พระไภษัชยคุรุ
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต (จีน: 藥師佛/薬師; พินอิน: Yàoshīfó; ญี่ปุ่น: 薬師瑠璃光如来 โรมาจิ: Yakushi หรือ Yakushirurikō nyorai) เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพลิน พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต | |
---|---|
![]() พระไภษัชยคุรุ ศิลปะจีน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วอร์ซอ | |
ภาษาสันสกฤต | भैषज्यगुरु (ไภษชฺยคุรุ) भैषज्यगुरुवैडूर्यप्रभाराज (ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภาราช) भैषज्यगुरुवैडूर्यप्रभातथागत (ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภาตถาคต) |
ภาษาจีน | Yàoshīfó (藥師佛); Yàoshīrúlái (藥師如來) |
ภาษาญี่ปุ่น | Yakushi (薬師); Kusurishi Nyorai (薬師如来) |
ภาษาเกาหลี | Yaksayeorae, Yaksabul (약사여래, 약사불) |
ภาษามองโกเลีย | Оточ Манла |
ภาษาไทย | พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต |
ภาษาทิเบต | Sanggye Menla སངས་རྒྱས་སྨན་བླ། |
ภาษาเวียดนาม | Phật Dược Sư, Dược Sư Lưu Li Quang Phật |
ข้อมูล | |
นับถือใน | มหายาน, วัชรยาน |
พระลักษณะ | การเยียวยารักษาโรค |
![]() |
รูปลักษณ์แก้ไข
ในความเชื่อของชาวจีน รูปของพระองค์อยู่ในท่านั่งสมาธิ มีรัตนเจดีย์วางบนพระหัตถ์ บ้างถือกระปุกยา ส่วนในความเชื่อของชาวทิเบต พระองค์มีกายสีน้ำเงินเข้ม นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาถือยาสมุนไพร (ทางจีนนิยมเป็นเห็ดหลินจือ) พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรวางบนพระเพลา ถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่สามารถรักษาโรคทางกายและโรคทางกรรมของสัตว์โลก
หลักฐานจากพระสูตรแก้ไข
พระสูตรที่กล่าวถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระองค์เดียว คือ
- ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร เดิมเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระถังซำจั๋ง หรือพระสมณะเสวียนจั้ง ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน
- ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระสมณะอี้จิง ในสมัยถังของจีน แต่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ โดยพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เป็นพระองค์ลำดับที่ 7 กล่าวถึงปณิธาน 12 ข้อของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าคือ
- ช่วยให้สรรพสัตว์บรรลุโพธิญาณโดยเร็ว
- ช่วยให้สรรพสัตว์ตื่นจากความโง่เขลา
- ช่วยให้สรรพสัตว์ถึงพร้อมด้วยของใช้ทั้งปวง
- ช่วยให้สรรพสัตว์หันมานับถือมหายานธรรม มุ่งสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า
- ช่วยให้สรรพสัตว์มีศีลบริสุทธิ์
- ช่วยให้สรรพสัตว์มีกายสมบูรณ์
- ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความยากจน
- ช่วยให้สตรีได้เป็นบุรุษตามปรารถนา
- ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากอุบายของมาร
- ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากโทษทัณฑ์ทางอาญา
- ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากการทำชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ
- ช่วยให้สรรพสัตว์พบกับความสมบูรณ์ทั้งสิ้น
ความเชื่อแก้ไข
พระไภษัชยคุรุเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในหมู่ชาวพุทธมหายาน แต่ไม่มีนิกายเป็นของตนเองอย่างพระอมิตาภะพุทธะ ทรงมีแดนศุทธิไวฑูรย์ที่เหมือนกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานสูตร กล่าวว่าทรงเป็นหนึ่งในพระไภษัชยคุรุทั้ง 7 มีพระโพธิสัตว์เป็นสาวก 2 องค์ คือ พระสุริยประภาโพธิสัตว์ (จีน: 日光菩薩; พินอิน: Rìguāng púsà; ญี่ปุ่น: Nikkō bosatsu) และพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (จีน: 月光菩薩; พินอิน: Yuèguāng púsà; ญี่ปุ่น: Gekkō bosatsu)
ดังนั้น จึงเป็นที่มาของพระกริ่งปวเรศ ที่มีการจัดสร้างขึ้นเฉพาะในราชอาณาจักรไทยแต่เพียงผู้เดียว เพราะพุทธลักษณะของพระกริ่งคล้ายคลึงกับพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้ามาก
ระเบียงภาพแก้ไข
- รูปแบบศิลปกรรมของพระไภษัชยคุรุ
พระไภษัชยคุรุ วัดโฮรีว ประเทศญี่ปุ่น
พระไภษัชยคุรุ วัดโคฟุกุ ประเทศญี่ปุ่น
พระกริ่งปวเรศ (พระไภษัชยคุรุ) ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์โปรดให้พระยาเวียงในนฤบาลสร้างขึ้น
พระไภษัชยคุรุ ที่วัดทิพยวารีวิหาร (วัดกำโลวยี่) เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อ้างอิงแก้ไข
- พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก พระพุทธเจ้าและพระธรรมสูตรฝ่ายมหายาน. กทม. หมื่นคุณธรรมสถาน. 2549 [1]