ผู้ใช้:Pilarbini/กระบะทราย/ถุงยางอนามัย

ถุงยางอนามัยขณะยังไม่ได้ใช้

ถุงยางอนามัย (อังกฤษ: condom) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิด ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในขณะร่วมเพศ ทำด้วยวัสดุจากยางพารา หรือโพลียูรีเทน โดยมีทั้งแบบสำหรับผู้ชายและผู้หญิง[1] ฝ่ายชายใช้โดยการสวมครอบอวัยวะเพศชายที่กำลังแข็งตัวก่อนการร่วมเพศ[2][3] โดยน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาถูกเก็บไว้ในถุงยางอนามัย ช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงในการได้รับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เอดส์ หนองใน การติดเชื้อทริโคโมแนส และ คลามายเดีย[3]

ถุงยางอนามัยชายส่วนมากผลิตจากยางพารา แต่ก็มีบ้างที่ผลิตจากวัสดุอื่น เช่น โพลียูรีเทน หรือ ลำไส้ของลูกแกะ[3] ข้อดีของถุงยางอนามัยชายคือความสะดวก ง่ายต่อการใช้งาน และผลข้างเคียงที่ืต่ำ[3] ผู้มีอาการแพ้ยางพาราควรใช้ถุงยางอยามัยที่ผลิตจากโพลียูรีเทนหรือวัสดุสังเคราะห์แบบอื่นแทน[3] ส่วนถุงยางอนามัยสำหรับสตรีมักผลิตจากโพลียูรีเทน และมักใช้ซ้ำได้หลายครั้ง[2] ถุงยางอนามัยสำหรับชายเป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดที่ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย ผลข้างเคียงน้อย และใช้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ถ้าใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้เพียง 2% ต่อปี[3] ทว่าในการใช้งานแบบทั่วไปแล้ว โอกาสการตั้งครรภ์อยูที่ 18% ต่อปี[4]

ถุงยางอนามัยถูกนำมาใช้งานในรูปแบบอื่นๆมากมายเพราะคุณสมบัติที่ทนทาน กันน้ำ และยืดหยุ่นได้ดี โดยนำมาใช้ผลิตไมโครโฟนกันน้ำเพื่ออัดเสียงใต้น้ำ[5] เรื่อยไปจนใช้กันปืนไรเฟิลติดขัด[6]

มีหลักฐานการใช้ถุงยางอนามัยครั้งแรกสุดในประวัติศาสตร์ อย่างน้อยเมื่อ 400 ปีที่แล้ว การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกแง่มุมหนึ่งที่เป็นปัญหา เช่น การทิ้งถุงยางอนามัยอย่างไม่เหมาะสมทำให้เกิดปัญหาจากขยะและศาสนจักรโรมันคาทอลิกก็ต่อต้านการใช้ถุงยางอนามัยด้วย

ถุงยางอนามัยถูกใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2107 [3] ถุงยางอนามัยซึ่งทำจากยางถูกทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2398 ตามมาด้วยถุงยางอนามัยซึ่งทำจากยางพาราในช่วง พ.ศ. 2443[7][8] ถุงยางอนามัยถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อยาหลักขององค์การอนามัยโลก[9] ราคาของถุงยางอนามัยในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 15 ถึง 35 บาทต่อชิ้น[10] ทั่วโลกต่ำกว่า 10% ของวิธีคุมกำเนิดคือการใช้ถุงยางอนามัย[11] โดยประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการใช้ที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา[11] ถุงยางเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ถูกใช้มากที่สุดเป็นอันดับสอง (22%) ในสหราชอาณาจักร และอันดับสาม (15%) ในสหรัฐอเมริกา[12][13] ในแต่ละปีถุงยางอนามัยถูกขายทั้งหมดประมาณหกถึงเก้าพันล้านอัน[14]

