ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มาลาเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 225:
 
=== วัคซีน ===
ภูมิคุ้มกันต่อมาลาเรีย ''P. falciparum'' เกิดเองตามธรรมชาติได้ แต่เฉพาะหลังการติดเชื้อซ้ำ ๆ หลายปี<ref name="Tran 2012"/> ปัจเจกบุคคลสามารถมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ ''P. falciparum'' หากถูกยุงที่นำปรสิตฉบับที่ถูกการฉายรังสีเอกซ์ขนาดหนึ่งทำให้ไม่ติดเชื้อกัดประมาณหนึ่งพันครั้ง<ref name="Hill 2011"/> ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนซึ่งมีประสิทธิภาพสำหรับมาลาเรีย แม้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนหลายตัว<ref name="Geels 2011"/> ธรรมชาติพหุสัณฐานอย่างสูงของโปรตีน ''P. falciparum'' หลายตัวส่งผลให้เป็นความท้าทายสำคัญในการออกแบบวัคซีน วัคซีนที่มีให้เลือกซึ่งมีเป้าหมายยังเซลล์สืบพันธุ์ ไซโกตและโอโอไคนีตในทางเดินอาหารส่วนกลางของยุงมุ่งหมายเพื่อหยุดการส่งผ่านมาลาเรีย วัคซีนหยุดการส่งผ่านเหนี่ยวนำ[[แอนติบอดี]]ในเลือดมนุษย์ เมื่อยุงดูดเลือดจากปัจเจกบุคคลที่มีภูมิคุ้มกัน แอนติบอดีเหล่านี้ป้องกันปรสิตมิให้สำเร็จการเจริญในยุง<ref name="Cromptom 2010"/> วัคซีนที่มีให้เลือกอื่น ซึ่งมุ่งเป้าระยะเลือดของวงจรชีวิตของปรสิต ไม่เพียงพอในตัวมันเอง<ref name="Graves 2006b"/> ตัวอย่างเช่น มีการทดสอบ SPf66 ในพื้นที่ซึ่งพบโรคทั่วไปในคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่การทดลองแสดงว่ามันให้ผลไม่เพียงพอ<ref name="Graves 2006"/> กำลังมีการพัฒนาวัคซีนซึ่งมีศักยภาพหลายตัวที่มุ่งเป้าระยะก่อนเม็ดเลือดแดงของวงจรชีวิตของปรสิต โดยมี RTS,S เป็นตัวเลือกนำ<ref name="Hill 2011"/> คาดว่าจะได้ใบอนุญาตในปี ค.ศ. 20152558<ref name="Riley 2013"/> บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ซานาเรีย กำลังพัฒนาวัคซีนทำให้อ่อนฤทธิ์ก่อนเม็ดเลือดแดง เรียก PfSPZ ซึ่งใช้สปอโรซอยต์ทั้งตัวเพื่อชักนำการสนองของภูมิคุ้มกัน<ref name="Hoffman 2010"/> ในปี ค.ศ. 20062549 คณะกรรมการที่ปรึกษาวัคซีนมาลาเรียขององค์การอนามัยโลกร่าง "แผนเทคโนโลยีวัคซีนมาลาเรีย" ซึ่งมีวัตถุประสงค์จุดหลักหนึ่งเพื่อ "พัฒนาและออกใบอนุญาตวัคซีนมาลาเรียรุ่นแรกซึ่งมีประสิทธิพลังป้องกันโรครุนแรงและการเสียชีวิตกว่า 50% และคงอยู่นานกว่าหนึ่งปี" ภายในปี ค.ศ. 20152558<ref name="Roadmap 2006"/>
 
=== ยารักษาโรค ===