พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)

นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) (29 เมษายน 2393 – 20 มกราคม 2469)[1][2] เป็นทหารบกชาวไทย อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงโยธาธิการ อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก, อดีตเจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก คนแรก อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นตระกูลศิริสัมพันธ์[3]

ประวัติ แก้

พระยาสโมสรสรรพการ เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2393 ที่เมืองจันทบุรี เป็นบุตรชายของพระยาไกรโกษา (สองเมือง ศิริสัมพันธ์) กับนางลำใย ศิริสัมพันธ์

พระยาสโมสรสรรพการถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2469

รับราชการ แก้

พระยาสโมสรสรรพการเริ่มต้นรับราชการในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กระทั่งปี 2425 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสโมสรพลการ ต่อมาในวันพุธ เดือน 8 อุตราสาธ ขึ้น 10 ค่ำ ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น ร้อยเอก หลวงสโมสรพลการ[4] จากนั้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2432 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น พันตรี หลวงสโมสรพลการ[5]

หลังจากนั้นในปี 2435 ท่านได้โอนมารับราชการในกระทรวงโยธาธิการ ในตำแหน่งรองอธิบดีชั้น 1[6] หรือต่อมาคือตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง[7] และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พันตรี พระยาสโมสรสรรพการ ถือศักดินา 1000 เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2436[8]

จากนั้นท่านได้โอนกลับมารับราชการทหารและได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น พันโท พระยาสโมสรสรรพการ ต่อมาในวันที่ 3 กรกฎาคม 2445 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นมรรคนายกวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร[9] จากนั้นในวันที่ 16 มกราคม ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น พันเอก พระยาสโมสรสรรพการ[10] นอกจากนี้ยังได้เป็น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก (ในยุคนั้นใช้ชื่อว่า กรมแสงสรรพาวุธ)[11]

ในวันที่ 1 กันยายน 2447 ท่านได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้ากรมยุทธโยธาทหารบกเป็นคนแรก[12] แต่ก็ยังดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมแสงสรรพาวุธ[13] ต่อมาในวันที่ 11 พฤษภาคม 2451 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น พลตรี พระยาสโมสรสรรพการ[14] ในเดือนกรกฎาคม ปีถัดมา ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเกียกกายทัพบกคนแรกพร้อมกับรักษาราชการในตำแหน่งเจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก[15] และกรมแสงสรรพาวุธ[16]

ในวันที่ 17 ธันวาคม 2453 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเกียกกายทัพบกเพียงตำแหน่งเดียวโดยพ้นจากตำแหน่ง เจ้ากรมแสงสรรพาวุธ[17] จากนั้นในวันที่ 7 เมษายน 2459 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี[18] ในเดือนตุลาคม ศกเดียวกัน ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการเพราะชราทำให้พ้นจากตำแหน่งเกียกกายทัพบกโดยมี นายพันเอก พระยาเสนาภิมุข ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 3 มารับตำแหน่งแทน[19] ในวันที่ 3 ตุลาคม ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น นายพลโท[20] โดยโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทานเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2461[21]

ยศ แก้

ยศเสือป่า แก้

  • 13 กรกฎาคม 2455 – นายหมู่โท[22]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด ศิริสัมพันธ์)
  2. ข่าวตาย (หน้า 3914–3915)
  3. พระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 3 (ลำดับที่ 181)
  4. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  5. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  6. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงโยธาธิการ
  7. แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ
  8. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า 136)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
  10. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  11. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงกลาโหม
  12. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  13. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงกลาโหม
  14. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก[ลิงก์เสีย]
  15. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  16. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงกลาโหม (หน้า 460)
  17. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  18. รายพระนามและนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี
  19. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  20. พระราชทานยศนายทหารบก
  21. ส่งสัญญาบัตรยศทหารบกไปพระราชทาน
  22. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๓, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๔, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๕๙
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๕๙๘, ๑ ตุลาคม ๑๒๔
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๔๓, ๒๙ มกราคม ๑๒๙
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๓ ตอนที่ ๒ หน้า ๒๗, ๑๒ เมษายน ๑๑๕
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๖๗, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๒๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๒๗๒, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๓