ปาล์มโอเอส หรือ พาล์มโอเอส (อังกฤษ: PalmOS) หรือชื่อระบบปฎิบัติการเรียกชื่อใหม่ คือ ปาล์มเว็บโอเอส(Palm WebOS), เอชพี-ปาล์ม เว็บโอเอส [ควบรวมกิจการ](HP-Palm WebOS) และในปัจจุบันคือ แอลจี เว็บโอเอส [อนุญาตสิทธิบัตรจากเอชพี] เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ถูกคิดค้นและสร้างโดยบริษัท ปาล์มซอร์สอิงค์ สำหรับใช้กับอุปกรณ์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา /เครื่องผู้ช่วยส่วนบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (Personal or Pocket Digital Assistant หรือเรียกโดยย่อทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่าพีดีเอ (PDA)ซึ่งมีกลุ่มบริษัทคอมพิวเตอร์เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์กลุ่มนี้เป็นหลัก บริษัทของผู้ผลิตรายใหญ่ของอุปกรณ์พีดีเอที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก อาทิเช่น พีดีเอจากปาล์มอิงค์, ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์, ลีโนโว, การ์มิน-เอซุสเทค และ โซนี่ คอร์ปฯ (โซนี่ คลีเอ้) ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานในฐานะของคอมพิวเตอร์ย่อส่วนเพื่อพกพาติดตัวได้ง่าย โดยจะมีระบบปฎิบัติการติดตั้งไว้ล่วงหน้าพร้อมกับแอปพลิเคชันประยุกต์ หรือโปรแกรมชนิดย่อส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ ที่จำเป็นนักธุรกิจและพนักงานของทุกองค์กร ใช้สำหรับการบริหารภาระงานประจำวันทั่วไปเช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์, ตารางนัดหมาย, ปฎิทินและวันสำคัญต่างๆ, สมุดบันทึกที่อยู่, สมุดโทรศัพท์/ผู้ติดต่อส่วนบุคคล, นาฬิกาและเขตเวลาโลก, ระบบโอนย้ายและปรับปรุงเนื้อหากันระหว่างอุปกรณ์(Sync) และรวมถึงคุณสมบัติในระบบความปลอดภัย เช่น บันทึกเสียง, บันทึกเลขธุรกรรมและรหัสลับส่วนบุคคล โดยอุปกรณ์เปิดตัวผลิตภัณฑ์เป็นครั้งแรกและดำเนินการเริ่มจัดจำหน่ายอุปกรณ์ในเชิงพาณิชย์เมื่อปี ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539)

ปาล์มโอเอส
หน้าแสดงแอปพลิเคชันของปาล์มโอเอส
ผู้พัฒนาPalm, Inc., Access Edit this on Wikidata
เขียนด้วยภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาซี Edit this on Wikidata
สถานะยุติการพัฒนา
วันที่เปิดตัวพ.ศ. 2539 Edit this on Wikidata
สัญญาอนุญาตproprietary license Edit this on Wikidata
เว็บไซต์www.access-company.com/products/platforms/garnet/index.html

ประวัติ

แก้

ปาล์มโอเอสได้รับการพัฒนาขึ้นโดย เจฟ ฮอว์กินส์ (Jeff Hawkins) เพื่อใช้กับเครื่องพีดีเอ ปาล์มไพล็อต (Palm Pilot) ที่ผลิตขึ้นโดยยูเอสโรโบติกส์ (US Robotics) ปาล์มโอเอสรุ่น 1.0 ได้ถูกติดตั้งลงในเครื่องปาล์มไพล็อตรุ่น 1000 และ 5000 และรุ่น 2.0 ได้ถูกติดตั้งลงบนปาล์มไพล็อตรุ่น เพอร์ชันแนล และ โปรเฟสชันแนล

เมื่อมีการเปิดตัวปาล์ม ทรี ซีรีส์ (Palm III Series) ได้มีการเปิดตัวปาล์มโอเอสรุ่น 3.0 ที่ใช้กับเครื่องรุ่นนี้พร้อมกัน และยังมีการพัฒนารุ่น 3.1, 3.3 และ 3.5 ที่ได้เพิ่มคุณสมบัติการแสดงผลสี การใส่หน่วยความจำภายนอก หน่วยประมวลผลแบบใหม่ และการเพิ่มเติมอื่นๆ

รุ่น 4.0 ได้ออกมาพร้อมปาล์ม เอ็ม 500 ซีรีส์ (Palm M500 Series) และได้ทำการติดตั้งลงในเครื่องรุ่นก่อนหน้านี้ด้วย เวอร์ชันนี้ได้เพิ่มการเข้าถึงไฟล์ในรูปแบบมาตรฐานผ่านหน่วยความจำภายนอก เช่น เอสดีการ์ด เป็นต้น และยังมีการปรับปรุงโปรแกรมโทรศัพท์และโปรแรมความปลอดภัยเพิ่มเติม รุ่น 5.0 ได้เปิดตัวพร้อมกับเครื่องรุ่น ทังสเตน ที และเป็นเวอร์ชันแรกที่สนับสนุน ระบบประมวลผลแบบอาร์ม (ARM architecture) เพื่อให้ระบบสนับสนุนการทำงานแบบอาร์ม แอปพลิเคชันต่าง ๆ จะต้องทำงานอยู่บนสภาวะจำลองที่เรียกว่า ปาล์มแอปพลิเคชันคอมพาทิบิลิทีเอนวิโรเมนท์ (Palm Application Compatibility Environment หรือ PACE) และเพื่อความเข้ากันได้ดีของซอฟต์แวร์บนสภาวะจำลอง แอปพลิเคชันเดิมจะต้องประมวลผลด้วยระบบอาร์มด้วยความเร็วที่สูงกว่าเดิม ส่วนซอฟต์แวร์ใหม่จะสามารถทำงานบนระบบประมวลผลอาร์มโดยตรงด้วยพีเอ็นโอ (PACE Native objects) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งการทำงานบนอาร์มขนาดเล็ก

ปาล์มโอเอส 5.2 และ 4.1.2 (ในรุ่นที่ออกมาในภายหลัง) ได้มีการเพิ่มฟังก์ชัน กราฟฟิตี2 เข้ามา ปาล์มซอร์สได้ทำการเปิดตัวปาล์มโอเอส 6 ในปีค.ศ. 2003(พ.ศ. 2546)

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

แก้

เป็นเวลาหลายปีที่ปาล์มซอร์สได้พัฒนาและขายสิทธิ์ในการใช้ปาล์มโอเอส 5

โครงร่างของปาล์มโอเอส 6 ได้ถูกส่งให้ผู้ผลิตเครื่องมือถือในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ซึ่งในรุ่นนี้จะรองรับแอปพลิเคชันที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมแบบอาร์มโดยตรงและการสนับสนุนทางมัลติมีเดียที่ดียิ่งขึ้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ปาล์มซอร์สได้ประกาศชื่อที่ใช้ในการพัฒนาพร้อมประกาศว่าการพัฒนาปาล์มโอเอสรุ่นที่ 5.x จะไม่ทำให้การพัฒนารุ่นที่ 6.x หยุดชะงักลง โดยรุ่นที่ 5 มีชื่อที่ใช้ในการพัฒนาว่า การ์เนต ส่วนรุ่นที่ 6 มีชื่อในการพัฒนาว่า โคบอลต์

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ปาล์มซอร์สได้เปิดเผยคุณสมบัติของปาล์มโอเอสโคบอลต์รุ่น 6.1 ซึ่งจะรองรับหน้าจอที่ทำงานด้วยความละเอียดที่สูงขึ้น ระบบโทรศัพท์ที่ได้รับการออกแบบใหม่ การใช้งานด้วยมือข้างเดียว และรูปแบบตัวอักษรที่มีให้เลือกใช้งานมากขึ้น

หลังจากปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ปาล์มซอร์สได้ประกาศว่ารุ่นถัดไปของปาล์มโอเอสจะรองรับการทำงานบนชั้นบนสุดของลินุกซ์เคอร์เนล และด้วยสาเหตุนี้เอง จึงทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งหมดตั้งล่าช้าออกไป

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ในการประชุมนักพัฒนาของปาล์มซอร์ส ได้มีการประกาศว่า ปาล์มวันได้รับสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าปาล์ม โดยปาล์มวันจะให้สิทธิ์ในการใช้ชื่อกับปาล์มซอร์สและผู้รับช่วงสิทธิ์

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ปาล์มซอร์สได้ควบรวมกิจการกับแอคเซส บริษัทซอฟต์แวร์ของญี่ปุ่น หลังจากนั้นหนึ่งเดือนปาล์มได้เปิดตัวปาล์มทรีโอ700 ซึ่งทำงานบนวินโดวส์โมเบิลเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ว่าปาล์มจะเปลี่ยนแปลงตนเองมาพัฒนาระบบปฏิบัติการ 2 ระบบบนเครื่องมือถือของตนเอง

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 ปาล์มซอร์สได้เปิดตัวแอคเซสลินุกซ์แพลตฟอร์มซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดของปาล์มโอเอสบนลินุกซ์ แต่ชื่อใหม่ของปาล์มโอเอสก็ยังไม่เป็นที่รับรู้กัน

ในปีค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ก็ยังไม่มีเครื่องมือถือที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการปาล์มโอเอส โคบอลต์

แอปพลิเคชันที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการปาล์มโอเอส

แก้

ปาล์มโอเอสมาพร้อมแอปพลิเคชันซึ่งมีอยู่ในเครื่องมือถือปาล์ม บางครั้งผู้ผลิตอาจทำการดัดแปลงและแอปพลิเคชันเหล่านี้ นี่คือส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันโดยปาล์มซอร์สที่มาพร้อมปาล์มโอเอส:

สมุดบันทึกที่อยู่ (Address Book/Contacts)

แก้

โปรแกรมบันทึกที่อยู่ของปาล์มสามารถจัดเก็บข้อมุลส่วนตัวและแสดงโดยเรียงตามลำดับชื่อจริง ชื่อสกุล หรือตามชื่อบริษัทและชื่อสกุลก็ได้ มีช่องห้าช่องสำหรับโทรศัพท์และอีเมลซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน เช่น ที่ทำงาน ที่บ้าน แฟกซ์ อื่นๆ อีเมล เพเจอร์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ตั้งแต่รุ่น 5.2.1 ใน ทังสเตน ที 3 และ ทังสเตน อี รุ่นดัดแปลงของโปรแกรมนี้ได้ออกมา รุ่นนี้ไม่ได้ทำโดยปาล์มซอร์ส แต่ทำโดยปาล์มอิงค์

เว็บเบราว์เซอร์ เบลเซอร์ (Blazer)

แก้

เบลเซอร์เป็นเว็บเบราว์เซอร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือปาล์ม รุ่นที่ 1.0 และ 2.0 ทำงานบนปาล์มโอเอสรุ่น 3.1 หรือสูงกว่า แต่ต้องการการเชื่อมต่อผ่านพรอกซี่เซอเวอร์จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก รุ่นที่ 3.0 ใช้กับเครื่อง ทรีโอ 600 รุ่นปัจจุบันของเบลเซอร์คือรุ่น 4.3 ซึ่งทำงานได้เหมือนเบราว์เซอร์ทั่วไป

เครื่องคิดเลข (Calculator)

แก้

เครื่องคิดเลขบนปาล์มนั้นสามารถทำงานได้เหมือนกับเครื่องคิดเลขมาตรