พระบรมราชานุญาต
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
การพระราชทาน พระบรมราชานุญาต (อังกฤษ: Royal assent) เป็นวิธีการที่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทรงรับรองให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติของรัฐสภาอย่างเป็นทางการ สิทธิในการไม่ทรงยอมมอบพระบรมราชานุญาตเป็นสิทธิที่ใช้กันบ่อยในอดีตแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาก็เกือบไม่มีการใช้สิทธินี้แล้ว สิทธิยับยั้งพระบรมราชานุญาตเป็นสิทธิส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสิทธิที่แปลงไปใช้ในระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่าการยับยั้งของประธานาธิบดี (Presidential veto)
การพระราชทาน “พระบรมราชานุญาต” บางครั้งก็เป็นการกระทำอย่างมีพิธีรีตอง ในสหราชอาณาจักรพระมหากษัตริย์อาจจะทรงแต่งตั้ง “Lords Commissioners” ให้เป็นผู้ประกาศอ่านพระบรมราชานุมัติในพิธีที่ทำที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ พระราชวังบักกิงแฮม หรือที่ประทับอื่น แต่การพระราชทานพระบรมราชานุญาตสำหรับหนังสือตราตั้งจะเป็นพิธีที่เล็กกว่า
ในประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศออสเตรเลียและประเทศแคนาดา ผู้สำเร็จราชการอาจจะเป็นผู้ลงนามในร่างพระราชบัญญัติ ในแต่ละกรณีรัฐสภาก็ต้องประกาศการอนุญาต ทั้งสองวิธี “Lords Commissioners” หรือผู้แทนพระองค์ก็อาจจะอ่านประกาศการอนุญาตแก่ทั้งสองสภาของรัฐสภาร่วมกัน หรืออาจจะเป็นการประกาศที่แยกกันในกรณีนั้นผู้อ่านประกาศการอนุญาตก็คือประธานสภา