พิพิธภัณฑ์มูเตอร์

พิพิธภัณฑ์มูเตอร์ (อังกฤษ: Mütter Museum, /ˈmtər/) เป็นพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ในย่านเซ็นเตอร์ซิตีของเมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ภายในพิพิธภัณฑ์มีงานสะสมอย่างชิ้นส่วนทางกายวิภาคศาสตร์และพยาธิวิทยา, รูปหล่อขี้ผึ้ง และเครื่องมือแพทย์โบราณเป็นต้น พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย ของสะสมเริ่มแรกเป็นของที่นายแพทย์ทอมัส เด็นต์ มูเตอร์ (Thomas Dent Mütter) บริจาคในปี ค.ศ. 1858 เพื่อให้เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและงานวิจัยทางการแพทย์[2]

พิพิธภัณฑ์มูเตอร์
พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย
แผนที่
ก่อตั้งค.ศ. 1863 (1863) (ที่ตั้งเดิม)
ค.ศ. 1909 (1909) (ที่ตั้งปัจจุบัน)
ที่ตั้ง19 S. 22nd Street
ฟิลาเดลเฟีย
พิกัดภูมิศาสตร์39°57′12″N 75°10′36″W / 39.95333°N 75.17667°W / 39.95333; -75.17667
ประเภทพิพิธภัณฑ์การแพทย์
ขนาดผลงาน25,000+[1]
จำนวนผู้เยี่ยมชม180,000+
ผู้ก่อตั้งทอมัส เด็นต์ มูเตอร์
ประธานGeorge Wohlreich (ประธานบริหารวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย)
ภัณฑารักษ์แอนนา โดดี
เจ้าของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย
ขนส่งมวลชน 22nd Street: ข้อผิดพลาด Lua: expandTemplate: template "SEPTA color" does not exist Bus transport SEPTA bus: แม่แบบ:SEPTA bus link
Bus transport Philly PHLASH (at 20th and Market streets)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ของสะสม แก้

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์อ้างว่ามีวัตถุในสะสมทั้งหมดมากกว่า 20,000 ชิ้น แต่มีเพียงราว 13% เท่านั้นที่นำจัดแสดงถาวร นอกจากนี้ยังมีงานสะสมจำพวกวรรณกรรมและคู่มือทางการแพทย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทย์ฟิลาเดลเฟีย

กระดูกและโครงกระดูก แก้

พิพิธภัณฑ์มีชิ้นส่วนทางกระดูกราว 3,000 ชิ้น ในจำนวนนี้รวมถึงโครงกระดูกมนุษย์จำนวนหนึ่งด้วย ในบรรดากระดูกมนุษย์ที่จัดแสดงมีชิ้นที่มีเชื่อเสียงคือโครงกระดูกของแฮร์รี เรย์มันด์ อีสต์แล็ก และแครอล ออร์เซิล ผู้ป่วยด้วยโรค FOP, โครงกระดูกมนุษย์ยักษ์อเมริกันที่มูเตอร์ (The Mütter American Giant) โครงกระดูกมนุษย์ที่ตัวสูงที่สุดที่จัดแสดงในอเมริกาเหนือ ด้วยความสูง 228.6 เซนติเมตร และชุดงานสะสมกะโหลกศีรษะมนุษย์ของเฮียร์เทิล (The Hyrtl Skull Collection) ซึ่งประกอบด้วยกะโหลกศีรษะมนุษย์รวม 139 ชิ้น ของสะสมโดยโยเซ็ฟ เฮียร์เทิล นักกายวิภาคศาสตร์ชาวออสเตรีย

ตัวอย่างเปียก แก้

พิพิธภัณฑ์มีของสะสมเป็นตัวอย่างเปียก (wet specimen) ราว 1,500 ชิ้น ซึ่งสะสมมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างชิ้นสำคัญ เช่น ความผิดปกติของร่างกาย, ถุงน้ำ, เนื้องอก จากแทบทุกอวัยวะของร่างกาย

ของสะสมชิ้นอื่น ๆ แก้

ของสะสมที่มีชื่อเสียงชิ้นอื่น ๆ ของพิพิธภัณฑ์ได้แก่:

อ้างอิง แก้

  1. "FAQ". The Mütter Museum. สืบค้นเมื่อ 11 December 2014.
  2. "The Mütter Museum". The Mütter Museum. The College of Physicians of Philadelphia. สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้