ยอเซ็ฟ ติซอ (สโลวัก: Jozef Tiso; 13 ตุลาคม ค.ศ. 1887 – 18 เมษายน ค.ศ. 1947) เป็นนักบวชโรมันคาทอลิกชาวสโลวักและนักการเมืองจากพรรคประชาชนสโลวัก ระหว่างปี ค.ศ. 1939–1945 ติซอเป็นผู้นำของสาธารณรัฐสโลวักที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐบริวารของเยอรมนีนาซี และยังคงปฏิบัติตนเป็นนักบวชตลอดอาชีพนักการเมืองของเขา เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ศาลแห่งชาติเชโกสโลวาเกียได้พิพากษาลงโทษแขวนคอติซอในข้อหากบฏซึ่งยังรวมถึงอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ยอเซ็ฟ ติซอ
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวักที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม 1939 – 3 เมษายน 1945
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งเขตปกครองตนเองสโลวัก
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม 1939 – 9 มีนาคม 1939
ก่อนหน้ายอเซ็ฟ ติซอ
ถัดไปยอเซ็ฟ ซิวาก
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การดูแลทางสังคม และสาธารณสุขแห่งเขตปกครองตนเองสโลวัก
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม 1938 – 20 มกราคม 1939
ก่อนหน้ายอเซ็ฟ ติซอ
ถัดไปยอเซ็ฟ ติซอ
นายกรัฐมนตรัและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแห่งเขตปกครองตนเองสโลวัก
ดำรงตำแหน่ง
7 ตุลาคม 1938 – 1 ธันวาคม 1938
ก่อนหน้าจัดตั้งตำแหน่ง
ถัดไปยอเซ็ฟ ติซอ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขศึกษาและพลศึกษาแห่งเชโกสโลวาเกีย
ดำรงตำแหน่ง
27 มกราคม 1927 – 8 ตุลาคม 1929
ก่อนหน้ายัน ชราเม็ก
ถัดไปยัน ชราเม็ก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม ค.ศ. 1887(1887-10-13)
บิตชา (น็อจบิตส์แช)
เทศมณฑลเตร็นชีน, ราชอาณาจักรฮังการี, ออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต18 เมษายน ค.ศ. 1947(1947-04-18) (59 ปี)
บราติสลาวา, เชโกสโลวาเกีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคประชาชนสโลวัก
วิชาชีพนักการเมือง, นักบวช, บาทหลวงโรมันคาทอลิก
ลายมือชื่อ

เขาเกิดในปี ค.ศ. 1887 จากครอบครัวชาวสโลวักในบิตชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ติซอได้ศึกษาหลายภาษาในช่วงชีวิตการเรียน รวมทั้งภาษาฮิบรูและภาษาเยอรมัน เขาได้รับการแนะนำให้กับพระนักบวชตั้งแต่อายุยังน้อยและช่วยต่อสู้กับความยากจนในท้องถิ่นและโรคพิษสุราเรื้อรังในสโลวาเกียยุคปัจจุบัน เขาได้เข้าร่วมพรรคประชาชนชาวสโลวัก(Slovenská ľudová strana) ในปี ค.ศ. 1918 และกลายเป็นหัวหน้าพรรคในปี ค.ศ. 1938 ภายหลังจากการเสียชีวิตลงของนาย Andrej Hlinka เมื่อนาซีเยอรมนีเข้ายึดอำนาจในเชโกสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1938 และส่วนดินแดนของเช็กได้กลายเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 สมัชชาแห่งชาติสโลวักในบราติสลาวาได้มีมติในการออกกฏหมายที่ 1/1939 อย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งได้เปลี่ยนจากเขตปกครองตนเองสโลวักของสาธารณรัฐ(จนกระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกีย)กลายเป็นประเทศเอกราช ยอเซ็ฟ ติซอ ผู้ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเขตปกครองตนเองสโลวัก(ภายใต้กฏหมายเชโกสโลวาเกีย) กลายเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสโลวัก และในเดือนตุลาคม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

ติซอได้ให้ความร่วมมือกับเยอรมนีในการขับไล่เนรเทศชาวยิว ซึ่งได้ขับไล่เนรเทศชาวยิวเชื้อสายสโลวักจำนวนมากไปยังค่ายกักกันและค่ายมรณะในเยอรมนีและโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน ในขณะที่มีชาวยิวบางคนในสโลวาเกียถูกสังหารโดยทันที การขับไล่เนรเทศได้ดำเนินเสร็จสิ้นในระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1942 จนถึง 20 ตุลาคม ค.ศ. 1942 การก่อการกำเริบของพลพรรคต่อต้นลัทธิฟาสซิสต์ได้เริ่มต้นขึ้นจนนำไปสู่การก่อการกำเริบชาติสโลวาเกียในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1944 ซึ่งได้ถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยเจ้าหน้าที่ทหารเยอรมัน ซึ่งมีผู้นำหลายคนถูกประหารชีวิต ดังนั้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1944 การขับไล่เนรเทศชาวยิวยังคงดำเนินต่อไป ด้วยจำนวนผู้ถูกเนรเทศเพิ่มเติมเป็นจำนวน 13,500 คน

เมื่อกองทัพแดงของโซเวียตได้เข้ายึดครองส่วนสุดท้ายของสโลวาเกียตะวันตกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ติซอได้หลบหนีไปยังออสเตรียและต่อจากนั้นที่เยอรมนี ซึ่งทหารอเมริกันจับกุมเขาได้และถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปยังเชโกสโลวาเกียที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาทรยศต่อการก่อการกำเริบและผู้ที่ให้ความร่วมมือ และก็ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี ค.ศ. 1947 และถูกฝังศพในบราติสลาวา ในปี ค.ศ. 2008 ศพของเขาได้ถูกย้ายไปฝังอยู่ในห้องฝังศพใต้ดินซึ่งเป็นที่ยอมรับของมหาวิหารคาทอลิกในนิตรา สโลวาเกีย