ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอโซโพรพานอล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Char (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{chembox | Watchedfields = changed | verifiedrevid = 477002700 | Name = Isopropyl alcohol | ImageFileL1 = 2-Propanol.svg | ImageNameL1 = Skeletal formula of isopropy...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:37, 5 มีนาคม 2558

ไอโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือ 2-โพรพานอล (2-Propanol) หรือโพรพาน-2-ออล (Propan-2-ol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ มักใช้ผสมกับอะซีโทนหรือน้ำกลั่นโดยให้แอลกอฮอล์มีปริมาณ 70% โดยปริมาตร เป็นของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นรุนแรง และเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับ1-โพรพานอล จะต่างกันตรงที่มีหมู่ไฮดรอกซิล ต่อที่คาร์บอนตัวที่สองแทนที่จะเป็นปลาย

Isopropyl alcohol
Skeletal formula of isopropyl alcohol
Skeletal formula of isopropyl alcohol
Ball-and-stick model of isopropyl alcohol
Ball-and-stick model of isopropyl alcohol
ชื่อ
IUPAC name
isopropyl alcohol
Preferred IUPAC name
2-Propanol
ชื่ออื่น
Propan-2-ol; Isopropanol; แอลกอฮอล์เช็ดแผล; sec-Propyl alcohol; s-Propanol; iPrOH; IPA
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.601 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
KEGG
RTECS number
  • NT8050000
UNII
UN number 1219
  • InChI=1S/C3H8O/c1-3(2)4/h3-4H,1-2H3 checkY
    Key: KFZMGEQAYNKOFK-UHFFFAOYSA-N checkY
  • CC(O)C
คุณสมบัติ
C3H8O
มวลโมเลกุล 60.096 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ Colorless liquid
ความหนาแน่น 0.786 g/cm3 (20 °C)
จุดหลอมเหลว −89 องศาเซลเซียส (−128 องศาฟาเรนไฮต์; 184 เคลวิน)
จุดเดือด 82.6 องศาเซลเซียส (180.7 องศาฟาเรนไฮต์; 355.8 เคลวิน)
miscible
ความสามารถละลายได้ ผสมกับ เบนซีน คลอโรฟอร์ม เอทานอล อีเทอร์ กลีเซอริน แล้วเข้ากันได้
ละลายได้ในอะซีโทน
ไม่ละลายในสารละลายไอออนิก
pKa 16.5[1]
1.3776
ความหนืด 2.86 cP at 15 °C
1.96 cP at 25 °C[2]
1.77 cP at 30 °C[2]
1.66 D (gas)
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
Flammable
GHS labelling:
The exclamation-mark pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) The flame pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)
อันตราย
H225, H319, H336
P210, P261, P305+P351+P338
NFPA 704 (fire diamond)
NFPA 704 four-colored diamondHealth 1: Exposure would cause irritation but only minor residual injury. E.g. turpentineFlammability 3: Liquids and solids that can be ignited under almost all ambient temperature conditions. Flash point between 23 and 38 °C (73 and 100 °F). E.g. gasolineInstability 0: Normally stable, even under fire exposure conditions, and is not reactive with water. E.g. liquid nitrogenSpecial hazards (white): no code
1
3
0
จุดวาบไฟ Open cup: 11.7 องศาเซลเซียส (53.1 องศาฟาเรนไฮต์)
Closed cup: 13 องศาเซลเซียส (55 องศาฟาเรนไฮต์)
ขีดจำกัดการระเบิด 2–12.7%
980 mg/m3 (TWA), 1225 mg/m3 (STEL)
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
3600 mg/kg (oral, mouse)
12800 mg/kg (dermal, rabbit)
LC50 = 53000 mg/m3 (inhalation, mouse)
NIOSH (US health exposure limits):
PEL (Permissible)
TWA 400 ppm (980 mg/m3)[3]
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ไอโซโพรพานอลผสมเข้ากับน้ำ อีเทอร์ และคลอโรฟอร์มได้ดี โดยเมื่อผสมกับน้ำแล้วจะเกิดเป็นสารกลั่นแยกไม่ได้ (azeotrope) สารนี้รับประทานไม่ได้ และมีจุดเยือกแข็งต่ำลง (คือ ช่วงอุณหภูมิที่เป็นของเหลวกว้างขึ้น)[4][5] นอกจากนี้ยังเป้นตัวทำละลายเอทิลเซลลูโลส โพลิไวนิลบิวทิรัล น้ำมัน อัลคาลอยด์ และยางไม้ได้[6] แต่ไม่ละลายในสารละลายเกลือ จึงทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายได้โดยเติมเกลือแกง โซเดียมซัลเฟต หรือเกลืออนินทรีย์อย่างอื่นเพื่อให้แอลกอฮอล์แยกชั้นออกมา[4] ไอโซไพรพานอลมีสภาพดูดกลืน ที่ 205 mm ภายใต้สเปกตรัมรังสีอัลตราไวโอเลต[7][8]

