พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ (พ.ศ. 2558)

พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ เป็นที่รู้จักในประเทศฟิลิปปินส์ในชื่อ พายุไต้ฝุ่นฮันนา เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงมากเป็นอันดับสามของโลกในขณะนั้น โดยอยู่อันดับหลังจากพายุเฮอริเคนแพทริเซียและพายุไซโคลนแพม พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์มีผลกระทบอย่างมากในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เกาะไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออก มีผู้เสียชีวิต 40 คน ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้และประเทศฟิลิปปินส์จะมีผลกระทบที่น้อยกว่า โดยพายุเซาเดโลร์เป็นพายุที่สิบสามประจำปีฤดูพายุไต้ฝุ่นปีพ.ศ. 2558 พายุเซาเดโลร์เริ่มแรกเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่ใกล้เกาะโปนเป ในวันที่ 29 กรกฎาคม. พายุนั้นค่อยๆทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ และทวีขึ้นอย่างรวดเร็วในวันที่ 2 สิงหาคมและในวันต่อมาได้ขึ้นฝั่งที่ไซปัน สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก จากการที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยพายุไต้ฝุ่นได้ทวีความรุนแรงขึ้นและถึงจุดสูงสุดด้วยอัตราเร็วลมที่สิบนาทีได้ 215 กม. / ชม. (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และวัดความกดอากาศที่ 900 hPa (mbar; 26.58 inHg) ในวันที่ 3 สิงหาคม ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นร่วมประเมินอัตราเร็วลมที่หนึ่งนาทีได้ 285 กม. / ชม. (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้ พายุเซาเดโลร์เป็นพายุไต้ฝุ่นซุปเปอร์หมวด 5 หลังจากนั้นพายุก็อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องขณะที่เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ พายุเซาเดโลร์ได้ขึ้นฝั่งที่ฮฺวาเหลียน ไต้หวันในวันที่ 7 สิงหาคม ไม่นานหลังจากนั้นพายุไต้ฝุ่นได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่จีนตะวันออกและสลายไปเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 9 สิงหาคม

พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ที่จุดแรงสุดในวันที่ 4 สิงหาคม
ก่อตัว 29 กรกฎาคม 2558
สลายตัว 12 สิงหาคม 2558
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต รวม 59
ความเสียหาย 4.089 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2015)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

พายุเซาเดโลร์เป็นพายุที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองในด้านการสร้างความเสียหายกับไซปันในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในรอบเกือบ 30 ปี บ้านหลายร้อยหลังได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายและคาดว่าจะใช้เวลากว่าหนึ่งเดือนในการฟื้นฟู มีผู้เสียชีวิตสองคนในกวม ในไต้หวันเกิดฝนตกหนักและลมแรง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง มี 4.85 ล้านครัวเรือนที่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 คนและบาดเจ็บอีก 420 คน คนที่เก้าเสียชีวิตในเหตุการณ์พายุ ส่วนทางทิศตะวันออกของจีนเกิดฝนตกหนักที่สุดในรอบ 100 ปีส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ได้ทำให้คนจำนวน 45 คนในภาคตะวันออกของจีนเสียชีวิต หลังจากส่วนหนึ่งของประเทศถูกฝนตกหนักที่สุดในรอบศตวรรษ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดนับเป็น 24.627 พันล้านเยน (3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[1]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

  • วันที่ 28 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล[2]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม และมันยังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 30 กรกฎาคม JTWC จึงเริ่มประกาศเตือนพายุและใช้รหัสเรียกขาน 13W ในขณะที่ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เซาเดโลร์[3] และเซาเดโลร์เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความรุนแรงและเมฆครึ้มหนาแน่นที่บดบังศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำ และยังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ลมเฉือนแนวตั้งในระดับต่ำ, อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ 31 - 32°ซ และความร้อนในมหาสมุทรระดับสูง[4]
  • วันที่ 1 สิงหาคม JMA จึงปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่เซาเดโลร์ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 2 สิงหาคม สองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 3 สิงหาคม เซาเดโลร์ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 1 นาที) และความเร็วลม 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (โดยการตรวจวัดลมใน 10 นาที) โดย JMA และมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางที่ 900 มิลลิบาร์ ทำให้เซาเดโลร์ เป็นพายุที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นหว่องฟ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2557
  • วันที่ 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์คงระดับความรุนแรงในจุดสูงสุดได้เป็นระยะเวลา 18 ชั่วโมง ก่อนจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงในเวลา 15:00 UTC (เวลา 22:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)
  • วันที่ 5 สิงหาคม PAGASA ได้บันทึกว่าพายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์เคลื่อนตัวเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และใช้ชื่อ ฮันนา
  • วันที่ 7 สิงหาคม เซาเดโลร์ ทวีกำลังแรงขึ้นใหม่อีกครั้ง เนื่องจากระบบเข้าสู่พื้นที่ที่มีเงื่อนไขที่ดี

ในวันที่ 2 สิงหาคม เซาเดโลร์ได้พัดเข้าถล่มแผ่นดินในไซปัน ที่ความรุนแรงพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยการประมาณการความเสียหายในเบื้องต้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน ค.ศ. 2015) หรือประมาณ 7.03 ร้อยล้านบาท

อ้างอิง แก้

  1. http://www.typhooncommittee.org/10IWS/Members/2015_Member%20Report_China.pdf
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  4. https://www.webcitation.org/6aSq8u6nL?url=http://gwydir.demon.co.uk/advisories/WDPN31-PGTW_201508011500.htm