ฉบับร่าง:พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต)
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 179 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Jeabbabe (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 5 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
พระพรหมวชิรรังษี (จิรพล อธิจิตฺโต) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 7 ประโยค ศาสนศาสตรบัณฑิต ศน.บ. นักธรรมเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร |
บรรพชา | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 |
อุปสมบท | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2517 |
พรรษา | 51 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ธ) เจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร |
พระพรหมวชิรรังษี นามเดิม จิรพล พรหมทอง ฉายา อธิจิตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ลำดับที่ 8 สืบต่อจากสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)
ชาติภูมิ
แก้พระพรหมวชิรรังษี มีนามเดิมว่า จิรพล พรหมทอง เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายพริ้มและนางเกลื้อม พรหมทอง เป็นพระเถระด้านวิปัสนากรรมฐานที่มีความเรียบง่าย สันโดษ มีความสนใจทั้งด้านพระปริยัติธรรมและด้านวิปัสนากรรมฐาน โดยมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการเผยแผ่ด้านการวิปัสนากรรมฐานให้แก่ภิกษุสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา อย่างต่อเนื่อง บุกเบิกพัฒนาศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร ณ คลองสามวา ไว้สำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติสำหรับพระภิกษุและฆราวาสที่เรียบง่าย เงียบสงบ
ปฐมวัย
แก้ในวัยเยาว์ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มุ่งศึกษาอย่างจริงจังแต่ด้วยเห็นว่าวัดในต่างจังหวัดยังมีความไม่พร้อมในด้านการศึกษา จึงตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวงและได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2513 กระทั่งอายุครบบวชถึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2517 ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เป็นพระอุปัฌาย์ พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูเกษมวรคนี (บ่าว อรินฺทโม) วัดน้ำขาวนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อธิจิตฺโต" แปลว่า ผู้มีจิตสูง
ด้านการศึกษา
แก้♦ สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
♦ ปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
♦ รองแม่กองธรรมสนามหลวง
♦ ประธานอุปถัมถ์ศูนย์ปฏิบัติธรรมวชิรญาณ 200 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร
ด้านการปกครอง
แก้♦ พ.ศ.2558 เป็น พระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ[1]
♦ พ.ศ.2559 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธ)[2]
♦ พ.ศ.2559 เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - จังหวัดสมุทรปราการ (ธ)[3]
♦ พ.ศ.2561 เป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
♦ พ.ศ.2565 เป็น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[4]
♦ พ.ศ. 2566 เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (ธ)[5]
♦ พ.ศ. 2566 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม[6]
สมณศักดิ์
แก้♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2540 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระโสภณคณาภรณ์[7]
♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2548 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิญาณ ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
♦ 5 ธันวาคม พ.ศ.2558 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพสังวรญาณ ภาวนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
♦ 5 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวชิรญาณ ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปิฎกวราลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
♦ 12 มิถุนายน พ.ศ.2567 เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวชิรรังษี ปรีชาศาสนกิจบริหาร ปฏิภาณธรรมสาธก วิปัสสนาวิธานดิลก ตรีปฎกวราลงกรณ์ ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการคณะสงฆ์ธรรมยุตให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ ประจำปี ๒๕๕๘
- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทน เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอแต่งตั้ง พระเทพสังวรญาณ ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร - สมุทรปราการ (ธรรมยุต)
- ↑ "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 10/256 มติที่ 332/2565 เรื่อง รายงานการแต่งตั้ง พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร". มหาเถรสมาคม.
- ↑ "สมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้ง ' พระธรรมวชิรญาณ 'เป็น เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร". คมชัดลึก.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๔, ตอนที่ ๒๖ ข, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๐, หน้า ๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒ ข, ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙, หน้า ๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๒, ตอนที่ ๓๓ ข, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘, หน้า ๑
- ↑ "โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะ 10 รูป". ไทยพีบีเอส.
- ↑ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ พระธรรมวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นเป็น พระพรหมวชิรรังษี วิ.