พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุเอเชียตะวันออก

พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุเอเชียตะวันออก (สวีเดน: Östasiatiska museet; อังกฤษ: Museum of Far Eastern Antiquities) ตั้งอยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรสวีเดนใน พ.ศ. 2469 โดยร่วมมือกับยูฮัน กุนนาร์ อันแดร์สัน (พ.ศ. 2417–2503) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ อาคารพิพิธภัณฑ์มีชื่อว่าทิกฮูเซตตั้งอยู่ที่ เชปป์โฮล์มเมน และพิพิธภัณฑ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของ หน่วยงานพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโลกแห่งชาติสวีเดน ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ร่วมกับพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโลก พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วรรณนา และพิพิธภัณฑ์เมดิเตอร์เรเนียน

พิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุเอเชียตะวันออก
Östasiatiska museet
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2469
ที่ตั้งสต็อกโฮล์ม สวีเดน
พิกัดภูมิศาสตร์59°19′37″N 18°04′55″E / 59.327°N 18.082°E / 59.327; 18.082
จำนวนผู้เยี่ยมชม74,082 คน (พ.ศ. 2560)
ผู้อำนวยการแอน ฟูลิน
เว็บไซต์www.ostasiatiskamuseet.se

ภาพรวม แก้

แต่เดิมพิพิธภัณฑ์มีรากฐานมาจากการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในประเทศจีนของอันแดร์สันในช่วง พ.ศ. 2463–2472 ซึ่งวัตถุต่าง ๆ มาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกที่ยังไม่ทราบที่มาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ พิพิธภัณฑ์มีของสะสมหลากหลายจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย และจีน[1] มีการจัดแสดงนิทรรศการโบราณคดี ศิลปะแบบดั้งเดิม และวัฒนธรรมร่วมสมัย และเปิดให้สาธารณชนได้เข้าถึงห้องสมุดค้นคว้าวิจัยขนาดใหญ่ ครั้งสุดท้ายที่พิพิธภัณฑ์เผยแพร่สารบัญรายการวัตถุคือ พ.ศ. 2506 พิพิธภัณฑ์ยังเผยแพร่วารสารรายปีเกี่ยวกับงานวิจัยหัวข้อเอเชียตะวันออกยุคโบราณที่มีชื่อว่า แถลงการณ์ของพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุเอเชียตะวันออก (Bulletin of the Museum of Far Eastern Antiquities[1])

ประวัติและตัวอาคาร แก้

ประวัตศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2469 เมื่อชุดของสะสมจากเอเชียตะวันออกในพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุเอเชียตะวันออกได้ก่อตั้งขึ้นในฐานะพิพิธภัณฑ์แห่งชาติโดยการริเริ่มของคณะกรรมธิการประเทศจีน ชุดของสะสมที่เป็นแก่นหลักของพิพิธภัณฑ์ได้รับการนำกลับมาที่ประเทศสวีเดนโดยกุสตาฟ กุนนาร์ อันแดร์สัน[1]

อาคารหลักของพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารเก็บปืนใหญ่เก่าของกองทัพเรือที่สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2242–2247[2] เพื่อเป็นโรงม้าขององครักษ์ในพระเจ้าคาร์ลที่ 12 อาคารออกแบบโดยสถาปนิกชื่อว่า นิโคเดมุส เทสซิน[2] ปีกอาคารทางทิศใต้สร้างใน พ.ศ. 2267–2271 และตกแต่งให้เป็นโรงเก็บเรือไปจนถึงปืนใหญ่จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงปืนใหญ่ ในกลางศตวรรษที่ 19 มีการต่อเติมเพิ่มอีกหนึ่งชั้นซึ่งออกแบบโดยกุสตาฟ อดอล์ฟ โบลม และได้กลายมาเป็นอาคารในรูปแบบปัจจุบันใน พ.ศ. 2460 และโถงด้านในได้รับการบูรณะในช่วง พ.ศ. 2503–2506

ของสะสม แก้

พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาของสะสมไว้ราว 100,000 ชิ้น จุดสำคัญคือโบราณคดีและศิลปะจากประเทศจีน และยังสะสมวัตถุจากประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับมาผ่านการซื้อขายและการบริจาค พิพิธภัณฑ์มีห้องสมุดเอเชียตะวันออกขนาดใหญ่ที่เก็บรักษาหนังสือจากห้องสมุดหลวงและห้องสมุดมหาวิทยาสต็อกโฮล์ม

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เก็บรักษาของสะสมจากประเทศไทยจำนวน 140 ชิ้นโดยประมาณ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นจากสวรรคโลก วัตถุหลายชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของชุดของสะสมโดยจอร์จ ฟอน เบเคซี ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะเอเชียและนักสะสมศิลปะ เบเคซีได้บริจาคชุดของสะสมทั้งหมดของตนให้แก่มูลนิธิโนเบลเมื่อเสียชีวิตใน พ.ศ. 2515

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Om museet". Östasiatiska museet (ภาษาสวีเดน).
  2. 2.0 2.1 "Östasiatiska museet i Tyghuset". SFV (ภาษาสวีเดน).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้