แฝดติดกัน

(เปลี่ยนทางจาก แฝดสยาม)

แฝดติดกัน (อังกฤษ: Conjoined twins) คือ แฝดร่วมไข่ซึ่งมีร่างกายติดกันมาแต่กำเนิด แฝดติดกันมีโอกาสในการเกิดตั้งแต่ 1 ใน 50,000 คน ถึง 1 ใน 200,000 คน โดยพบมากในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกา[1] ประมาณครึ่งหนึ่งของแฝดติดกันเสียชีวิตตั้งแต่ตอนคลอด และอีกส่วนหนึ่งรอดชีวิตจากการคลอดแต่มีความผิดปกติทางร่างกาย โอกาสรอดชีวิตโดยรวมของแฝดติดกันมีประมาณร้อยละ 25[2] ประมาณร้อยละ 70 - 75 ของแฝดติดกันเป็นเพศหญิง

แฝดติดกัน
(Conjoined twins)
ภาพวาดฝาแฝดอิน-จัน บังเกอร์ ราว ค.ศ. 1836
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10O33.7, Q89.4
ICD-9759.4
DiseasesDB34474
eMedicineped/2936
MeSHD014428

มีทฤษฏี 2 ทฤษฎีที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการเกิดแฝดติดกัน ทฤษฎีที่เก่าแก่และเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดคือ การแบ่งแยกตัว (fission) หมายถึง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแยกออกจากกันไม่สมบูรณ์ ทฤษฎีที่สอง คือ การหลอมรวม (fusion) หมายถึง ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแยกออกจากกันได้สมบูรณ์ แต่เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) ไปเจอกับเซลล์ต้นกำเนิดที่เหมือนกันในแฝดอีกคนหนึ่ง และหลอมรวมแฝดทั้งสองเข้าด้วยกัน

แฝดติดกันที่มีชื่อเสียงที่สุดน่าจะเป็นแฝดสยามอิน-จัน (พ.ศ. 2354 - 2417) ที่รู้จักกันในชื่อ "แฝดสยาม" (Siamese Twins) อิน-จันมีลำตัวติดกันตั้งแต่หน้าอกและใช้ตับร่วมกัน การผ่าตัดแยกแฝดติดกันแบบอิน-จันสามารถทำได้ค่อนข้างง่ายในปัจจุบัน[3]

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.scielo.br/scielo.php?pid=S1807-59322006000200013&script=sci_arttext
  2. The craniopagus malformation: classification and implications for surgical separation. James L. Stone and James T. Goodrich. Brain 2006 129 (5) :1084-1095 Abstract and free fullt text PDF
  3. http://www.bbc.co.uk/dna/h2g2/alabaster/A369434

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้