พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส)

พระธรรมไตรโลกาจารย์ นามเดิม ยอด อัครวงศ์ ฉายา อกฺกวํโส (1 มีนาคม พ.ศ. 2427 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่อีกท่านหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว[1] เป็นพระราชาคณะรูปแรกของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ที่มีสมณศักดิ์สูงที่สุด [2]

พระธรรมไตรโลกาจารย์

(ยอด อกฺกวํโส)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด1 มีนาคม พ.ศ. 2427 (62 ปี ปี)
มรณภาพ5 ตุลาคม พ.ศ. 2489
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์
อุปสมบท15 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
พรรษา42
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว
อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์

ประวัติ แก้

พระธรรมไตรโลกาจารย์ เกิดเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ที่บ้านพยุหะ ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โยมบิดาชื่อแจ่ม โยมมารดาชื่อคุณแม่ นาค อัครวงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 6 คน

การศึกษา แก้

เมื่ออายุ 9 ปี ได้ศึกษาภาษาไทยและขอมที่สำนักพระอาจารย์เสียม วัดเขาแก้ว ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระอุปัชฌาย์เทศ วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ ศึกษาและเรียนสนธิกับสมาส ในสำนักพระอาจารย์อ่อง วัดเขาแก้ว เรียนกับพระอาจารย์ลัภ วัดอินทาราม รวมไปถึงพระวินัยธรสิน วัดบางปราบ และไปเรียนกับหลวงธัญญผลพิทักษ์ (ขาว สุขลักษณ์) ชาวบ้านพยุหะบ้าง

ต่อมาเมื่ออายุได้ 14 ปี พระอาจารย์อ่อง ได้นำไปฝากพระสุนทรมุนี ใจ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี วัดทุ่งแก้ว (ปัจจุบันคือ วัดมณีสถิตกปิฎฐาราม)

เมื่ออายุได้ 21 ปี ได้ไปศึกษาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นรุ่นน้องของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)

อุปสมบท แก้

เมื่อายุได้ 21 ปี ได้กลับมาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยมีพระอาจารย์เทศ วัดเขาแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดคง วัดอินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวินัยธรสิน วัดบางปราบ เป็นอนุสาวนาจารย์ แล้วไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุฯ

วิทยฐานะ แก้

สมณศักดิ์[3] แก้

  • พ.ศ. 2459 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณกิติ
  • พ.ศ. 2472 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุธี ธรรมปรีชาภิมณฑ์ ปริยัตติโกศล ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2478 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • พ.ศ. 2488 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฏกคุณาลงกรณ์ ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี

การสอนปริยัติธรรม แก้

  • พ.ศ. 2450 เป็นครูที่วัดมหาธาตุฯ
  • พ.ศ. 2454 เป็นครูสอนประจำสำนักเรียนวัดทุ่งแก้ว

งานด้านการปกครอง แก้

  • พ.ศ. 2459 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมบาลีสนามหลวง
  • พ.ศ. 2465 เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2467 เป็นเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
  • พ.ศ. 2479 เป็นผู้อำนวยการศึกษาประจำจังหวัดนครสวรรค์

มรณภาพ แก้

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส) เริ่มอาพาธตั้งแต่ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ด้วยโรคบิดรากสาด เมื่อหายก็กลายเป็นโรคไตพิการ จนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เวลา 17.35 น. ณ วัดเขาแก้ว รวมอายุได้ 62 ปี พรรษา 42 ได้รับพระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมด้วยเครื่องประกอบเกียรติยศ ประดิษฐานศพ ณ ตึกรัตนคีรีวิทยากร และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเขาแก้ว เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2490[4]

อ้างอิง แก้

  1. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส)
  2. บุคคลสำคัญชุมชนเมืองหนองบัว:พระสงฆ์
  3. พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส)
  4. พระพุทธเจ้า 28 พระองค์และเรื่องของชาดก โดยพระมหาเช้า ป.9 พิมพ์แจกเนื่องในการพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมไตรโลกาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์


ก่อนหน้า พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ยอด อกฺกวํโส) ถัดไป
พระสมุห์แดง   เจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว
(พ.ศ. 2457 - พ.ศ. 2467)
  พระครูนิสิตคุณากร
( กัน คงครตโน)
พระครูเขมวิถีสังฆปาโมกข์  (สด)   เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
(พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2489)
  พระเทพสิทธินายก
(ห้อง  ชาตสิริ  ป.ธ.๖)
พระธรรมไตรโลกาจารย์
(ช้อย ฐานทตฺโต)
  พระธรรมไตรโลกาจารย์
(พ.ศ. 2488 — พ.ศ. 2489)
  พระธรรมไตรโลกาจารย์
(อาจ อาสโภ)