อนุชา บูรพชัยศรี

อนุชา บูรพชัยศรี เป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ) ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย เป็นนักธุรกิจที่ก้าวสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2550 หลังจากทำงานภาคเอกชนมากว่า 20 ปี ด้านธุรกิจเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในงานก่อสร้าง

อนุชา บูรพชัยศรี
ไฟล์:อนุชา บูรพชัยศรี.jpg
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง

18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้า นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง

29 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การศึกษา

  • ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาโท(ดีเด่น) คณะวิทยาศาสตร์ สาขาการพลังงานและการเผาไหม้ มหาวิทยาลัยลีดส์ (University of Leeds) ประเทศอังกฤษ
  • ปริญญาตรี(เกียรตินิยม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยอเดเลด (The University of Adelaide) ประเทศออสเตรเลีย
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย เซเครทฮาร์ท คอลเลจ (Sacred Heart College) ประเทศออสเตรเลีย
  • มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก

งานการเมือง

อนุชาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้งเขตเลือกตั้งยังเป็นแบบเขตใหญ่ (แบบทีม 3 คน) ร่วมกับนายกรณ์ จาติกวณิช และนายสมเกียรติ ฉันทวานิช และได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯยกทีมทั้งสามคน

ในปี พ.ศ. 2553 หลังจากที่นายสมเกียรติ ฉันทวานิชได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งในคดีถือครองหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ นายอภิรักษ์ โกษะโยธินได้ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเวลาต่อมา และอนุชาได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อมในครั้งนั้น

อนุชาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่สองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 หลังมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเขตเลือกตั้งมีการปรับเปลี่ยนเป็นแบบเขตเล็ก (แบบเขตเดียวคนเดียว) และอนุชาได้รับการเลือกตั้งเข้าสภาฯเป็นสมัยที่สอง

อนุชาใช้ความรู้ และประสบการณ์จากภาคเอกชนในการเสนอ และผลักดันนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โลจิสติกส์ และด้านอุตสาหกรรม และมีบทบาทในการเป็นกรรมาธิการพิจารณากฎหมายสำคัญๆ อาทิเช่น ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศฯ (กฎหมาย 2 ล้านล้านบาท) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ และการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อนุชาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ) [1] และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามลำดับ [2]

งานภาคเอกชน

  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมโทรเอ็นจิเนียริ่งแอนด์แมชชีนเนอรี่ จำกัด
  • กรรมการบริหาร บริษัทในกลุ่มเอ็มอีซี

งานสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

1.  ↑ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๐๗๗/๒๕๖๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง

2.  ↑ สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 สิงหาคม 2563

3.  ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖

4.  ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏไทย ประจำปี ๒๕๕๓

5.  ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยประจำปี ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐสภาไทย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย
อำนวย ไชยโรจน์ • หม่อมหลวงขาบ กุญชร • อาจศึก ดวงสว่าง • นิสสัย เวชชาชีวะ • วีระ มุสิกพงศ์ • กำจัด กีพานิช • อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา • สมศักดิ์ ชูโต • ไตรรงค์ สุวรรณคีรี • มีชัย วีระไวทยะ • สุวิทย์ ยอดมณี • ปรีดิยาธร เทวกุล • ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ • วิษณุ เครืองาม • มนตรี เจนวิทย์การ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • อรรคพล สรสุชาติ • สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล • วราเทพ รัตนากร • อรรคพล สรสุชาติ • ยงยุทธ ติยะไพรัช • ศิธา ทิวารี • จักรภพ เพ็ญแข • เฉลิมเดช ชมพูนุท • สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี • ยงยุทธ มัยลาภ • ไชยา ยิ้มวิไล • วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ฐิติมา ฉายแสง • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ทศพร เสรีรักษ์ • ธีรัตถ์ รัตนเสวี • สรรเสริญ แก้วกำเนิด • นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ • อนุชา บูรพชัยศรี
(รองโฆษก) อาจศึก ดวงสว่าง • จรูญ กุวานนท์ • ปราโมทย์ สุขุม • ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ • อภิชาติ หาลำเจียก • ประเทือง วิจารณ์ปรีชา • วุฒิ สุโกศล • มนตรี ด่านไพบูลย์ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • ธำรงค์ ไทยมงคล • วิทยา แก้วภราดัย • อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ • เรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์ • อำนาจ ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สมชาย เพศประเสริฐ • สุนัย จุลพงศธร • กนลา ขันทปราบ • สมชาย สหชัยรุ่งเรือง • สาคร พรหมภักดี • ปาน พึ่งสุจริต • รัตนา จงสุทธนามณี • ณหทัย ทิวไผ่งาม • ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ • กุเทพ ใสกระจ่าง • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • ภูมิ สาระผล • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • ต่อพงษ์ ไชยสาส์น • ยุรนันท์ ภมรมนตรี • เฉลิมชัย มหากิจศิริ • ดนุพร ปุณณกันต์ • ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ • ศุภรัตน์ นาคบุญนำ • วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส • พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ • ศุภชัย ใจสมุทร • ศุภรักษ์ ควรหา • วัชระ กรรณิการ์ • ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ • มารุต มัสยวาณิช • อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด • อนุตตมา อมรวิวัฒน์ • ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา • ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ • สุณิสา เลิศภควัต • สรรเสริญ แก้วกำเนิด • วีรชน สุคนธปฏิภาค • รัชดา ธนาดิเรก • ไตรศุลี ไตรสรณกุล