พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร (16 มกราคม พ.ศ. 2334 — 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าประยงค์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน่วม[1]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประยงค์ กรมขุนธิเบศวร์บวร
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ16 มกราคม พ.ศ. 2334
สิ้นพระชนม์11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลบรรยงกะเสนา
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน่วม

พระประวัติ แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวรประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 8 ค่ำ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1153 ตรงกับวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2334 ในรัชกาลที่ 2 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นธิเบศร์บวร ในรัชกาลที่ 4 เลื่อนเป็นพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมขุนธิเบศร์บวร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 พระชันษา 66 ปี

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลบรรยงกะเสนา[2] ทรงมีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้

1.หม่อมเจ้าพยอม บรรยงกะเสนา

2.หม่อมเจ้าหญิงแสงจันทร์ บรรยงกะเสนา (ประสูติ พ.ศ. 2374 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 พระราชทานเพลิง ณ วัดวงษมูลวิหาร เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2466)

3.หม่อมเจ้าหญิงเขียน บรรยงกะเสนา

4.หม่อมเจ้าหญิงประภา บรรยงกะเสนา

5.หม่อมเจ้าหญิงกันแสง บรรยงกะเสนา (ประสูติ พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 พระราชทานเพลิง ณ วัดวงษมูลวิหาร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2430)

6.หม่อมเจ้าหญิงประไพ บรรยงกะเสนา (ประสูติ พ.ศ. 2391 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 พระราชทานเพลิง ณ วัด จักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452)

7.หม่อมเจ้าปรีดา บรรยงกะเสนา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 พระราชทานเพลิง ณ วัดเครือวัลย์วรวิหาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453) สมรสกับหม่อมพริ้ง บรรยงกะเสนา ณ อยุธยา (สกุลเดิม: บุณยรัตพันธุ์) มีธิดา คือ หม่อมราชวงศ์หญิงสุดจิตร บรรยงกะเสนาและหม่อมราชวงศ์หญิงสุดใจ บรรยงกะเสนา

8.หม่อมเจ้าเวียน บรรยงกะเสนา (ประสูติ พ.ศ. 2395 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2454 พระราชทานเพลิง ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2456)

9.หม่อมเจ้าหรุ่น บรรยงกะเสนา

10.หม่อมเจ้าถมยา บรรยงกะเสนา

11.หม่อมเจ้าอรุณ บรรยงกะเสนา (พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2438)

12.หม่อมเจ้าอ้น บรรยงกะเสนา (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2443)

13.หม่อมเจ้าแฉ่ง บรรยงกะเสนา

14.หม่อมเจ้านกเอี้ยง บรรยงกะเสนา


พระกรณียกิจ แก้

ช่วงเวลาที่กรมขุนธิเบศร์บวรประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิม ได้ทรงสร้างวัดวงศมูลขึ้น มีการตั้งพระประธานและหมู่กุฏิสงฆ์ต่าง ๆ แต่จะสร้างในปีใดไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัดและโบสถ์ นอกจากนี้ทรงมีส่วนร่วมในกองทัพของวังหน้าเพื่อต้านกบฏเจ้าอนุวงศ์ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพพระราชบัณฑูรให้กรมขุนธิเบศร์บวร เป็นเจรทัพ[3]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  3. บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ[ลิงก์เสีย] - Plungjai.com พลังใจ ดอตคอม