ผู้ใช้:Stirz117/ทดลองเขียน8

สมศักดิ์ หรือ แขก ขวัญแก้ว (พ.ศ. 2486 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514) เป็นฆาตกรชาวไทยผู้ก่อเหตุฆาตกรรมนายทหารอากาศชาวอเมริกันที่อำเภอสัตหีบและเป็นบุคคลที่ถูกประหารชีวิตใกล้ที่เกิดเหตุคนแรกในสมัยถนอม กิตติขจร[1][2]

สมศักดิ์ ขวัญแก้ว
เกิดพ.ศ. 2486
ตำบลบางนา อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
เสียชีวิต1 ธันวาคม พ.ศ.2514 ( อายุ 28 ปี )
เชิงเขาตะแบก ตำบลเขาตะแบก อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเป็นชุด
ชื่ออื่นแขก, เทพ, ทอก
การศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3
อาชีพจัดหาแขกให้โสเภณี
สถานะทางคดีประหารชีวิตตามคำสั่งถนอม กิตติขจร
คู่สมรส8
ข้อหาฆาตกรรมและชิงทรัพย์
รายละเอียด
วันที่20 พฤศจิกายน พ.ศ 2514
01.00 น.
ตำแหน่งริมถนนสุขุมวิท หมู่ 4 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ตายนาวาอากาศโท แฮร์รี่ เอ็ม. ฟังค์ อายุ 40 ปี
อาวุธปืนขนาด.22
วันที่ถูกจับ
28 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
จำคุกที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอสัตหีบ

ประวัติ แก้

เขาเกิดที่จังหวัดพระนคร โดยเขาจบการศึกษาระดับมศ.3 ที่จังหวัดพระนคร ต่อมาได้ก่อเหตุทำร้ายร่างกาย ส่งผลให้เขาต้องเดินทางมายังอำเภอสัตหีบ โดยเขาประกอบอาชีพผู้จัดหาแขกให้โสเภณี ซึ่งเขาติดกัญชาและสุราอย่างรุนแรง โดยมีประวัติการก่ออาชญากรรมหลายครั้ง เช่นความฐานพยายามฆ่าในจังหวัดระยองและครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต[3] โดยเขาเคยทำงานในสนามบินทหารอู่ตะเภา แต่ก็ถูกไล่ออก[4]

การก่ออาชญากรรม แก้

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ 2514 นาวาอากาศโท แฮร์รี่ เอ็ม. ฟังค์ อายุ 40 ปี ซึ่งเป็นนายทหารอากาศชาวอเมริกัน ประจำการที่สนามบินอู่ทหารตะเภา และนิด ศรียาตรา อายุ 27 ปี ซึ่งเป็นเมียเช่าได้เดินทางออกจากโรงแรมสวอนเลค ไปยังบ้านของนิดซึ่งเช่าบ้านของละออง ศรีมา ต่อมาเวลา 01.00 น. ทั้งสองได้ออกจากบ้านเช่า สมศักดิ์ได้ใช้ปืนขู่แฮรรี่ โดยนิดได้พูดกับสมศักดิ์ว่า"อย่า เทพ" แต่ว่าแฮรี่ได้ขัดขืนและต่อสู้กับสมศักดิ์ เขาจึงใช้ปืนยิงแฮรี่ 2 นัด และยิงแฮรี่ซ้ำขณะกำลังพยายามหลบหนี[5] หลังจากนั้นสมเกียรติ ศรีมาและจอก พงษ์หัสบรรณ ได้นำศพของแฮรี่ไปทิ้งที่ข้างถนนและชิงทรัพย์ไป ต่อมาสมเกียรติได้พาละอองไปแจ้งความเพื่อเบี่ยงเบนคดี เขาถูกจับกุมที่วัดดาวคะนอง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนและพบว่าเขาเคยบวชที่วัดดาวคะนองและที่อยู่อาศัยของแฟนสาวอยู่บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี โดยจากการสอบสวนเขาได้ยอมรับว่าได้ก่อเหตุฆาตกรรมโดยแรงจูงใจคือต้องการนำเงินไปเที่ยวกับแฟนสาวสาวที่กรุงเทพแต่แฮรี่ขัดขืนทำให้ต้องฆาตกรรม โดยไม่ได้นำทรัพย์สินไป ซึ่งขณะก่อเหตุเขาเมากัญชา ในช่วงค่ำของวันเดียวกันเขาได้เปิดเผยว่านำปืนไปซ่อนที่พงหญ้าใกล้กับบ้านของญาติของเขาซึ่งห่างจากที่เกิดเหตุ 20 เมตร สองวันต่อมา สมศักดิ์ได้ยอมรับว่าแรงจูงใจของเขาคือประสงค์ต่อทรัพย์และนำนาฬิกาของแฮรี่ไปขายให้แฮรี่ในราคา 100 บาท[6][7][8]

