ผู้ใช้:Pppp5678/ทดลองเขียน

เทศบาลตำบลอุดมธัญญา ได้รับฐานะให้เป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 มีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็น 16หมู่บ้าน

เทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ตรา
สมญา: 
ทต.อุดมธัญญา
คำขวัญ: 
เกษตรกรรมล้ำเลิศ ชูเชิดเทียนพรรษา ลอยกระทงงามตา การกีฬาขจรไกล
ไฟล์:เทศบาลตำบลอุดมธัญญา
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
อำเภอตากฟ้า
จัดตั้ง• 12 มีนาคม 2538
(องค์การบริหารส่วนตำบลอุดมธัญญา)
• 12 กันยายน 2554
(เทศบาลตำบลอุดมธัญญา)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเรวัต เกิดแสง
พื้นที่208.9
 • ทั้งหมด208.9 ตร.กม. (80.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ปีที่สำรวจ 2561)
 • ทั้งหมด10,270 คน
 • ความหนาแน่น49 คน/ตร.กม. (130 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
109 หมู่14 ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ 60190 ประเทศไทย ไทย
เว็บไซต์www.udomthanya.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อาณาเขตติดต่อ

แก้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลพุนกยูง อำเภอตากฟ้า

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี

ประวัติความเป็นมา

แก้

ก่อนปี พ.ศ. 2513 ตำบลอุดมธัญญา เป็นหมู่บ้านในเขตการปกครองของตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี ระยะเวลาย้อนหลังไป 20 ปี ถนนสายตาคลี – ท่าตะโก เป็นเส้นทางรถไฟ และเป็นเส้นทางในการบรรทุกฟืน เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถไฟมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตัวขับเคลื่อน ทางรถไฟจึงถูกรื้อถอนเป็นถนนลูกรัง และถนนลาดยางในปัจจุบันนี้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 กระทรวงมหาดไทยได้แยกอำเภอตากฟ้าจากการปกครองออกของอำเภอตาคลี พร้อมกับแยกหมู่บ้านออกจากตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี และตั้งเป็นตำบลชื่อตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า

ประวัติหน่วยงาน ตำบลอุดมธัญญา ได้รับการจัดตั้งจากสภาตำบลอุดมธัญญา เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลอุดมธัญญา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2538 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลอุดมธัญญา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 และมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลครั้งแรก ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2555 ปัจจุบันเทศบาลตำบลอุดมธัญญาเป็นเทศบาลตำบลประเภทสามัญ

เขตการปกครอง

แก้
  • หมู่ที่ 1 บ้านคุ้งพัฒนา
  • หมู่ที่ 2 บ้านล้ำเจริญ
  • หมู่ที่ 3 บ้านดำรงรักษ์
  • หมู่ที่ 4 บ้านปรายราง
  • หมู่ที่ 5 บ้านอุดมธัญญา
  • หมู่ที่ 6 บ้านพุมะค่า
  • หมู่ที่ 7 บ้านโค้งบ้านใหม่
  • หมู่ที่ 8 บ้านหัวประแจ
  • หมู่ที่ 9 บ้านไร่ศรัทธาราษฎร์
  • หมู่ที่ 10 บ้านแคทราย
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองสุขสันต์
  • หมู่ที่ 12 บ้านสระเกตุโมรี
  • หมู่ที่ 13 บ้านพุม่วง
  • หมู่ที่ 14 บ้านหลักสิบเก้า
  • หมู่ที่ 15 บ้านหนองกระเปียน
  • หมู่ที่ 16 บ้านหนองรั้ว

การศึกษา

แก้

โรงเรียนมัธยมศึกษา

แก้
ลำดับที่ ชื่อโรงเรียน หมายเหตุ
1 โรงเรียนอุดมธัญญาประชานุเคราะห์

โรงเรียนประถมศึกษา

แก้
ลำดับที่ ชื่อโรงเรียน หมายเหตุ
1 โรงเรียนบ้านล้ำเจริญ
2 โรงเรียนบ้านดำรงรักษ์(ประชาอุทิศ) ขยายโอกาส
3 โรงเรียนบ้านอุดมธัญญา
4 โรงเรียนบ้านพุมะค่า
5 โรงเรียนบ้านไร่ศรัทธาราษฎร์
6 โรงเรียนบ้านแคทราย
7 โรงเรียนบ้านหนองสุขสันต์
8 โรงเรียนบ้านสระเกตุโมรี
9 โรงเรียนบ้านหลักสิบเก้า










โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ เป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอตากฟ้า ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวิทยาลัยการอาชีพตากฟ้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2517[1]

โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
 
ตราโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
เลขที่9 หมู่ที่1 ตำบลตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์

นครสวรรค์
ข้อมูล
คำขวัญสามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้
สถาปนา20 พฤษภาคม พ.ศ.2517
(50 ปี 62 วัน)
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
การกำกับดูแลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
รหัส60100760
ผู้บริหารนายอิทธิรัฐ น้อยเกิด
เพศสหศึกษา
การลงทะเบียน912 คน
(ปีการศึกษา2565)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน  ภาษาไทย
    ภาษาอังกฤษ
  ภาษาจีน
  ภาษาญี่ปุ่น
สี███ ม่วง
███ เหลือง
เพลงมาร์ชโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์
เว็บไซต์www.tw.ac.th

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  20 พฤษภาคม  2517  โดยเปิดทำการสอนครั้งแรกโดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงแฝกในวัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นที่เรียนมีครู 4 คน นักเรียน 67 คน[2]

  • พ.ศ.2518  โรงเรียนได้ย้ายจากวัดตากฟ้ามาสร้างอาคารชั่วคราวในที่ของโรงเรียนเองและกรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรอาคารเรียนถาวรครึ่งหลัง    4 ห้องเรียนพร้อมบ้านพักครู  1  หลัง  ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน  1  หลัง  บ้านพักนักการ 1 หลัง  และได้จัดสรรอาคารเรียนตึกอีกครึ่งหลังในปีต่อมา
  • พ.ศ.2520 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารตึกเต็มหลังแบบ 216 ก. และอาคารชั่วคราว ปีนี้โรงเรียนได้รับโล่ นักเรียนมีความประพฤติดีบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นเจ้าภาพจัดงาน ช.ก.ท.ระดับจังหวัด
  • พ.ศ.2521 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารชั่วคราว 3 ห้องเรียน บ้านพักครู 1 หลัง มีครู 25 คน มีนักเรียน 510 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2522  โรงเรียนจัดหาเงินบริจาค  ซื้อเครื่องดุริยางค์ได้จำนวน 60,000 บาท  มีครู 27 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2523 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารฝึกงาน 1 หลัง มีครู 27 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 3 คน
  • พ.ศ.2524 กรมสามัญศึกษา จัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง และอุปกรณ์ฝึกงานคหกรรม มีครู 37 คน นักเรียน 650 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2525 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 42 คน นักเรียน 670 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2526 วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 ได้รับอนุมัติให้เปิดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 42 คน นักเรียน 700 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2527 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารฝึกงาน 1 หลัง สร้างรั้วหน้าโรงเรียนยาว 150 เมตร มีครู 46 คน นักเรียน 750 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2528 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างถังเก็บน้ำฝน 3 ถัง มีครู 46 คน นักเรียน 870 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2529 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง ในปีนี้โรงเรียนได้รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน ช.ก.ท. ระดับจังหวัด มีครู 47 คน นักเรียน 807 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2530 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักครู 1 หลัง มีครู 50 คน นักเรียน 618 คน นักการภารโรง 4 คน
  • พ.ศ.2531 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 50 คน นักเรียน 750 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2532 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล. จำนวน 1 หลัง มีครู 48 คน นักเรียน 860 คน นักการภารโรง 5 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2533 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างถนนลาดยางในโรงเรียนยาว 200 เมตร มีครู 47 คน นักเรียน 914 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน
  • พ.ศ.2534 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารหอประชุม 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 45 คน นักเรียน 1,022 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2535 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้างบ้านพักนักการ 1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียน 1 หลัง มีครู 43 คน นักเรียน 1,032 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2536 กรมสามัญศึกษาจัดสรรงบประมาณให้สร้าง ถังน้ำประปาแบบ 9/9 วงเงิน 19,000 บาท 1 ถัง มีครู 47 คน นักเรียน 1,178 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2537 ชมรมผู้ปกครองและครูโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์มอบรถตู้ 1 คัน พร้อมอุปกรณ์มูลค่า 600,000 บาท มีครู 49 คน นักเรียน 1,251 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2538 บริษัท ไทยแลนด์ โพสต์ มิกซ์ ดิสตริบิวชั่น จำกัด บริจาครถยนต์กระบะ สเปซแคป 1 คัน และจานดาวเทียม มีครู 48 คน นักเรียน 1,361 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2539 สร้างถนนคอนกรีตเข้าโรงเรียน ระยะทาง 100 เมตร เป็นเงิน 246,042 บาท มีครู 51 คน นักเรียน 1,466 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2540 ได้งบประมาณ 15 ล้านบาท ก่อสร้างอาคารเรียน 424 ล.(พิเศษ) ปรับปรุงอาคารเรียน 1 เป็นเงิน 400,000 บาท มีครู 50 คน นักเรียน 1,441 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2541 จัดทำป้ายโรงเรียน สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคาร 2 ปรับปรุงสนามบาสเกตบอลและสร้างเพิ่มอีก 1 สนาม ปรับปรุงสนามฟุตบอลและสวนหย่อมภายในโรงเรียน มีครู 49 คน นักเรียน 1,520 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2542 สร้างถนนคอนกรีตทางเข้าโรงเรียนด้านหน้าอาคาร 1 และด้านหน้าโรงอาหาร สร้างสนามบาสเกตบอล 2 สนาม(สนามปรับปรุง)มีครู 50 คน นักเรียน 1,581 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2543 โรงเรียนจัดหาเงินบริจาคสร้างเสาธงชาติ มีครู 52 คน นักเรียน 1,385 คน นักการภารโรง 6 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2544 มีครู 53 คน นักเรียน 1,204 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2545 ได้รับงบประมาณในการจัดสร้างห้องน้ำห้องส้วมนักเรียนจำนวน 1 หลัง มีครู 52 คน นักเรียน 1,445 คน นักการภารโรง 4 คน พนักงานขับรถ 1 คน ยาม 1 คน
  • พ.ศ.2546 จัดสร้างองค์พระประจำวันโรงเรียนและ ศาลพระพรหม มีครู 49 คน นักเรียน 1,185 คน นักการภารโรง 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
  • พ.ศ.2547 มีครู 48 คน นักเรียน 1,144 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน มีอาคารเรียน 3 หลัง หอประชุม 1 หลัง โรงอาหาร 1 หลัง อาคารฝึกงาน 2 หลัง สนามบาสเกตบอล 2 สนาม สนามฟุตบอล 1 สนาม ส่วนโรงอาหารได้จัดสร้างขึ้นเอง นอกจากนี้ยังมีเรือนเพาะชำ สวนป่าบริเวณทั่วไป จัดเป็นสวนหย่อมหน้าอาคารเรียนมีโต๊ะหินขัดจัดวางให้นักเรียนนั่งพักผ่อนทำให้เกิดความร่มรื่นสวยงาม ระบบสาธารณูปโภคครบครัน ในการอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน พร้อมทั้งจัดสร้างโรงเก็บรถนักเรียน 1 หลัง จัดทำรั้วโรงเรียนเพิ่มเติม ห้องประชาสัมพันธ์และห้องสมุดโรงเรียนได้จัดหางบประมาณในการสร้าง
  • พ.ศ.2548 มีครู 48 คน นักเรียน 1,227 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน มีการจัดสร้างอาคารร้านสวัสดิการโรงเรียน
  • พ.ศ.2549 มีครู 48 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 5 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,260 คน และมีการจัดหางบประมาณจัดสร้างอาคารเรือนพยาบาล 1 หลัง อาคารหอศิลป์และวัฒนธรรม 1 หลัง และก่อสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศเหนือของโรงเรียน
  • พ.ศ.2550 มีครูประจำการ 50 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน นักเรียน 1,273 คน มีการจัดหางบบริจาค 1,700,000 บาท จัดสร้างโรงอาหารขนาด 32 x 45 เมตร จำนวน 1 หลัง และก่อสร้างรั้วคอนกรีตด้านทิศใต้ยาว 100 เมตร ของโรงเรียนและจัดซื้อรถบรรทุก 6 ล้อ (ยี่ห้อ HINO 150 แรงม้า) จากงบบริจาคจำนวน 300,000 บาท เพื่อรับส่งครูและนักเรียน ปวช. ไปเรียนภาคปฏิบัติที่วิทยาลัยการอาชีพอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีการปรับปรุงซ่อมแซมป้อมยามและโรงเก็บรถของนักเรียน กำลังก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาด 4 ห้องเรียน
  • พ.ศ.2551 มีครูประจำการ 46 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน นักเรียน 1,226 คน
  • พ.ศ.2552 มีฝ่ายบริหารจำนวน 5 คน ครู 39 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,230 คน
  • พ.ศ.2553 มีฝ่ายบริหารจำนวน 5 คน ครู 36 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,142 คน มีการตัดแต่งต้นไม้ปรับภูมิทัศน์รอบโรงเรียน ขุดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • พ.ศ.2554 ปรับปรุงต่อเติมห้องทำงานอาคาร 2 จัดทำห้องน้ำครูด้านหลังอาคาร 2 ปรับปรุงห้องติวเตอร์ ก่อสร้างอาคารห้องดนตรี ติดตั้งกล้อง CCTV ตามจุดสำคัญต่างๆ ทั่วโรงเรียน มีครู 52 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 7 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 6 คน นักเรียน 1,123 คน
  • พ.ศ.2555 จัดทำระบบน้ำประปาดื่มได้ “น้ำดื่มหยาดพิรุณ” โดยการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรธรณีและจำหน่ายให้กับชุมชน จัดทำผ้าป่าโรงเรียนเพื่อหาทุนซื้อรถมินิบัสให้กับโรงเรียน ก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล วงเงิน 300,000 บาท ก่อสร้างอาคารห้องกิจการนักเรียน มีครู 56 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 5 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 5 คน นักเรียน 1,081 คน
  • พ.ศ.2556 ปรับปรุงสถานที่โดยการติดตั้งไฟสปอร์ตไลท์รอบสนามฟุตบอล ปรับปรุงอาคารโดยการทาสีใหม่ทุกอาคาร มีครู 52 คน พนักงานราชการ 2 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 4 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน นักเรียน 1,097 คน
  • พ.ศ.2557 ปรับปรุงห้องธุรการ ห้องผู้บริหาร ห้องประชุมรุ่งพิรุณ ห้องประชุมเทวาบัณฑิต ห้องอรุณปัญญา ทำประตูเปิด ปิดหน้าโรงเรียน และก่อสร้างอาคารสภานักเรียนใหม่
  • พ.ศ.2558 เปิดห้องเรียนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์(สวค.) โรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนสุจริตและโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มีฝ่ายบริหารจำนวน 6 คน ครู 51 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 4 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,082 คน
  • พ.ศ.2559 มีฝ่ายบริหาร จำนวน 5 คน ครู 51 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน ลูกจ้างชั่วคราว 7 คน นักเรียน 1,030 คน

