พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์
ปารณศวรี (IAST: Parṇaśabarī, สันสกฤต: पर्णशबरी) หรืออาจสะกดตามรูปภาษาไทยได้ว่า บรรณศวรี (เทพีผู้นุ่งห่มใบไม้),[1][2]เป็นพระโพธิสัตว์เทพีในคติศาสนาพุทธแบบมหายานและวัชรยาน ได้รับการยกย่องว่าทรงคุ้มครองและอุปถัมป์การขจัดโรคระบาด และทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ[3]
พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์ | |
---|---|
สันสกฤต | पर्णशबरी Parṇaśabarī |
จีน | 叶衣菩萨 (Pinyin: Yè yī Púsà) |
ไทย | พระปารณศวรีโพธิสัตว์ |
ทิเบต | རི་ཁྲོད་ལོ་མ་གྱོན་མ། |
เวียดนาม | Parṇaśabarī Bồ Tát |
ข้อมูล | |
นับถือใน | มหายาน วัชรยาน ตันตระ |
พระลักษณะ | ทรงพัสตราภรณ์ด้วยใบไม้ |
ศักติ | พระไภษัชยคุรุ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
เทวรูปปฏิมากรของนางยังปรากฏในธากา ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งหลงเหลือผ่านมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิปาละ ซึ่งที่มาเดิมอาจเป็นพระแม่ศีตลาและบริวารของนางคือชวาลาสูร[4] ซึ่งเป็นเทพเจ้าฮินดูที่เกี่ยวข้องและอุปถัมป์การขจัดโรคระบาด และทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บด้วยเช่นกัน[4] ในประวัติศาสตร์อินเดีย มีเทวรูปปฏิมาของนางอันมีชื่อเสียงขจรขจายจากชุดหมู่ปฏิมากรรมสัมฤทธิ์แห่งกุรกิหารซึ่งอยู่อายุราวพุทธศตวรรษที่สิบห้าถึงสิบแปด[5]
ในคติศาสนาพุทธแบบวัชรยานนับถือว่านางเป็นเทพีบริวารของเจ้าแม่ตาราโพธิสัตว์เทพี[1] นักวิชาการบางท่านกล่าวว่านางอาจมีที่มาจากเทพีพื้นเมืองท้องถิ่นของเทือกเขาวินธัย เนื่องจากนางมีลักษณะและความเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชาวสาบาภาชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณนี้[1]
ที่มา
แก้ในทางประวัติศาสตร์ นางนั้นอาจพัฒนามาจากเทวีท้องถิ่นของอินเดีย เนื่องจากมีการขนามนามของนางว่า “ปีศาจี” ในภาษาสันสกฤตซึ่งหมายถึงปิศาจ คำนี้ยังปรากฏในมนต์ของนางด้วย ปิศาจมีความหมายถึงพลังของธรรมชาติที่อาจให้คุณหรือโทษก็ได้ตามขนบการบูชาของชาวบ้าน เช่นเดียวกับคำว่าฑากินี ยักษิณี ฯลฯ ซึ่งถูกลดคุณค่าความสำคัญลงโดยวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูทางการ แต่พุทธศาสนาวัชรยานรับไปพัฒนาต่อ และประติมานวิทยาเทพปฏิมาของนาง สอดคล้องกับรูปลักษณ์ที่นุ่งใบไม้เหมือนชาวป่าที่แสดงถึงความเป็นพื้นเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งแสดงร่องรอยว่านางอาจเป็นเทวีพื้นบ้านที่ถูกนำมารวมเข้าในพุทธศาสนาแล้วจัดให้อยู่ในกลุ่มพระแม่ตารา
เช่นเดียวกับที่ศาสนาฮินดูนำเอาเทวีแห่งโรคระบาดพื้นบ้านอย่างจ้าวแม่มาริอัมมาหรือเจ้าแม่ศีตลาเข้ามาเป็นหนึ่งในเทวดาในศาสนาฮินดูซึ่งทั้งพระปารณศวรีและเจ้าแม่ศีตลาของพราหมณ์ ฮินดูน่าจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Reflections on the Tantras. S̄udhakar Chattopadhyaya. 1978. p. 76. ISBN 9788120806917.
- ↑ The social function of art by Radhakamal Mukerjee. Philosophical Library. 1954. p. 151. ISBN 9780802211682.
- ↑ Bhattacharyya, Benoytosh (1958). The Indian Buddhist Iconography art. p. 520. ISBN 9788173053139.
- ↑ 4.0 4.1 Studies in Hindu and Buddhist art. By P. K. Mishra. 1999. p. 107. ISBN 9788170173687.
- ↑ History of the tantric religion: a historical, ritualistic, and philosophical study. Narendra Nath Bhattacharyya. 1982. p. 394. ISBN 9788173040252.
- ↑ https://www.matichonweekly.com/religion/article_424791
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระแม่ปารณศวรีโพธิสัตว์