ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การ์ตูนล้อการเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: [[ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg|thumb|200px|ภาพการ์ตูนล้อ [[พระ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:10, 5 มีนาคม 2553

การ์ตูนล้อการเมือง (อังกฤษ: Political Cartoon) หรือ การ์ตูนบรรณาธิการ (Editorial Cartoon) คือ ภาพการ์ตูนที่วาดและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์, นิตยสาร โดยมีเนื้อหาล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์สภาพสังคม, เศรษฐกิจและการเมือง จุดประสงค์เพื่อความสนุกสนานและความขบขัน ในบางครั้งอาจสอดแทรกถึงวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ จะมีคำบรรยายหรือไม่มีก็ได้ โดยนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองนั้น ถือว่า เป็นคอลัมนิสต์หรือบรรณาธิการคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ เรียกว่า การ์ตูนนิสต์ (Cartoonist)

ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg
ภาพการ์ตูนล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ฝีพระหัตถ์โดย รัชกาลที่ 6 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรก ๆ ของไทย

การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษ ชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757-ค.ศ. 1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น

สำหรับในประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย ยิ่งโดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

การ์ตูนนิสต์การเมืองคนแรกของไทยคือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดภาพที่ยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศ วาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญ ๆ ในยุคนั้น

นอกจากนี้แล้วชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยสนับสนุนให้ นักเขียนการ์ตูน วาดภาพการ์ตูนลงใน หนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์

จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การ์ตูนนิสต์วาดภาพล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฎหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อ ปี พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ไฟล์:ทุ่งหมาเมิน.jpg
การ์ตูนล้อการเมือง ในคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน โดย ชัย ราชวัตร ที่นับว่าเป็นการ์ตูนนิสต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของไทยในยุคปัจจุบัน

ยุคทองของการ์ตูนล้อการเมืองไทย เริ่มต้นหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เมื่อมีหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นใหม่อีกหลายฉบับ ทำให้มีการ์ตูนนิสต์การเมืองที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นอีกหลายคน เช่น ชัย ราชวัตร กับคอลัมน์ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในไทยรัฐ, หมื่น (ชูชาติ หมื่นอินกุล) ในเดลินิวส์, อรุณ วัชระสวัสดิ์ ในกรุงเทพธุรกิจและThe Nation, เซีย ไทยรัฐ ในไทยรัฐ, อู้ดด้า เป็นต้น

การ์ตูนนิสต์ล้อการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคนของไทย ในปัจจุบัน ได้แก่ ชัย ราชวัตร ในไทยรัฐ, ขวด เดลินิวส์ ในเดลินิวส์, แอ๊ด ในไทยโพสต์, เซีย ไทยรัฐ ในไทยรัฐ, หมอ ในกรุงเทพธุรกิจ เป็นต้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง