พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี หรือ คอซู้เจียง ณ ระนอง (พ.ศ. 2340 - พ.ศ. 2425) มีนามเดิมว่า ซู้เจียง แซ่คอ[1] เป็นเจ้าเมืองระนองชาวจีนฮกเกี้ยนคนแรก[2][3] เป็นต้นสกุล ณ ระนอง[4][5][6] และเป็นคนจีนในตระกูล ณ ระนอง ที่เป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมแร่ดีบุกตระกูลแรกในประเทศไทย[7][8][9]

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี
ภาพวาดพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี
(ถ่ายจากจวนเจ้าเมืองระนอง)
เกิดพ.ศ. 2340
มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน
เสียชีวิตพ.ศ. 2425 (86 ปี)
เมืองระนอง ราชอาณาจักรสยาม
ตำแหน่งเจ้าเมืองระนอง
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนเริ่มตำแหน่ง
ผู้สืบตำแหน่งหลวงศรีโลหภูมิพิทักษ์ (คอซิมเจ่ง ณ ระนอง)

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) หลวงศรีสมบัติ (คอซิมจั๊ว ณ ระนอง) พระยาอัษฎงคตทิศรักษา (คอซิมขิม ณ ระนอง) พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต็ก ณ ระนอง)

พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
คู่สมรสนางเหรียญ ณ ระนอง (ซิทท์ กิ้ม เหลียน)
บุตร11 คน
ครอบครัวณ ระนอง

ประวัติ แก้

พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เป็นคนจีนต้นสกุล ณ ระนอง คนแรกที่เข้ามาในประเทศนั้นชื่อเดิมชื่อ ซู้เจียง แซ่คอ และได้เรียกกันว่า คอซู้เจียง คอซู้เจียงเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปลายรัชกาลที่ 3 ขณะมีอายุได้ 25 ปี โดยเป็นกรรมกรที่เกาะหมาก[1] (ปีนัง) ต่อมาจึงเป็นพ่อค้าที่เมืองตะกั่วป่าและเมืองพังงา รับสินค้าจากเรือกำปั่นค้าขายระหว่างเมืองชายทะเลตะวันตกแถวเกาะหมาก พังงา ระนอง และตระ (กระบุรี) ได้สมรสกับคนไทยเชื้อสายจีนชาวพังงา ชื่อนางกิมและมีบุตรทั้งหมด 11 คน เป็นหญิง 5 คน และเป็นชาย 6 คน ดังนี้

1. หลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์ (คอซิมเจ่ง ณ ระนอง 許心正) บุตรชายคนแรกได้รับพระราชทานนามสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

2. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง 許心廣) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 เป็นหลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์แล้วจึงเลื่อนเป็นพระยารัตนเศรษฐี รับราชการผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา

3. หลวงศรีสมบัติ (คอซิมจั๊ว ณ ระนอง 許心泉) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

4. พระศรีโลห ภูมิพิทักษ์ (คอซิมขิม ณ ระนอง 許心欽) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นหลวงแล้วเลื่อนเป็นพระ รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง

5. พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก ณ ระนอง 許心德) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นพระแล้วเลื่อนเป็นพระยา รับราชการตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองหลังสวน

6. พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) (許心美) ได้เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองแล้วเลื่อนเป็นที่พระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองจัตวาคือกระบุรีต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

การทำงาน แก้

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ที่สืบเชื้อสายกันต่อมายังได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้ามาปลูกในพื้นดินทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นไม้ที่ผลิตผลเป็นยางคือยางพารา ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ให้ผลิตผลที่มีคุณค่าในการอุตสาหกรรม และเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของประเทศรองมาจากข้าวในสมัยนั้นและต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ในตำแหน่งจางวางเมืองระนองซึ่งเทียบเท่าเจ้าเมืองสมัยนั้น นายคอซู้เจียงผู้นี้เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดในบ้านแอซู่ (จิวหู)[10] เขตแขวงเมืองเจียงซิวฮู มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน ได้เดินทางจากจีนเข้ามาแต่หาได้ตรงเข้ามาในกรุงเทพมหานครเหมือนคนจีนแซ่อื่น นายคอซู้เจียง ได้ศึกษาภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ของสยามมาก่อนแล้ว และได้รู้ว่าทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีเหมืองแร่ มีป่าไม้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตในทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมอยู่เป็นอันมาก จึงเข้ามาทำธุรกิจการค้าตามแบบของคนจีนโดยทั่วไป แต่ด้วยความขยันพยายามและฉลาด จึงทำให้การค้าเจริญก้าวหน้าเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในเมืองสมัยนั้น

จีนคอซู้เจียงได้สมรสกับคนสยามในจังหวัดพังงา มีบุตรด้วยกันหลายคน และได้รับราชการมีตำแหน่งสูงในระดับผู้ว่าราชการจังหวัดจนกระทั่งเป็นสมุหเทศาภิบาลบางคน ในจำนวนบุตรชายของนายคอซู้เจียง ทุก ๆ คนซึ่งมีจำนวน 6 คน ได้มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระยาทุกคน และได้รับราชการในจังหวัดภาคใต้ในตำแหน่งที่ใหญ่ทุกคน และบุตรชายคนหนึ่งของนายคอซู้เจียงได้เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 เพราะความเป็นเถ้าแก่ใหญ่และเป็นพ่อค้าที่ไม่ค้าเฉพาะภายในประเทศไทยแต่เป็นพ่อค้าส่งออกคนแรกในเมืองพังงา จึงทำให้นายคอซู้เจียง หาทางขยับขยายในการที่จะหาสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศและขายตามที่ใกล้เคียงให้มากขึ้น และนี่เองเป็นเหตุให้นายคอซู้เจียง ได้มาเป็นคนจีนที่ยิ่งใหญ่ในเมืองระนองจนได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ณ ระนอง

ปั้นปลายชีวิต แก้

นายคอซู้เจียงหรือในราชทินนามบรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนั้นเดิมที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหลวงรัตนเศรษฐีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงความเป็นขุนนางในตำแหน่งอากร ในจังหวัดระนองในปี พ.ศ. 2387

 
สุสานพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี

คอซู้เจียงอยู่ในตำแหน่งจางวางกำกับเมืองระนองจนถึงอายุ 81 ปี และอยู่ในตำแหน่งจางวางได้ 5 ปี 9 เดือน 16 วัน จนกระทั่งวันพฤหัสบดีเดือน 7 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก (พ.ศ. 2435) จึงถึงแก่อนิจกรรมด้วยป่วยเป็นวัณโรคกระดูกสันหลัง รวมอายุได้ 86 ปี

บรรดาศักดิ์ แก้

  • หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง)[11] ตำแหน่งนายภาษีอากร พ.ศ. 2387
  • พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง หัวเมืองจัตวา[12][13] เมื่อปีขาล พ.ศ. 2397 ถือศักดินา 800
  • พระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง เมื่อปีจอ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2405[14][15] ถือศักดินา 2000
  • พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ตำแหน่งจางวางเมืองระนอง เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2420[16] ถือศักดินา 3000

ต้นสกุล ณ ระนอง แก้

ณ ระนอง (na Ranong)[17] เป็นนามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 2,345 ตาม ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓๑[18] พระราชทานให้แก่ อำมาตย์เอก พระยารัตนเศรษฐี (คอยู่หงี่) ผู้ว่าราชการเมืองระนอง มณฑลภูเก็ต กระทรวงมหาดไทย กับภรรยาชื่อ ลิวอยู่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ณ พระตำหนักโปร่งฤทัย เมืองตรัง เพื่อสืบตระกูลพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ขุนนางเชื้อสายจีนซึ่งเป็นพระยาระนองคนแรก และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2459 โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรในขณะนั้นรับสนองพระบรมราชโองการ ต่อมาพระยารัตนเศรษฐี (คอยู่หงี่) จึงได้ยื่นจดทะเบียนนามสกุล ณ ศาลากลางจังหวัดระนอง ๆ จึงได้ออกหนังสือสำคัญการขอจดทะเบียนนามสกุล ฉบับที่ 1,811 ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2459 ไว้เป็นสำคัญ[19]

ในคราวพระราชทานนามสกุลนั้นได้ออกเป็น บัตรนามสกุลพระราชทานสกุล ณ ระนอง ฝีมือเขียนโดยลายมือเจ้าพนักงานอาลักษณ์ และทรงลงพระปรมาภิไธย "วชิราวุธ ปร." ความว่า

ขอให้นามสกุลของอำมาตย์เอก พระยารัตนเศรษฐี (ขอยู่หงี่) ผู้ว่าราชการเมืองระนองตามที่ขอมานั้นว่า "ณ ระนอง" (เขียนเป็นอักษรโรมันว่า Na Ranong) อันเป็นมงคลนาม ขอให้สกุล ณ ระนอง มีความเจริญรุ่งเรือง มั่นคงอยู่ในกรุงสยามชั่วกัลปาวสาน ๚

— บัตรนามสกุลพระราชทาน สกุล ณ ระนอง, พระตำหนักโปร่งฤทัย เมืองตรัง (2459)

มรดก แก้

นามสถานที่ที่เกี่ยวข้อง

  • ถนน ณ ระนอง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร พาดผ่านที่ดินของพระยาประดิพัทธ์ภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง)[20][21]
  • แยก ณ ระนอง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • สะพานคอซู้เจียง (สะพานยูง) อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง[22]
  • สุสานเจ้าเมืองระนอง แหล่งโบราณคดีเมืองระนอง[23]
  • โบราณสถานกำแพงจวนเจ้าเมืองระนอง (บ้านค่ายเจ้าเมืองระนอง)[24] สร้างขึ้นในสมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) สร้างโดยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง) เมื่อ พ.ศ. 2420 บนที่ดิน 33 ไร่[25] ประกอบด้วยกำแพง ซากอาคาร เรือนรับรองและจวนเจ้าเมือง บ่อน้ำร้อนและบ่อพักน้ำร้อน ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานฉบับทั่วไปโดยกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2539[26] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ลักษณะจวนเจ้าเมืองระนองเมื่อคราวเสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2433 ปรากฏใน จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๗ และ ๑๐๘ ความว่า[27][28]

วันที่ ๒๕ เวลาเช้าไปที่บ้านใหม่พระยาระนองผ่านหน้าโรงราง คือ ตะรางทําเป็นตึกหลังคาสังกะสีแบบคุกที่ปีนัง ดูเรียบร้อยใหญ่โตดีมากแต่ยังไม่แล้วเสร็จ บ้านพระยาระนองเองก่อกําแพงรอบสูงสักสิบศอก กว้างใหญ่เห็นจะสักสามเส้นเศษสี่เส้น แต่ไม่หันหน้าออกถนนด้วยซินแสว่าหันหน้าเข้าข้างเขาจึงจะดี ที่บนหลังประตูทำเป็นเรือนหลังโต ๆ ขึ้นไปอยู่เป็นหอรบ กำแพงก็เว้นช่องปืนกรุแต่อิฐบาง ๆ ไว้ด้วยกลัวเจ๊กที่เคยลุกลามขึ้นครั้งก่อนเมื่อมีเหตุการณ์ก็จะได้กระทุ้งออกเป็นช่องปืน ที่กลางบ้านทำตึกหลังหนึ่งใหญ่โตมาก แต่ตัวไม่ได้ขึ้นอยู่เป็นแต่ที่รับแขกและคนไปมาให้อาศัย ตัวเองอยู่ที่เรือนจากเตี้ย ๆ เบียดชิดกันแน่นไปทั้งครัวญาติพี่น้องรวมอยู่แห่งเดียวกันทั้งนั้น มีโรงไว้สินค้าปลูกริมกำแพงยืดยาว ในบ้านนั้นก็ทำไร่ปลูกมัน ปีหนึ่งได้ถึงพันเหรียญ เป็นอย่างคนหากินแท้

— พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว., เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เล่ม 1 (2507)[29]


อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม) เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2549. หน้า 109.
  2. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ. ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2545. 272 หน้า. หน้า 179.
  3. อรุณ เวชสุวรรณ. มวยไชยาและบางเรื่องเกี่ยวกับภาคใต้. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา, 2550. 262 หน้า. หน้า 227. ISBN 978-974-7492-30-9
  4. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก. กรุงเทพฯ : ชมรมดำรงวิทยา, 2526. 276 หน้า. หน้า 205.
  5. บรมโอรสาธิราช, สมเด็จพระ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว). จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘. พระนคร : มิตรไทย, 2506. 65 หน้า. หน้า 42.
  6. ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. "ฮวงซุ้ย ต้นสกุล ณ ระนอง", ประวัติศาสตร์อารยธรรม ภาคใต้: แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สําคัญในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2545. 353 หน้า. หน้า 70-71. ISBN 978-974-2982-14-0
  7. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. (2560, 26 มีนาคม). "มรดกทางวัฒนธรรม : เจ้าเมืองระนอง". เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน อ้างใน ธนกร สุวุฒิกุล. คนจีน ๒๐๐ ปี ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร. กรุงเทพฯ : เส้นทางเศรษฐกิจ, 2527. หน้า 74-84. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565.
  8. สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 4. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า, 2529. 4,305 หน้า.
  9. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2530). วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 6: 98.
  10. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2544. หน้า 348. ISBN 978-974-4192-74-5
  11. "ตราตั้งจีน (คอซู้เจียง) เป็นหลวงรัตนเศรษฐี มา ณ วันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๖ ปีมะโรงนักษัตรฉศก (พ.ศ. ๒๓๘๗)" ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒๙ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ (ต่อ)-๕๐). หน้า 223-228.
  12. "ยกเมืองระนองเป็นหัวเมืองจัตวา" ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒๙ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ (ต่อ)-๕๐). หน้า 230.
  13. ประชุมพงศาวดาร ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มที่ ๑๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2506. หน้า 392.
  14. สารตราพระคชสีห์นำเมืองตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง ณ วันจันทร์แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๘ ปีจอจัตวาศก.
  15. "ตำนานเมืองระนอง", ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒๙ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ (ต่อ)-๕๐). หน้า 239.
  16. "สารตราพระคชสีห์นำเมืองตั้งพระยารัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี" ใน ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๒๙ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๔๘ (ต่อ)-๕๐). หน้า 280.
  17. เทพ สุนทรศารทูล. นามสกุลพระราชทาน ๖,๔๓๒ สกุล. กรุงเทพฯ : ดวงแก้ว, 2542. 922 หน้า. หน้า 328. ISBN 974-833-860-6
  18. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓๑. (๒๔๕๘, ๒๒ สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๒ หน้าที่ ๑,๐๖๗.
  19. เอนก นาวิกมูล และธงชัย ลิขิตพรสวรรค์. สมุดภาพเมืองระนอง: ประมวลภาพเก่า งานศิลป์ และข้าวของต่างๆ ของจังหวัดระนองโดยความร่วมแรงร่วมใจของชาวระนอง. ระนอง : พิมพ์ดี, 2561. 240 หน้า.
  20. สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. สมุดภาพแห่งกรุงเทพมหานคร 222 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2547. 335 หน้า. หน้า 310.
  21. ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา. ปกิณกะแดนสยาม. กรุงเทพฯ : บรรพกิจ, 2549. 270 หน้า. หน้า 265. ISBN 978-974-2218-06-5
  22. สุพาสน์ ศิริพันธุ์ และกรองจิต หะนนท์, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. (2560, 25 มีนาคม). ถนนประวัติศาสตร์ของจังหวัดระนอง เก็บถาวร 2022-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565.
  23. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2555). ดำรงวิชาการ: วารสารรวมบทความวิชาการคณะโบราณคดี, 11(2): 38-43.
  24. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, กรมศิลปากร. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2549. 400 หน้า. หน้า 382. ISBN 978-974-4250-49-0
  25. สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 8. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้า, 2529. 4,305 หน้า.
  26. ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตที่ดินโบราณ. (๒๕๓๙, ๑๘ ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๐ ง. หน้า ๑๐.
  27. ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓๐ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕๐ (ต่อ)-๕๓). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2511. 336 หน้า. หน้า 14-15.
  28. ศิลปวัฒนธรรม, 26(4-6): 144.
  29. ราชบัณฑิตยสภา. เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู เล่ม 1 พระราชนิพนธ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2507.
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้