พันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน
พันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูป และเป็นผู้ริเริ่มปลูกส้มเขียวหวานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
พันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 (83 ปี) จังหวัดเชียงใหม่ |
คู่สมรส | คุณหญิงเจ้าเดือนฉาย บูรณศิลปิน |
ประวัติ
แก้นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[1] พ.ศ. 2474-2483 ต่อมาเข้าเรียนวิชาการเกษตรที่สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ รุ่นที่ 9 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน พ.ศ. 2486-2491 ได้รับประกาศนียบัตร อนุปริญญาเกษตรศาสตร์
นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์ กิตติมศักดิ์) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 และ ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2528 จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [2]
นายพันธ์เลิศ บูรณศิลปิน ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2520 จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน ได้รับประกาศนียบัตร เป็นผู้ได้รับเกียรติยกย่องเป็นเกษตรกรตัวอย่างของจังหวัดเชียงใหม่ ประเภท ธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ประจำปีพ.ศ. 2521
นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน สมรสกับ คุณหญิง เจ้าเดือนฉาย บูรณศิลปิน (สิโรรส)[3] มีบุตรธิดาร่วมกัน 2 คนคือ
- นายชีวิน (เด็ดเดือน) บูรณศิลปิน สมรสกับนางจันทร์ฉาย คำคง มีบุตร 1 คน คือ นายศุภโชค บูรณศิลปิน, นายชีวิน บูรณศิลปิน สมรสกับนางเมทินี (นพพร) พรหมณะ มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายพนธวัช บูรณศิลปิน และนางสาวมนสิชา บูรณศิลปิน
- นางดาววัน บูรณศิลปิน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณสมรสพระราชทาน กับ นายคธา พรพิบูลย์ มีบุตรชาย 2 คน คือ นายสมิทธิ์ และนายกิตติยุต พรพิบูลย์
การทำงาน
แก้ด้านเกษตรกรรม
แก้นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน เป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกการปลูกส้มเขียวหวานในจังหวัดเชียงใหม่ บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ โดยได้นำพันธุ์ส้มเขียวหวานมาจากบางมด ส่วนส้มพันธุ์ต่างประเทศกว่า 30 พันธุ์ นำมาจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสวนส้มวังน้ำค้าง ตำบลบ้านกาด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2513[4] ซึ่งเสด็จเยือนสวนวังนํ้าค้างมาเกือบ 20 ปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระราชหฤทัยด้านความก้าวหน้าของการเกษตร ซึ่งสวนวังนํ้าค้างนี้เป็นสวนที่ศึกษาทดลองด้านการเกษตรแบบอาศัยธรรมชาติ ดังนั้นในการเสด็จแปรพระราชฐานที่จังหวัดเชียงใหม่จะทรงแวะที่สวนวังนํ้าค้างอยู่เป็นประจำทุกปี
งานการเมือง
แก้นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2517[5] และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2518-2519[6] พ.ศ. 2519-2520 รับราชการในตำแหน่งสมาชิกสภาปฏิรูป
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้นายพันธุ์เลิศ บูรณศิลปิน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานวัดโป่งน้อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ โรงเรียนเทพศิรินทร์
- ↑ บันทึกข้อความ สำนักงานเลขานุการคณะเกษตร
- ↑ “สังคมดาว ข่าว 25 น.” วันที่ 22 มิถุนายน 2563 จาก เชียงใหม่นิวส์
- ↑ สวนส้มวังน้ำค้าง[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ "วุฒิสภา ชุดที่ 4" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 42 เล่ม 91 ตอน 229 31 ธันวาคม 2517
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า 8 เล่ม 101 ตอน 67 24 พฤษภาคม 2527