พระยาพัทลุง (ขุน) หรือ ขุนคางเหล็ก (พ.ศ. 2277 - พ.ศ. 2332) เป็นบุตรชายของ พระยาราชบังสัน (ตะตา) บุตรชายของ พระยาพัทลุง (ฮุเซน) บุตร สุลต่านสุลัยมาน เกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบ ก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิต สิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน

พระยาพัทลุง
(ขุน)
เจ้าเมืองพัทลุง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2315 – พ.ศ. 2332 (17 ปี)
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ถัดไปพระศรีไกรลาศ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ขุน

พ.ศ. 2277
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิตพ.ศ. 2332 (55 ปี)
เมืองพัทลุง อาณาจักรรัตนโกสินทร์
คู่สมรสคุณหญิงแป้น
บุตรพระยาพัทลุง (ทองขาว)
บุพการี
  • พระยาราชบังสัน (บิดา)
ญาติสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ (ทวด)

ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาพัทลุง (ขุน) กับพี่น้องญาติๆ ได้พากันอพยพมาอยู่หมู่บ้านบริเวณใกล้ ๆ วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ไม่ห่างไกลกันนักกับพวกญาติ ๆ เชื้อสุลต่านสุลัยมาน ซึ่งตั้งเคหสถานอยู่ใกล้วัดหงส์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง ใน พ.ศ. 2315 พระยาพัทลุงได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[1]

ภรรยาพระยาพัทลุง(ขุน) คือ คุณหญิงแป้น น้องร่วมบิดามารดากับท้าวทรงกันดาล บุตร-ธิดา ที่สำคัญได้แก่

พระยาพัทลุง (ขุน) รับราชการอยู่ 17 ปี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2332 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[2]

ภายในวัดวังมีอนุสาวรีย์พระยาพัทลุง (ขุน) สร้างโดย มูลนิธิพระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก-สุลต่านสุลัยมาน

ลำดับสาแหรก แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, หน้า 332
  2. โรม บุนนาค (12 มิถุนายน 2562). "เหตุที่พระยาพัทลุงได้ฉายา "คางเหล็ก! ไก่เจ๊ก ไก่แขก ตีกันไม่แพ้ไม่ชนะ เจ้าของไก่รำมวยใส่กัน! !". ผู้จัดการออนไลน์.
บรรณานุกรม