ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การนิยามหน่วยฐานเอสไอใหม่ พ.ศ. 2562"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด (CGPM) ค...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:25, 26 พฤศจิกายน 2561

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด (CGPM) ครั้งที่ 26 ออกเสียงเป็นเอกฉันท์สนับสนุนบทนิยามใหม่ของหน่วยฐานเอสไอ ซึ่งคณะกรรมการชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (CIPM) เสนอมาในปีเดียวกันก่อนหน้านี้ บทนิยามใหม่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562

หน่วยกิโลกรัม แอมแปร์ เคลวินและโมลจะใช้นิยามใหม่ซึ่งใช้ค่าจำนวนที่แน่ชัดจากค่าคงตัวพลังค์ (h) ประจุไฟฟ้ามูลฐาน (e) ค่าคงตัวบ็อลทซ์มัน (k) และค่าคงตัวอาโวกาโดร (NA) ตามลำดับ หน่วยเมตรและแคนเดลา (แรงเทียน) ซึ่งนิยามด้วยค่าคงตัวทางฟิสิกส์แล้ว มีการปรับให้เข้ากับบทนิยามปัจจุบัน บทนิยามใหม่มุ่งปรับปรุงหน่วยเอสไอโดยไม่เปลี่ยนขนาดของหน่วยใด ๆ ฉะนั้นจึงรับประกันว่าการวัดเดิมจะใช้ได้ต่อเนื่อง

เดิมระบบเมตริกรู้กันว่าเป็นระบบการวัดซึ่งได้มาจากปรากฏการณ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ข้อจำกัดทางเทคนิคก่อให้เกิดความจำเป็นในการใช้สิ่งทำขึ้น (เมตรต้นแบบและกิโลกรัมต้นแบบ) เมื่อระบบเมตริกมีการริเริ่มในฝรั่งเศสในปี 2342 แม้ระบบถูกออกแบบมาให้มีเสถียรภาพในระยะยาว แต่ปรากฏว่ามวลของต้นแบบเหล่านี้มีการผันแปรเล็กน้อยตามเวลาเมื่อเทียบกันและกัน และคิดว่าไม่เพียงพอสำหรับวิทยาศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแสวงหาสิ่งทดแทนที่เหมาะสม