พระไภษัชยคุรุ (สันสกฤต: भैषज्यगुरु, จีน: 藥師佛, ญี่ปุ่น: 薬師仏, เกาหลี: 약사불, ทิเบต: སངས་རྒྱས་སྨན་བླ) หรือ พระไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภาราช (จีน: 藥師琉璃光(王)如來, ญี่ปุ่น: 薬師瑠璃光如来, เกาหลี: 약사유리광여래) เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพลิน พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต

พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต
พระไภษัชยคุรุ ศิลปะจีน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วอร์ซอ
สันสกฤตभैषज्यगुरु
ไภษชฺยคุรุ
भैषज्यगुरुवैदुर्यप्रभाराज
ไภษชฺยคุรุไวฑูรฺยปฺรภาราช
จีน藥師佛
(พินอิน: Yàoshīfó )
藥師如來
(พินอิน: Yàoshī Rúlái )
ญี่ปุ่น薬師如来やくしにょらい
(โรมาจิ: Yakushi Nyorai)
薬師瑠璃光如来やくしるりこうにょらい
(โรมาจิ: Yakushirurikō Nyorai)
เขมรភៃសជ្យគុរុ
(phei-sach-kuru)
เกาหลี약사여래
(RR: Yagsa Yeorae)
약사유리광여래
(RR: Yagsayurigwang Yeorae)
ไทยพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต
ทิเบตསངས་རྒྱས་སྨན་བླ་
Wylie: sangs rgyas sman bla
THL: Sangyé Menla
เวียดนามDược Sư Phật
Dược Sư Lưu Ly Quang Vương Phật
Dược Sư Lưu Ly Quang Vương Như Lai
Đại Y Vương Phật
Tiêu Tai Diên Thọ Dược Sư Phật
ข้อมูล
นับถือในมหายาน, วัชรยาน
พระลักษณะการเยียวยารักษาโรค
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

รูปลักษณ์

แก้

ในความเชื่อของชาวจีน รูปของพระองค์อยู่ในท่านั่งสมาธิ มีรัตนเจดีย์วางบนพระหัตถ์ บ้างถือกระปุกยา ส่วนในความเชื่อของชาวทิเบต พระองค์มีกายสีน้ำเงินเข้ม นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาถือยาสมุนไพร (ทางจีนนิยมเป็นเห็ดหลินจือ) พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรวางบนพระเพลา ถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่สามารถรักษาโรคทางกายและโรคทางกรรมของสัตว์โลก

หลักฐานจากพระสูตร

แก้

พระสูตรที่กล่าวถึงพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าโดยเฉพาะ พระองค์เดียว คือ

  1. ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร เดิมเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระถังซำจั๋ง หรือพระสมณะเสวียนจั้ง ในสมัยราชวงศ์ถังของจีน
  2. ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร ต่อมาแปลเป็นภาษาจีนโดยพระสมณะอี้จิง ในสมัยถังของจีน แต่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ โดยพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เป็นพระองค์ลำดับที่ 7 กล่าวถึงปณิธาน 12 ข้อของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าคือ
    1. ช่วยให้สรรพสัตว์บรรลุโพธิญาณโดยเร็ว
    2. ช่วยให้สรรพสัตว์ตื่นจากความโง่เขลา
    3. ช่วยให้สรรพสัตว์ถึงพร้อมด้วยของใช้ทั้งปวง
    4. ช่วยให้สรรพสัตว์หันมานับถือมหายานธรรม มุ่งสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า
    5. ช่วยให้สรรพสัตว์มีศีลบริสุทธิ์
    6. ช่วยให้สรรพสัตว์มีกายสมบูรณ์
    7. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความยากจน
    8. ช่วยให้สตรีได้เป็นบุรุษตามปรารถนา
    9. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากอุบายของมาร
    10. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากโทษทัณฑ์ทางอาญา
    11. ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากการทำชั่วเพื่อเลี้ยงชีพ
    12. ช่วยให้สรรพสัตว์พบกับความสมบูรณ์ทั้งสิ้น

ความเชื่อ

แก้

พระไภษัชยคุรุเป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในหมู่ชาวพุทธมหายาน แต่ไม่มีนิกายเป็นของตนเองอย่างพระอมิตาภะพุทธะ ทรงมีแดนศุทธิไวฑูรย์ที่เหมือนกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานสูตร กล่าวว่าทรงเป็นหนึ่งในพระไภษัชยคุรุทั้ง 7 มีพระโพธิสัตว์เป็นสาวก 2 องค์ คือ พระสุริยประภาโพธิสัตว์ (จีน: 日光菩薩; พินอิน: Rìguāng púsà; ญี่ปุ่น: Nikkō bosatsu) และพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (จีน: 月光菩薩; พินอิน: Yuèguāng púsà; ญี่ปุ่น: Gekkō bosatsu)

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของพระกริ่งปวเรศ ที่มีการจัดสร้างขึ้นเฉพาะในราชอาณาจักรไทยแต่เพียงผู้เดียว เพราะพุทธลักษณะของพระกริ่งคล้ายคลึงกับพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้ามาก

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้