การนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิ คือการฝึกปฏิบัติใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ และแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบ ความรู้สึกตัว หรือมีสติ[1] ในมุมมองของชาวตะวันตก มักใช้คำว่า "Concentration" และ "Meditation" ที่สื่อถึงการทำสมาธิให้จิตใจสงบ[2]

การทำสมาธินั้นถูกปฏิบัติมาประมาณพันปี โดยแรกเริ่มจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทางศาสนา ซึ่งปัจจุบันการทำสมาธินั้นได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ [1]

การนั่งสมาธิในทางพระพุทธศาสนานอกจากต้องการความสงบหรือประโยชน์อื่น ๆ แล้วยังมีจุดประสงค์ในด้านการวิปัสสนา เช่น อานาปานสติ ที่สอนให้พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก และตระหนักรู้ถึงปัจจุบันขณะอยู่ตลอดเวลา หากฝึกนั่งสมาธิไปเรื่อยๆก็จะมีการแบ่งขั้นกรรมฐานต่าง ๆ[2]

ความหมาย

ความหมายในเชิงลักษณะผล

สมาธิคืออาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน[3]

ความหมายในเชิงลักษณะการปฎิบัติ

สมาธิคือความตั้งมั่นของจิตหรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง[4] หรือตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน[5]

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ

การทำสมาธิเป็นการลดความเครียด คลายความวิตกกังวล ฝึกความอดทน และช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น[2] และยังช่วยเพิ่มเซลล์ประสาทในสมองในส่วนการควบคุมและการตอบสนองทางอารมณ์ [6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ - พบแพทย์". Pobpad. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 "วิธีฝึกนั่งสมาธิแบบพื้นฐาน ทำจิตใจให้สงบ มีประโยชน์กว่าที่คิด". www.thairath.co.th. 18 May 2021.
  3. พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว). (2545). พระแท้. ปทุมธานี. หน้า 210.
  4. พระราชภาวนาวิสุทธิ์. (2537). บทพระธรรมเทศนา วันอาทิตย์ต้นเดือน. ปทุมธานี.
  5. "การฝึกสมาธิเบื้องต้น". thaihealth. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
  6. "5 ประโยชน์จากการทำสมาธิ เพื่อสุขภาพใจที่ดีของคุณ". generali.co.th. generali. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.

หมวดหมู่:สมาธิ หมวดหมู่:ศาสนา หมวดหมู่:คำศัพท์ศาสนา