ห้างสรรพสินค้าโตคิว

ห้างสรรพสินค้าโตคิว (ญี่ปุ่น: 東急百貨店โรมาจิTōkyū Hyakkaten) เป็นห้างสรรพสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น บริหารงานโดย กลุ่มโตคิว

โลโก้ ห้างสรรพสินค้าโตคิว

สาขาในประเทศญี่ปุ่น แก้

 
สาขาเรือธงห้างสรรพสินค้าโตคิว (ชิบูย่าฮอนเต็น)

สาขาที่ปิดกิจการในประเทศญี่ปุ่น แก้

  • ชิบูย่าโทโยโคเทน (สถานีรถไฟชิบุยะ) ปิดให้บริการในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563[1]
  • ชิบูยะฮฮนเต็น ปิดให้บริการในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566

สาขาในต่างประเทศ แก้

 
ห้างสรรพสินค้าโตคิว สาขาปทุมวัน (เอ็มบีเคเซ็นเตอร์)

สาขาที่ปิดกิจการในต่างประเทศ แก้

ห้างสรรพสินค้าโตคิวในประเทศไทย แก้

ห้างสรรพสินค้าโตคิวเปิดให้บริการในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2528 สาขาแรกตั้งอยู่บนถนนรัชดาภิเษกโดยเป็นฐานรากของอาคารศรีวราทาวเวอร์[4] (ปัจจุบันคือ อาคารซีดับเบิลยู) ภายหลังได้มีการขยายสาขาที่สองไปที่ศูนย์การค้ามาบุญครอง (ปัจจุบันคือ ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์) ในปีเดียวกันโดยได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก แต่ใน พ.ศ. 2540 จากวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกทำให้ยอดผู้ใช้บริการไม่ตรงเป้า บวกกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและการฟ้องร้องเรื่องคดีทุจริตในที่ดินและการก่อสร้างอาคารศรีวราทาวเวอร์ที่ไม่ตรงตามแบบ โตคิวจึงได้ตัดสินใจปิดสาขารัชดาภิเษกลงและย้ายสาขาทั้งหมดไปรวมกันที่สาขามาบุญครองสาขาเดียว ต่อมาใน พ.ศ. 2558 ทางโตคิวเองก็พยายามขยายสาขาที่ 2 ไปที่ ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค โดยร่วมทุนกับสยามพิวรรธน์ในชื่อ บริษัท พีที รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด แต่ก็ต้องปิดตัวไปในเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากธุรกิจขาดทุนสะสม

ในที่สุดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563 สำนักข่าวนิคเคอิ รายงานว่า ห้างสรรพสินค้าโตคิว เตรียมปิดกิจการสาขาสุดท้ายของโตคิว ณ ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ในช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากการระบาดของโรคโควิด-19 รวมกับสภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น[5] โดยโตคิวยืนยันข่าวในวันเดียวกัน นั่นคือจะห้างสรรพสินค้าจะปิดให้บริการในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งยกเลิกโครงการบัตรสมาชิกสะสมแต้มไปพร้อมกัน โตคิวได้ปิดให้บริการลงในเวลา 21.00 น. ของวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยมีผู้บริหารและพนักงานร่วมอำลาผู้เข้าใช้บริการโดยพร้อมเพรียงกัน[6]

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี จนถึง พ.ศ. 2563 ของบริษัท กรุงเทพ-โตคิว สรรพสินค้า จำกัด ก่อนการปิดให้บริการ พบว่าขาดทุนสะสม 670 ล้านบาท จึงทำให้คาดว่าเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้โตคิวตัดสินใจถอนทุนในประเทศไทย[7]

อ้างอิง แก้

  1. Itakashi, Fuji (21 Jan 2020). "A special exhibition that looks back on memories of Tokyu Toyoko store in 1985". Shibuya Bunka Project. สืบค้นเมื่อ 4 Mar 2020.
  2. Changsorn, Pichaya (19 June 2015). "PT Retail opens new Tokyu store for suburban shoppers". The Nation (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-13. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  3. Jitpleecheep, Pitsinee (5 August 2014). "Tokyu announces new branch at Paradise Park". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  4. "เจริญฮุบที่ดินโรบินสันรัชดา ปั้นศูนย์การค้ายักษ์-โรงแรม". www.sanook.com/money.
  5. Bangkok's Tokyu store to close in latest exit by Japanese retailer
  6. ปิดฉาก 35 ปี บอกลา ‘ห้างโตคิว สาขา MBK’ จับตา ‘ดองกิ’ หนึ่งในผู้เช่ารายใหม่ คาดเปิดปลายไตรมาส 3
  7. ปิดฉาก 35 ปี บอกลา ‘ห้างโตคิว สาขา MBK’ จับตา ‘ดองกิ’ หนึ่งในผู้เช่ารายใหม่ คาดเปิดปลายไตรมาส 3

แหล่งข้อมูลอื่น แก้