แผนการเรียน

แก้

มัธยมศึกษาตอนต้น

แก้
  • ห้อง 1-2 วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 3 ภาษาต่างประเทศ
  • ห้อง 4-6 ทั่วไป

มัธยมศึกษาตอนปลาย

แก้
  • ห้อง 1-2 วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 3 ภาษาต่างประเทศ
  • ห้อง 4-5 คอมพิวเตอร์ธุรกิจ[3]

อาคารและสถานที่

แก้

อาคาร1 สร้างเมื่อ พ.ศ.2520

อาคาร2 สร้างเมื่อ พ.ศ.2532

อาคาร3 สร้างเมื่อ พ.ศ.2540

อาคารอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

ห้องสมุด สร้างเมื่อ พ.ศ.2547

สนามฟุตบอล สร้างเมื่อ พ.ศ.2535

สนามบาสเกตบอล สร้างเมื่อ พ.ศ.2542

โดม สร้างเมื่อ พ.ศ.2562[4]

คณะสี

แก้
ชื่อคณะสี สีประจำคณะ สี
มรกต เขียว ███
ไพลิน ฟ้า ███
บุษราคัม เหลือง ███
โกเมน แดง ███

ปรัชญา/คำขวัญ

แก้

ปรัชญาของโรงเรียน สุวิชาโน ภวํ โหติ “ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ”

คำขวัญประจำโรงเรียน “สามัคคี มีวินัย ใฝ่ความรู้”


ดอกไม้ประจำโรงเรียน  : ดอกเฟื่องฟ้า

เพลงประจำโรงเรียน  : เพลงมาร์ชโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์

อักษรย่อโรงเรียน  : ต.ว.

ตราสัญลักษณ์  : พิรุณ – เมฆา

 


พิรุณ  รูปหยดน้ำ   หมายถึง  ความบริสุทธิ์  ความชื่นเย็นเหมือนสายฝน

เมฆา  ก้อนเมฆ     หมายถึง  การรวมตัวแสดงถึงพลังสามัคคี[5]

อ้างอิง

แก้
  1. "หน้าหลัก". www.tw.ac.th.
  2. "หน้าหลัก". www.tw.ac.th.
  3. "หลักสูตรโรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์". www.tw.ac.th.
  4. "โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์". data.bopp-obec.info.
  5. "ปรัชญา/คำขวัญ". www.tw.ac.th.