พระเจ้าโตฮาน-บว่า
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าโตฮาน-บว่า (พม่า: သိုဟန်ဘွား, ออกเสียง: [θò.hàɰ̃.bwá]; ค.ศ. 1505 – พฤษภาคม ค.ศ. 1542) หรือในนวนิยายผู้ชนะสิบทิศเรียกชื่อว่า พระเจ้าโสหันพวา เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอังวะระหว่าง ค.ศ. 1527–1542 พระโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าฟ้าซะโลนแห่งโม่ญี่น เป็นผู้บัญชาการกองทัพโม่ญี่นในการรุกรานพรมแดนของอาณาจักรอังวะ ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 เดือนมีนาคม ค.ศ. 1527 เจ้าชายเชื้อสายไทใหญ่ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งอังวะโดยซะโลน ภายหลังจากโม่ญี่นนำกองทัพไทใหญ่เอาชนะอังวะได้ใน ค.ศ. 1527 หลังจากเจ้าฟ้าซะโลนถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1533 พระเจ้าโตฮาน-บว่ากลายเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรและเป็นกษัตริย์ผู้มีข้อถกเถียงเนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับทันทีจากผู้นำเมืองอื่น ๆ ของอาณาจักร
พระเจ้าโตฮาน-บว่า | |
---|---|
กษัตริย์แห่งอังวะ | |
ครองราชย์ | 14 มีนาคม 1527 – พฤษภาคม 1542 |
ก่อนหน้า | ชเวนันจอชิน |
ถัดไป | คอนเมง |
อัครมหาเสนาบดี | ยานนอง |
ประสูติ | ค.ศ. 1505 |
สวรรคต | พฤษภาคม ค.ศ. 1542[1] อังวะ |
ราชวงศ์ | โม่ญี่นซะโลน |
พระบิดา | เจ้าฟ้าซะโลน |
ศาสนา | พุทธ |
พระองค์เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์พม่าจากการเกิดการนองเลือดตลอดรัชสมัย ทั้งสังหารพระภิกษุผู้มีความรู้ รวมถึงปล้นทรัพย์สมบัติจากพระเจดีย์ตามวัดต่าง ๆ และเผาหนังสือคัมภีร์ ทำให้พระองค์เป็นที่เกลียดชังจากชาวพม่าและชาวไทใหญ่ ทั้งยังเฉยเมยไร้ความสามารถที่จะระดมชาวไทใหญ่ไปต่อสู้กับอาณาจักรตองอูซึ่งเคยเป็นรัฐบรรณาการของอาณาจักรอังวะ ตองอูที่แข็งแกร่งมากขึ้นเริ่มมีความคิดที่จะรวบรวมดินแดนหลังได้รับชัยชนะในการรุกรานอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญในปี ค.ศ. 1534-1539 ระหว่างที่อังวะไม่ได้ดำเนินการอะไร ตองอูได้โจมตีและยึดครองแปร เมืองในอาณัติของอังวะได้ในปี ค.ศ. 1539 พระเจ้าโตฮาน-บว่าและพันธมิตรไทใหญ่เข้าขัดขวางแต่สายเกินไป กองทัพของอังวะพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระเจ้าบุเรงนองแห่งตองอูในเดือนเมษายน ค.ศ. 1542
หลังจากความปราชัยของอังวะ เหล่าข้าราชบริพารเริ่มมีความคิดที่จะพยายามชิงอำนาจ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1542 พระเจ้าโตฮาน-บว่าถูกลอบปลงประชนม์โดยยานนอง หัวหน้าคณะเสนาบดีของพระองค์
อ้างอิง
แก้- ↑ (Hmannan Vol. 2 2003: 145): Kason 904 ME = 15 April 1542 to 14 May 1542