การใช้ทางการแพทย์ แก้

การคุมกำเนิด แก้

เช่นเดียวกับวิธีคุมกำเนิดส่วนใหญ่ ประสิทธิผลของถุงยางอนามัยนั้นประเมินได้สองแบบ ประสิทธิผลจากการใช้อย่างถูกต้อง (perfect use) หรือ ประสิทธิผลของวิธี คำนวนจากคนที่ใช้ถุงยางอยามัยอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ ส่วนประสิทธิผลการใช้ทั่วไป (typical use) หรือ การใช้งานจริง (Actual use) คำนวนจากผู้ใช้ถุงยางทุกคน รวมไปถึงผู้ที่ใช้อย่างผิดวิธี หรือผู้ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอยามัยในการร่วมเพศทุกครั้ง โดยทั่วไป อัตรามักมาจากการใช้ในปีแรก

อัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มผู้ใช้ถุงยางอนามัยอยู่ระหว่าง 10 ถึง 18% ต่อปี ขึ้นอยู่กับประชากรที่ศึกษา ส่วนอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องอยู่ที่ 2 % ต่อปี ถุงยางอนามัยอาจใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ (เช่น การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิ) เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แก้

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) โดยมีประสิทธิผลในการลดโอกาสติดเชื้อทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แม้การป้องกันจะไม่สมบูรณ์แบบ ถุงยางอนามัยมีประสิทธิผลในการลดการแพร่สิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิด โรคเอดส์ เริมบริเวณอวัยวะเพศ มะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ ซิฟิลิส คลามายเดีย โรคหนองในแท้ และโรคอื่น ๆ[15]

 
A giant replica of a condom on the Obelisk of Buenos Aires, Argentina, part of an awareness campaign for the 2005 World AIDS Day

ถุงยางอนามัยมักถูกแนะนำให้ใช้ร่วมกับวิธีคุมกำเนิดชนิดอื่นที่ได้ผลดีกว่า เช่น ห่วงอนามัย เมื่อต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [16]

อ้างอิงจากรายงานของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) หรือ NIH เมื่อปี พ.ศ. 2543 การใช้ถุงยางอนามัยประเภทยางพาราลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อประมาณ 85% เมื่อเทียบกับการไม่ป้องกัน โดยผู้ใช้ถุงยางอนามัยมีโอกาสติดเชื้ออยู่ที่ 0.9 ต่อ 100 ปีคน ลดลงจาก 6.7 ต่อ 100 ปีคน[17] การวิเคราะห์โดย University of Texas Medical Branch[18] และ องค์การอนามัยโลก[19] ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2550 แสดงผลใกล้เคียงกัน และพบว่าความเสี่ยงลดลง 80–95%

รายงานของ NIH ในปี พ.ศ. 2543 สรุปว่าการใช้ถุงยางอนามัยลดความเสี่ยงของการติดโรคหนองในแท้ในผู้ชาย[17] งานวิจัยปี พ.ศ.​ 2549 รายงานว่าการใช้ถุงยางอย่างถูกต้องลดการแพร่เชื้อของฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) สู่ผู้หญิงประมาณ 70%[20] อีกงานวิจัยในปีเดียวกันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอสามารถลดโอกาสติดเชื้อไวรัสเริมทั้งในชายและหญิง[21]

แม้ถุงยางอนามัยจะมีประสิทธิภาพในการจำกัดพื้นที่สัมผัส แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อของโรคบางชนิดได้ บางครั้งถุงยางอาจไม่สามารถปกปิดพื้นที่ติดเชื้อทั้งหมดได้ ทำให้โรคเช่น HPV และ เริมบริเวณอวัยวะเพศ สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านการสัมผัส[22] อย่างไรก็ตามปัญหาหลักที่ลดประสิทธิผลของการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การใช้ที่ไม่สม่ำเสมอ[23]

