมีโบสถ์คริสต์ จำนวน 3 แห่ง และผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.01 ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาล

ชุมชนจำนวน 31 ชุมชน จำนวนบ้าน 9,590 หลังคาเรือน จำนวนประชากรรวม 26,179

เศรษฐกิจ แก้

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และปลูกผักสวนครัวอื่น ๆ โดยมีย่านชุมชน หนาแน่น อยู่ตรงบริเวณสี่แยกไฟแดง ถนนอรุณประเสริฐกับถนนชยางกูร เป็นย่านธุรกิจการค้า ค้าปลีก ค้าส่ง ตลาดสด โรงแรม ธนาคาร รายได้ต่อหัวของประชากร 29,474 บาทต่อคนต่อปี

วัฒนธรรม แก้

ประเพณีท้องถิ่นสำคัญ คือ ประเพณีฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น งานบุญข้าวจี่ งานบุญเดือนสิบสอง ฯลฯ

โครงสร้างพื้นฐาน แก้

สถานศึกษา แก้

สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล โรงเรียนเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (พุทธอุทยาน) โรงเรียนสาธิตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพมงคล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนหวาย สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอำนาจเจริญ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ โรงเรียนเมืองอำนาจเจริญ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 91 (บ้านโคกจั๊กจั่น) โรงเรียนบ้านโนนจาน โรงเรียนบ้านดอนแดง สถานศึกษาเอกชน จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนอนุบาลนพเก้า โรงเรียนอนุบาลบ้านเสาวภาคย์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคอำนาจเจริญ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสำราญนิเวศ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอำนาจเจริญ

สาธารณสุข แก้

โรงพยาบาลในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ขนาด 270 เตียง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง

การคมนาคม แก้

ภายในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประกอบด้วยถนน จำนวน 114 สาย รวมความยาวได้ 103 กิโลเมตร โดยแยกเป็นถนนสายหลัก สายรอง ดังนี้[3]

  • ถนนสายหลัก 3 สาย ความยาว 9 กิโลเมตร
  • ถนนสายรอง 59 สาย ความยาว 45 กิโลเมตร
  • ซอย 52 ซอย ความยาว 49 กิโลเมตร

ไฟฟ้า แก้

ครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้า จำนวน 9,310 ครัวเรือน และมีไฟฟ้าใช้ครอบคลุม ทั้ง 30 ชุมชน ไฟฟ้าสาธารณะตามถนน ถนนสายหลักเมืองมีเกือบครบทุกสายเว้นแต่ถนนสายรอง และตามแยก ซอย ซึ่งยังขาดแคลนอีกหลายจุด

การประปา แก้

จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปามีจำนวนทั้งสิ้น 8,025 ครัวเรือน หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา คือ การประปาส่วนภูมิภาค จังหวัดอำนาจเจริญ ผลิตน้ำประปาได้วันละ 10,560 ลูกบาศก์เมตร /วัน ปริมาณการใช้น้ำ 400 ลิตร/คน/วัน พื้นที่บริการจ่ายน้ำ 7 ตารางกิโลเมตร[4]

การสื่อสาร แก้

  • จำนวนโทรศัพท์ส่วนบุคคลในพื้นที่ จำนวน 3,309 เลขหมาย
  • จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ จำนวน 536 เลขหมาย
  • ชุมสายโทรศัพท์ในเขตพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง จำนวนคู่สายทั้งหมด 4,200 คู่สาย เปิดใช้ 2,331 คู่สาย
  • ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง คือที่ทำการไปรษณีย์อำนาจเจริญ
  • สถานีวิทยุกระจายเสียงในเขตพื้นที่ มี 1 สถานี คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดอำนาจเจริญ
  • ระบบเสียงวิทยุไร้สาย 1 สถานี ของสำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ
  • หน่วยงานวิทยุสื่อสารในเขตเทศบาล ได้แก่ แม่ข่ายแสงเพชรของสำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ แม่ข่ายมิ่งเมืองของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ แม่ข่ายเมืองแมนของที่ทำการปกครองอำเภอเมือง แม่ข่ายเทพมงคลของที่ทำการปกครองจังหวัดอำนาจเจริญ

สถานที่สำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2537/A/053/60.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ พ.ศ. 2537
  3. กองช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ (21 เมษายน 2554)
  4. สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาจเจริญ (21 เมษายน 2554)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้