ผู้ใหญ่ลี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ผู้ใหญ่ลี เป็นเพลงลูกทุ่งเสียดสีสังคม ที่ขับร้องโดย ศักดิ์ศรี ศรีอักษร และโด่งดังในช่วงประมาณ พ.ศ. 2504 ในยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารระหว่างข้าราชการกับชาวบ้านอย่างมีอารมณ์ขัน
"ผู้ใหญ่ลี" | |
---|---|
เพลงลูกทุ่งโดยศักดิ์ศรี ศรีอักษร | |
เผยแพร่ | พ.ศ. 2504 |
บันทึกเสียง | พ.ศ. 2507 |
ผู้ประพันธ์เพลง | พิพัฒน์ บริบูรณ์ (อิง ชาวอีสาน) |
เพลงผู้ใหญ่ลีแต่งโดยพิพัฒน์ บริบูรณ์[1] หัวหน้าวงพิพัฒน์ บริบูรณ์ ซึ่งเป็นสามีของศักดิ์ศรี ศรีอักษร ดัดแปลงมาจากรำโทน เรื่องราวของชายชาวอีสานชื่อ "ลี" มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่ทางวงเคยมาร้องล้อเลียนและได้รับความนิยม พิพัฒน์ บริบูรณ์ได้ใช้นามแฝงว่า "อิง ชาวอีสาน" เพลงนี้ได้รับการบันทึกเสียงในปี พ.ศ. 2507 กลายเป็นเพลงฮิตและส่งให้ศักดิ์ศรี ศรีอักษร กลายเป็นนักร้องชื่อดัง ได้เข้าไปขับร้องในไนต์คลับหรูในกรุงเทพ และมีการดัดแปลงคำร้องเป็นเพลงภาคต่ออีกหลายฉบับ เช่น ผู้ใหญ่ลีเข้ากรุง ผู้ใหญ่ลีหาคู่ เมียผู้ใหญ่ลี ลูกสาวผู้ใหญ่ลี ผู้ใหญ่ลีผู้ใหญ่มา[2] และนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกสาวผู้ใหญ่ลี (2507) นำแสดงโดยศักดิ์ศรี ศรีอักษร และดอกดิน กัญญามาลย์ ต่อมาศักดิ์ศรี ศรีอักษร ได้นำมาขับร้องใหม่ในจังหวะวาทูซี (Watusi) ใช้ชื่อเพลงว่า"ผู้ใหญ่ลีวาทูซี่" นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชันของแหม่มสาวชื่อ หลุยส์/ลูอิส เคนเนดี้ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของสหรัฐในเมืองไทย ผู้ชื่นชอบเพลงนี้อย่างมาก จนได้บันทึกลงแผ่นซิงเกิลสปีด 45 และร้องออกรายการทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม รวมทั้งเวอร์ชันของคณะสามศักดิ์ นำโดยอรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ด้วย
เพลงผู้ใหญ่ลีได้รับเลือกเป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นจากงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2534 และได้รับการบันทึกเสียงใหม่อีกหลายครั้งโดยนักร้องคนอื่น ๆ เช่น นุภาพ สวันตรัจฉ์, หนู มิเตอร์, ไก่ พรรณิภา และถูกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารกรุงไทย [3] เมื่อ พ.ศ. 2547 จนถูกประท้วงจากสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย [4][5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ปิดตำนาน'พิพัฒน์ บริบูรณ์'ครูเพลงผู้แต่ง"ผู้ใหญ่ลี"". ไทยรัฐ ออนไลน์. 23 มกราคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ เพลงชุดผู้ใหญ่ลี 6 เพลง(มีตัวอย่างเพลงให้ฟัง) เก็บถาวร 2021-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ธนาคารกรุงไทยย้ำภาพธนาคารชุมชน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-08-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
- ↑ "เมืองไทยรายสัปดาห์ 11 มิถุนายน 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11. เมืองไทยรายสัปดาห์ 11 มิถุนายน 2547 [ลิงก์เสีย]
- ↑ กำนันผู้ใหญ่ประท้วงกรุงไทย ฉุนโฆษณา"ผู้ใหญ่ลี"ดูหมิ่น สำเนาจาก ผู้จัดการ [ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- “ผู้ใหญ่ลีตีอะไร...?” เก็บถาวร 2005-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย ฉบับที่ 2599 ปีที่ 50 ประจำวัน อังคาร ที่ 10 สิงหาคม 2547