ถุงยางอนามัยอาจส่งผลดีในการรักษาการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูก การสัมผัสกับฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV) ดูเหมือนจะเพิ่มโอกาสการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดมะเร็ง แม้ในหมู่ผู้มีเชื้อ HPV ในร่างกาย การใช้ถุงยางอนามัยช่วยลดการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น[24] นอกจากนี้ นักวิจัยในสหราชอาณาจักรยังเสนอว่าฮอร์โมนในน้ำอสุจิสามารถทำให้มะเร็งปากมดลูกมีอาการแย่ลง ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการสัมผัสกับฮอร์โมน[25]

เหตุของการผิดพลาด แก้

ถุงยางอนามัยอาจหลุดออกจากอวัยวะเพศชายหลังการหลั่งน้ำอสุจิ[26], ฉีกขาดระหว่างใส่อย่างผิดวิธีหรือระหว่างการฉีกออกจากซอง, หรือขาดหรือหลุดเหนื่องจากการสลายตัวของยางพารา (มักเป็นเพราะถุงยางอนามัยหมดอายุ, เก็บอย่างผิดวิธี, หรือโดนน้ำมัน) อัตราการฉีกขาดอยู่ระหว่าง 0.4% ถึง 2.3% ส่วนอัตราการหลุดอยู่ระหว่าง 0.6% ถึง 1.3%[17] น้ำอสุจิยังถูกตรวจเจอในผู้หญิง 1–3% หลังมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยแม้จะไม่มีการฉีกขาดของถุงยางอนามัยก็ตาม[27][28]

"การซ้อนถุง" คือ การสวมถุงยางอนามัยสองถุงซ้อนกัน มีความเชื่อว่าพฤติกรรมนี้มักทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเนื่องจากการเสียดสีของยางกับยาง[29][30] งานวิจัยไม่ได้สนับสนุนความเชื่อนี้ โดยงานวิจัยจำนวนไม่มากที่ศึกษาเรื่องนี้พบว่าการใช้ถุงยางหลายอันซ้อนกันลดโอกาสการฉีกขาดของถุงยางอนามัย[31][32]

ความผิดพลาดแบบต่าง ๆ ส่งผลต่อการสัมผัสกับน้ำอสุจิในปริมาณต่างกัน หากการผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่างการใส่ ถุงยางที่มีความเสียหายสามารถถูกเปลี่ยนออกก่อนจะเริ่มมีเพศสัมพันธุ์ ทำให้การผิดพลาดแบบนี้มักไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ใช้[33] งานวิจัยงานหนึ่งพบว่าการฉีกขาดของถุงยางอนามัยส่งผลให้มีการสัมผัสกับน้ำอสุจิปริมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน ส่วนการลื่นหลุดของถุงยางอนามัยทำให้สัมผัสกับน้ำอสุจิประมาณหนึ่งส่วนห้าของการร่วมเพศแบบไม่ป้องกัน[34]

ถุงยางอนามัยธรรมดามักจะใช้ได้กับองคชาตเกือบทุกแบบ โดยอาจให้ความสบายหรือมีความเสี่ยงที่จะหลุดไม่เท่ากัน ผู้ผลิตถุงยางอนามัยหลายรายวางขายขนาดใหญ่หรือเล็กพิเศษ ผู้ผลิตบางรายยังขายถุงยางอนามัยขนาดตามสั่ง โดยอ้างว่าเชื่อถือได้มากกว่า ทำให้รู้สึกดีกว่า และใส่สบายกว่า[35][36][37] บางงานวิจัยพบว่าองคชาตขนาดใหญ่กว่าและถุงยางอนามัยขนาดเล็กกว่ามีความสัมพันธ์กับโอกาสการรั่วของถุงยางที่เพิ่มขึ้นและอัตราการลื่นหลุดที่ลดลง ทว่าการทดลองอื่นยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน[38]

