ปืนคาบชุด

กลไกของอาวุธปืน

ปืนคาบชุด (อังกฤษ: Matchlock) คือระบบกลไกปืนชนิดหนึ่งซึ่งใช้หลักการจุดชนวนด้วย "ชุด" (match) ซึ่งทำมาจากเชือกชุบเชื้อไฟเพื่อให้เชือกเกิดการลุกไหม้อย่างช้า ๆ คาบเชือกไว้ด้วยกระเดื่อง ที่มีลักษณะเหมือนหัวงูซึ่งมีลักษณะโค้งงอไปมาเป็นรูปตัว S เมื่อเหนี่ยวไกปืนเพื่อทำการยิง ปลายของชุดก็จะตีลงบนจานชนวนทำให้เกิดประกายไฟลุกไหม้ขึ้นที่เชือกและเข้าไปจุดระเบิดดินปืนที่อยู่ภายใน ทำให้เกิดแรงผลักลูกกระสุนออกไปได้

ปืนคาบชุดเยอรมัน

ประวัติ แก้

มีการนำมาใช้ในทวีปยุโรปในช่วงปี พ.ศ. 1993 (ค.ศ.1450) ชาวโปรตุเกสได้นำปืนคาบชุดเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาช่วงประมาณ 100 ปีหลังจากนั้น ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งนำมาใช้สู้รบกับพม่าจนได้รับชัยชนะอย่างง่ายดายในปี พ.ศ. 2089 จนมีการตั้งกองอาสาโปรตุเกสขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่สู้รบโดยใช้อาวุธปืนคาบชุด และสอนการใช้อาวุธปืนไฟให้กับชาวไทย และหลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ. 2091) ในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเกิด "สงครามคราวเสียพระสุริโยไท" ปืนคาบชุดก็มามีบทบาทในการสู้รบกับพม่าเป็นอย่างมาก

 
ปืนคาบชุด ที่คาบเชือกชุดอยู่ในปากกระเดื่อง

ในปี พ.ศ. 2135 อาวุธปืนได้เข้าเผยแพร่ในสยามอยู่เป็นระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็เป็นปืนเล็กเท่านั้น ควาญท้ายช้างพระที่นั่งและคนกลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถก็ถูกปืนตาย แม้แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เองก็ถูกปืนคาบชุดที่พระหัตถ์หลังฟันพระมหาอุปราชมังสามเกียดสิ้นพระชนม์แล้ว

ดูเพิ่ม แก้