พระยาราชมานู (ถั่ว อัศวเสนา)
นายพลเสือป่า พระตำรวจโท พระยาราชมานู (ถั่ว อัศวเสนา) (มีนาคม 2421 – 21 เมษายน 2475)[1] เป็นอดีตขุนนางชาวไทย เป็นองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 อดีตสมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์, อดีตผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์, อดีตราชองครักษ์พิเศษ, อดีตผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, อดีตผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
พระยาราชมานู | |
---|---|
เกิด | มีนาคม 2422 |
ถึงแก่กรรม | 21 เมษายน 2475 |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคไต |
ภรรยาเอก | คุณหญิงราชมานู (ม.ล. เล็ก กุญชร) |
บุตร | 4 |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้พระตำรวจโท พระยาราชมานู เกิดเมื่อเดือนมีนาคม 2421 (นับแบบสากล 2422 แต่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งลงประวัติของท่านช่วงวันที่เกิดเลือนลางจนมิสามารถระบุได้) เป็นบุตรชายของนายเปีย อัศวเสนา จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงราชมานู (ม.ล. เล็ก กุญชร) นักร้องผู้บันทึกเสียงเพลง เพลงตับพระนาละ ธิดาของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ที่เกิดแต่ หม่อมเจริญ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดงานพิธีมงคลสมรสพระราชทานเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2466 (นับแบบสากล 2467) มีบุตรธิดารวม 4 คน[2]
พระตำรวจโท พระยาราชมานู ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคไตเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2475 โปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายสลักประกอบศพ ชั้นรองหีบ 2 ชั้น ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน ระหว่างพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ประโคมกลองชนะเขียว 8 จ่าปี่ 1 เป็นเกียรติยศ
รับราชการ
แก้พระยาราชมานูเริ่มต้นรับราชการเป็น ว่าที่นายร้อยตรี ประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อปี 2441 ครั้นถึงวันที่ 23 สิงหาคม 2442 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ท่านเป็น นายร้อยตรี[3] จากนั้นในปีถัดมาคือปี 2443 ได้เป็นว่าที่นายร้อยโท ประจำกรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ ในปี 2444 ได้เป็นนายร้อยโท รักษาราชการแทนผู้บังคับกองร้อย กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์[4] ต่อมาในวันที่ 18 มิถุนายน 2445 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น นายร้อยเอก[5]
ในปีถัดมาคือในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2446 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น นายร้อยเอก หลวงอาจสรศิลป์ ปลัดกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ถือศักดินา 800[6] แทนร้อยเอกหลวงอาจสรศิลป์คนเก่าที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ถอดยศบรรดาศักดิ์และออกจากราชการเนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2445[7] ในปี 2447 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 4 ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม 2448 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น นายพันตรี หลวงอาจสรศิลป์[8] จากนั้นในวันที่ 5 ธันวาคม 2451 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์ประจำการโดยพ้นจากตำแหน่ง ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 4 และให้ไปประจำพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร[9]
ในวันที่ 10 มิถุนายน 2452 ระหว่างการเสด็จออกขุนนาง ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ท่านได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนยศเป็น นายพันโท หลวงอาจสรศิลป์[10] ต่อมาระหว่างงานเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2453 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระราญรอนอริราช ถือศักดินา 1000[11] จากนั้นอีก 5 วันคือในวันที่ 7 มกราคม ท่านพ้นจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ แทนที่ นายพันโท พระพหลหาญศึก ที่ขยับไปดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยจเรทหารม้า นอกจากนี้ท่านยังได้เลื่อนเป็นราชองครักษ์พิเศษ[12]
ในระหว่างการถือน้ำพิเศษของกองเสือป่าเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่าเป็น นายกองตรี พร้อมกับรับตำแหน่งนายเวรในกองเสือป่า[13] ต่อมาในวันที่ 17 มิถุนายน 2454 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่าเลื่อนเป็น นายกองโท[14] จากนั้นในวันที่ 30 กันยายน 2454 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่าเป็น นายกองเอก[15]
ต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ โดยพ้นจากตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 (รักษาพระองค์) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2454[16] และผู้ช่วยสมุหพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ กระทั่งวันที่ 10 สิงหาคม 2455 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น ขุนตำรวจเอก[17] จากนั้นในวันที่ 9 กันยายน ศกเดียวกัน ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พันโท ขุนตำรวจเอก นายกองเอก พระยาราชมานู ถือศักดินา 3000[18] ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2455 (นับแบบสากลปัจจุบัน 2456) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านพ้นจากตำแหน่งผู้ช่วยสมุหราชองครักษ์ ออกจากราชการทหารบก เพื่อโอนย้ายไปรับราชการที่กรมพระตำรวจ[19]
จากนั้นในวันที่ 30 พฤษภาคม 2456 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็น พระตำรวจตรี[20] ในวันที่ 14 มกราคม 2458 ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายเสือป่าให้ท่านเป็น นายพลเสือป่า[21] ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2460 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นองคมนตรี[22] ในปีถัดมาคือในวันที่ 2 ธันวาคม 2461 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศท่านขึ้นเป็น พระตำรวจโท[23]
ตำแหน่ง
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[26]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[27]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[28]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[29]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[30]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[31]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[32]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)[33]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวตาย (หน้า 369)
- ↑ เพลง ตับพระนาละ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 ก่อนเสวยราชย์ มีอายุกว่า 100 ปีที่เกือบจะสูญ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารไปพระราชทาน (หน้า 97)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า 2391)
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม[ลิงก์เสีย]
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้นายพันโท พระราญรอนอริราช ผู้ช่วยสมุหพระตำรวจ แต่งเครื่องแต่งตัวกรมพระตำรวจ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายตำแหน่งหน้าที่ราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งและเลื่อนยศ
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นองคมนตรี พ.ศ. 2460
- ↑ ประกาศเลื่อนยศ ข้าราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์
- ↑ พระบรมราชโองการตั้งตำแหน่งจเรเสือป่าและที่ปรึกษาเสนาธิการเสือป่า
- ↑ ประกาศตั้งตุลาการศาลรับสั่งกระทรวงวัง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๑๐, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๖, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๑, ๒๖ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๘๙, ๙ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๒, ๑๔ มกราคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๐, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๑๖, ๙ กรกฎาคม ๑๓๐