คนที่ตั้งใจใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำเนิด อาจตั้งครรภ์หลังร่วมเพศโดยไม่ใช่ถุงยางอนามัย โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อถุงยางหมด, ขณะกำลังเดินทางและไม่ได้พกถุงยาง, หรือแค่เพียงไม่ชอบความรู้สึกและตัดสินใจที่จะ "เสี่ยง" พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักของการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างทั่วไป (เมื่อเทียบกับอัตราการล้มเหลวเมื่อใช้อย่างถูกต้อง)[39]

อีกความเป็นไปได้หนึ่งที่ทำให้ถุงยางอนามัยล้มเหลวคือการกลั่นแกล้ง โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อคนใดคนหนึ่งอยากมีลูกในขณะที่คู่ไม่อยากมี[40] ผู้ขายบริการทางเพศจากไนจีเรียบางคนรายงานว่าลูกค้ากลั่นแกล้งโดยการทำลายถุงยางอนามัยหลังถูกบังคับให้ใช้ถุงยางอนามัย[41] เชื่อว่าการใช้เข็มเจาะที่ปลายถุงยางอนามัยเป็นการลดประสิทธิผลของถุงยางอนามัยลงอย่างมาก[42]: 306–307 [28] เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้ว[43]


ประวัติศาสตร์ แก้

พ.ศ. 2494 แก้

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ว่ามีการใช้ถุงยางอนามัยมาตั้งแต่สมัยอารยธรรมโบราณหรือไม่ ในอาณาจักรอียิปต์ กรีกและโรมันโบราณ การป้องกันการตั้งครรภ์เป็นภาระหน้าที่ของเพศหญิง และวิธีการคุมกำเนิดที่มีเอกสารยืนยันก็คืออุปกรณ์ที่ใช้กับสตรี ในเอเชียช่วงก่อนศตวรรษที่ 15 มีการบันทึกถึงการใช้ถุงยางอนามัยชนิดสวมครอบเฉพาะส่วนหัวขององคชาต ถุงยางอนามัยในฐานะที่ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อการคุมกำเนิดเป็นที่รู้จักกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ในประเทศจีน ถุงยางอนามัยผลิตจากไหม กระดาษ หรือลำไส้ลูกแกะ ส่วนในญี่ปุ่นจะผลิตจากกระดองเต่า

การรณรงค์เรื่องถุงยางอนามัยในปัจจุบัน แก้

เครื่องวัดขนาดอวัยวะเพศชายเพื่อนำผลวัดไปเลือกใช้ถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับขนาด แก้

ปัจจุบันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ร่วมกันรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยอย่างมากและได้ทำการออกแบบเครื่องมือวัดขนาดอวัยวะเพศชาย เพื่อประโยชน์ในการที่ชายไทยจะได้วัดขนาดอวัยวะเพศของตนเองและเลือกซื้อถุงยางอนามัยได้ตรงขนาดกับอวัยวะเพศของตัวเอง อีกทั้งยังได้จัดทำโพลสำรวจเกี่ยวกับขนาดอวัยวะเพศของ ชายไทยด้วย เนื่องจากพบว่ามีชายไทยหลายกลุ่มอายุที่ไม่มีถุงยางอนามัยขนาดที่พอเหมาะกับอวัยวะเพศใช้งานกัน การทำโพลสำรวจในครั้งนี้จะนำพาไปถึงอนาคตที่จะผลิตถุงยางอนามัยขนาดต่างๆให้ เหมาะสมกับขนาดของผู้ใช้อย่างทั่วถึง

ถุงยางอนามัยในรูปแบบอื่น แก้

  • ถุงยางอนามัยสำหรับสตรี (female condom) ผลิตจากโพลียูรีเทน ใช้สวมใส่ในสตรี
  • แผ่นแดม (dental dam, vaginal dam, oral dam) เป็นแผ่นยางอนามัย ใช้สำหรับออรัลเซ็กส์