ไอโซโพรพานอลผลิตได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมน้ำเข้ากับโพรพีน จากกฎของมาร์คอฟนิคอฟซึ่งกล่าวว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะผนวกเข้ากับคาร์บอนที่มีไฮโดรเจนมากกว่าเสมอ จึงทำให้เกิดไอโซโพรพานอล มากกว่าที่จะเป็น 1-โพรพานอล หรืออาจจะใช้ปฏิกิริยาของโพรพีนกับกรดซัลฟิวริก ให้ให้เกิดซัลเฟตเอสเทอร์ ที่เมื่อสลายด้วยน้ำแล้วจะได้ไอโซโฟรพิลแอลกอฮอล์ ในกระบวนการอย่างหลังจะมีไดไอโซโพรพิลอีเทอร์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง นอกจากนี้ ไอโซโพรพานอลยังผลิดได้โดยเติมไฮโดรเจนลงในอะซีโทนก็ได้[9][10]

ไอโซโพรพานอลถูกนำไปใช้งานมากมาย อาทิ เป็นตัวทำละลายประสิทธิภาพสูงและมีพิษน้อยกว่าตัวทำละลายชนิดอื่น ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์[11] และใช้ผสมน้ำ 60 - 75% เพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น รอบบาดแผล หรือล้างมือ หากไม่ผสมน้ำ เยื้อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียจะไม่เปิดออกเพื่อให้แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ได้[12]


อ้างอิง

  1. Reeve, W.; Erikson, C.M.; Aluotto, P.F. (1979). "A new method for the determination of the relative acidities of alcohols in alcoholic solutions. The nucleophilicities and competitive reactivities of alkoxides and phenoxides". Can. J. Chem. 57 (20): 2747. doi:10.1139/v79-444.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Yaws, C.L. (1999). Chemical Properties Handbook. McGraw-Hill. ISBN 0-07-073401-1.
  3. NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0359". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  4. 4.0 4.1 The Merck Index (10th ed.). Rahway, NJ: Merck & Co. 1983. p. 749.
  5. Logsden, John E.; Loke, Richard A (1999). "Propyl Alcohols". ใน Jacqueline I., Kroschwitz (บ.ก.). Kirk-Othmer Concise Encylclopedia of Chemical Technology, (4th ed.). New York: John Wiley & Sons, Inc. pp. 1654–1656. ISBN 978-0471419617.
  6. Doolittle, Arthur K. (1954). The Technology of Solvents and Plasticizers. New York: John Wiley & Sons, Inc. p. 628.
  7. "Isopropyl Alcohol, UltimAR, Suitable for Liquid Chromatography, Extract/Conc, UV-Spectrophotometry". VWR International. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  8. "UV Cutoff" (PDF). University of Toronto. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
  9. Papa, A. J., "Propanols", Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, Weinheim: Wiley-VCH, doi:10.1002/14356007.a22_173
  10. Logsdon, John E. and Loke, Richard A. (December 4, 2000). "Isopropyl Alcohol". Kirk‑Othmer Encyclopedia of Chemical Technology. John Wiley & Sons, Inc.{{cite encyclopedia}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Market Study Solvents, Ceresana, published Apr 2012
  12. "Guide to Local Production: WHO-recommended Handrub Formulations" (PDF). World Health Organization. August 2009.