การประหารชีวิต แก้

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้มีคำสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ให้พลเรือตรีสมุทร์ สหนาวิน ผู้บัญชาการสถานีทหารเรือสัตหีบเป็นประธานในการประหารชีวิตสมศักดิ์ที่เชิงเขาตะแบกซึ่งห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1.5 กิโลเมตร ด้วยการยิงเป้า[9]

ในช่วงเช้าของวันเดียวกัน สมศักดิ์ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นข้าวราดแกงเนื้อ เมื่อเวลา 11.30 น. เเม่ของสมศักดิ์ได้เดินทางมายังสถานีตำรวจภูธรอำเภอสัตหีบเพื่อขอเยี่ยมสมศักดิ์เป็นครั้งสุดท้ายแต่ก็ถูกปฎิเสธโดยตำรวจขอให้ไปพบกับสมศักดิ์ที่สถานที่ประหาร ต่อมาเวลา 13.10 น. สมศักดิ์ถูกเบิกตัวออกจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอสัตหีบ ขึ้นรถตู้เดินทางไปยังเขาตะแบกเพื่อประหารชีวิตในที่สาธารณะ หลังจากเดินทางมาถึงเขาตะแบก เจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปพิมพ์ลายนิ้วมือและเขียนพินัยกรรม โดยเขาได้บอกกับนักข่าวว่า “ที่ทำไปเพราะเมาทั้งเหล้าเมาทั้ง กัญชา ผมผิดไปแล้วก็ต้องยอม รับกรรม ลาก่อน..”[10] ต่อมาเวลา 13.40 น. เจ้าหน้าที่ได้นำอาหารมื้อสุดท้ายมา แต่เขาพูดว่าอิ่มแล้วกินไม่ลง หลังจากนั้นนำเขาไปฟังเทศน์จากพระครูประดับ จันทโชโต เมื่อจบการเทศน์เขาได้ก้มกราบพพระและใช้ปลายจีวรเช็ดน้ำตา เมื่อเวลา 14.15 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวเขาไปยังหลักประหาร และสารวัตรทหารเรือผูกมัดเขากับหลักประหาร หลังจากนั้นได้มีการอ่านคำสั่งหัวหน้าคณะปฎิวัติ เมื่ออ่านคำสั่งเสร็จสิ้น ผู้ควบคุมชุดเพชรฆาตได้เรียกแถวสารวัตรทหารเรือ จำนวน 5 นายซึ่งเป็นเพชรฆาต มายืนประจำจุดที่กำหนดไว้แล้วเล็งไปยังเป้าตาวัวซึ่งติดอยู่บนแผงผ้าใบสีขาว[11] หลังจากนั้นพลเรือตรีสมุทร์ สหนาวินได้ออกคำสั่งให้ยิง สมศักดิ์ถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 14.18 น.[12] โดยกระสุนเข้าสู่ร่างกายของสมศักดิ์จำนวน 25 นัด[13][14]หลังจากนั้นร่างของสมศักดิ์ถูกญาติของเขานำไปประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดราษฎร์สามัคคี[15]

ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2515 - 2516 ชาวบ้านได้ช่วยกันตั้งศาลโดยมีชื่อว่าศาลเจ้าพ่อเขาโค้งหรือศาลเจ้าพ่อเขาแขก ที่บริเวณริมถนนสุขุมวิท เชิงเขาตะแบก เพื่อให้เป็นสิงห์สถิตดวงวิญญาณและกราบไหว้ขอพร โดยมีความเชื่อว่าเวลาขับรถผ่านต้องบีบแตร[16] ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง ได้มีโครงการก่อสร้าง ปรับปรุง และแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ช่วงอำเภอสัตหีบ ถึงอำเภอบ้านฉาง เป็นระยะทาง 10.141 กิโลเมตร โดยขยายช่องทางจราจรเป็น 6 – 11 ช่องจราจร ซึ่งการขยายช่องทางจราจร จะตัดผ่านทับบริเวณจุดที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อแขก[17] ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เจ้าหน้าที่ของโครงการได้พิธีขอย้ายศาล โดยอัญเชิญขึ้นไปบนเชิงเขาสูงจากที่ตั้งศาลเดิม 50 เมตร เพื่อไม่ให้ชาวบ้านและคนในชุมชนไม่สบายใจ[18][19]

อ้างอิง แก้

  1. เรื่องเล่าจากแดนประหาร นาทีเสียงร้องระงม จุดธูปวอน อย่ารื้อ "ศาลเจ้าพ่อแขก"
  2. ศาลเจ้าพ่อเขาแขก ผลกรรม? ที่แลกด้วยชีวิต
  3. ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่11 คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ที่ 2/2514
  4. ศาลเจ้าพ่อเขาแขก ผลกรรม? ที่แลกด้วยชีวิต
  5. จุดประหารนักโทษ ริมถนนสุขุมวิท
  6. ศาลเจ้าพ่อเขาแขก ผลกรรม? ที่แลกด้วยชีวิต
  7. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2514
  8. หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2514
  9. ย้อนประวัติ! 'ศาลเจ้าพ่อเขาโค้ง' แดนประหารยิงเป้า จ่อทำพิธีย้ายศาลตัดถนนผ่าน
  10. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2514
  11. ผวา! ไม่กล้าตัดถนนผ่าน ศาลเจ้าพ่อแขก เปิดตำนานถูก 'จอมพลถนอม' สั่งยิงเป้าริมถนน!
  12. ชาวสัตหีบวอนอย่ารื้อ “ศาลเจ้าพ่อแขก” แดนประหารเขาตะแบกในอดีต
  13. ไม่มีใครกล้ารื้อ ศาลเจ้าพ่อแขก จุดยิงเป้านักโทษ สมัยจอมพลถนอม
  14. เคยมีคนตาย! ชาวบ้านเตือนอย่าลบหลู่ “ศาลเจ้าพ่อแขก”-คนงานยังไม่มีกำหนดย้าย
  15. หนังสือพิมพ์ไทยเดลี่ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2514
  16. พลังศรัทธา! ชาวบ้านจุดธูปวิงวอนขออย่ารื้อแดนประหาร “ศาลเจ้าพ่อแขก”
  17. รอทำพิธีย้าย "ศาลเจ้าพ่อเขาแขก" แดนประหาร ยิงเป้ามือฆ่าชิงทรัพย์ สมัยจอมพลถนอม
  18. ย้ายแล้ว "ศาลเจ้าพ่อเขาโค้ง" เอาขึ้นไปบนเชิงเขา เปิดทางปรับปรุงทางหลวง
  19. ทางหลวงใจเด็ด! ย้ายศาลเจ้าพ่อเขาโค้ง อดีตแดนประหารนักโทษเฮี้ยน 25 นัดถึงตาย