อ้างอิง แก้

  1. WHO Model Formulary 2008 (PDF). World Health Organization. 2009. p. 372. ISBN 9789241547659. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2017.
  2. 2.0 2.1 Speroff, Leon; Darney, Philip D. (2011). A Clinical Guide for Contraception (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. pp. 305–307. ISBN 9781608316106. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Hatcher, Robert Anthony; M.D, Anita L. Nelson (2007). Contraceptive Technology (ภาษาอังกฤษ). Ardent Media. pp. 297–311. ISBN 9781597080019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-18.
  4. Trussell, J (2007). "Contraceptive efficacy" (PDF). Ardent Media. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 2011-03-13.
  5. Carwardine, Mark; Adams, Douglas (1991). Last chance to see. New York: Harmony Books. ISBN 0-517-58215-5.
  6. Ambrose, Stephen E (1994). D-Day, June 6, 1944: the climactic battle of World War II. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-671-71359-0.
  7. Allen, Michael J. (2011). The Anthem Anthology of Victorian Sonnets (ภาษาอังกฤษ). Anthem Press. p. 51. ISBN 9781843318484.
  8. McKibbin, Ross (2000). Classes and Cultures: England 1918-1951 (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 305. ISBN 9780198208556.
  9. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  10. "ถุงยางอนามัย : วิธีการใส่ถุงยาง & รีวิวถุงยางอนามัย 13 ยี่ห้อ !!". MedThai. 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. 11.0 11.1 Chen, Lincoln C.; Amor, Jaime Sepulveda; Segal, Sheldon J. (2012). AIDS and Women’s Reproductive Health (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 6. ISBN 9781461533542.
  12. Herring, Jonathan (2014). Medical Law and Ethics (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 271. ISBN 9780198702269.
  13. Daniels, K; Daugherty, J; Jones, J; Mosher, W (10 November 2015). "Current Contraceptive Use and Variation by Selected Characteristics Among Women Aged 15-44: United States, 2011-2013". National health statistics reports (86): 1–14. PMID 26556545.
  14. Hermann, Henry R. (2016). Dominance and Aggression in Humans and Other Animals: The Great Game of Life (ภาษาอังกฤษ). Academic Press. ISBN 9780128092958.
  15. "Condom". Planned Parenthood. 2008. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  16. Cates, W.; Steiner, M. J. (2002). "Dual Protection Against Unintended Pregnancy and Sexually Transmitted Infections: What Is the Best Contraceptive Approach?". Sexually Transmitted Diseases. 29 (3): 168–174. doi:10.1097/00007435-200203000-00007. PMID 11875378. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25.
  17. 17.0 17.1 17.2 National Institute of Allergy and Infectious Diseases (2001-07-20). Workshop Summary: Scientific Evidence on Condom Effectiveness for Sexually Transmitted Disease (STD) Prevention (PDF). Hyatt Dulles Airport, Herndon, Virginia. pp. 13–15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-10-09. สืบค้นเมื่อ 2010-09-22.
  18. Cayley, W.E. & Davis-Beaty, K. (2007). Weller, Susan C (บ.ก.). "Effectiveness of Condoms in Reducing Heterosexual Transmission of HIV (Review)". Reviews. John Wiley & Sons, Ltd. doi:10.1002/14651858.CD003255.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. World Health Organization Department of Reproductive Health and Research (WHO/RHR) & Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health/Center for Communication Programs (CCP), INFO Project (2007). Family Planning: A Global Handbook for Providers. INFO Project at the Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health. p. 200. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-27.
  20. Winer, R; Hughes, J; Feng, Q; O'Reilly, S; Kiviat, N; Holmes, K; Koutsky, L (2006). "Condom use and the risk of genital human papillomavirus infection in young women". N Engl J Med. 354 (25): 2645–54. doi:10.1056/NEJMoa053284. PMID 16790697. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-21. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  21. Wald, Anna; Langenberg, AG; Krantz, E; Douglas Jr, JM; Handsfield, HH; Dicarlo, RP; Adimora, AA; Izu, AE; Morrow, RA; Lawrence, C (2005). "The Relationship between Condom Use and Herpes Simplex Virus Acquisition". Annals of Internal Medicine. 143 (10): 707–713. doi:10.7326/0003-4819-143-10-200511150-00007. PMID 16287791. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-07.
  22. Villhauer, Tanya (2005-05-20). "Condoms Preventing HPV?". University of Iowa Student Health Service/Health Iowa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-26.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ badnews
  24. Hogewoning, Cornelis J; Bleeker, MC; van den Bruler, AJ; Voorhorst, Feja J; Snijders, Peter JF; Berkhof, Johannes; Westenend, Pieter J; Meijer, Chris JLM (2003). "Condom use Promotes the Regression of Cervical Intraepithelial Neoplasia and Clearance of HPV: Randomized Clinical Trial". International Journal of Cancer. 107 (5): 811–816. doi:10.1002/ijc.11474. PMID 14566832.
  25. "Semen can worsen cervical cancer". Medical Research Council (UK). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2007-12-02.
  26. Sparrow, M; Lavill, K (1994). "Breakage and slippage of condoms in family planning clients". Contraception. 50 (2): 117–29. doi:10.1016/0010-7824(94)90048-5. PMID 7956211.
  27. Walsh, T; Frezieres, R; Peacock, K; Nelson, A; Clark, V; Bernstein, L; Wraxall, B (2004). "Effectiveness of the male latex condom: combined results for three popular condom brands used as controls in randomized clinical trials". Contraception. 70 (5): 407–13. doi:10.1016/j.contraception.2004.05.008. PMID 15504381.
  28. 28.0 28.1 Walsh, T; Frezieres, R; Nelson, A; Wraxall, B; Clark, V (1999). "Evaluation of prostate-specific antigen as a quantifiable indicator of condom failure in clinical trials". Contraception. 60 (5): 289–98. doi:10.1016/S0010-7824(99)00098-0. PMID 10717781.
  29. "Does using two condoms provide more protection than using just one condom?". Condoms and Dental Dams. New York University Student Health Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  30. "Are two condoms better than one?". Go Ask Alice!. Columbia University. 2005-01-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-19. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
  31. "The Truth About Condoms" (PDF). Planned Parenthood. Katharine Dexter McCormick Library. 2011-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  32. "Multiple Condom Use and Decreased Condom Breakage and Slippage in Thailand". Rugpao et al. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes & Human Retrovirology. 1996-10-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
  33. Richters, J; Donovan, B; Gerofi, J (1993). "How often do condoms break or slip off in use?". Int J STD AIDS. 4 (2): 90–4. PMID 8476971.
  34. Walsh, T; Frezieres, R; Peacock, K; Nelson, A; Clark, V; Bernstein, L; Wraxall, B (2003). "Use of prostate-specific antigen (PSA) to measure semen exposure resulting from male condom failures: implications for contraceptive efficacy and the prevention of sexually transmitted disease". Contraception. 67 (2): 139–50. doi:10.1016/S0010-7824(02)00478-X. PMID 12586324.
  35. "For Condoms, Maybe Size Matters After All". CBS News. 2007-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  36. "Next big thing, why condom size matters". Menstruation.com. 2007-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  37. "TheyFit: World's First Sized to Fit Condoms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-11-11.
  38. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fhi3
  39. Steiner, M; Cates, W; Warner, L (1999). "The real problem with male condoms is nonuse". Sex Transm Dis. 26 (8): 459–62. doi:10.1097/00007435-199909000-00007. PMID 10494937.
  40. "Childfree And The Media". Childfree Resource Network. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.
  41. Beckerleg, Susan; Gerofi, John (October 1999). "Investigation of Condom Quality: Contraceptive Social Marketing Programme, Nigeria" (PDF). Centre for Sexual & Reproductive Health: 6, 32. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ kippley
  43. "Canadian man who poked holes in condoms to impregnate girlfriend loses appeal," New York Daily News, March 7, 2014, "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-08-15.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)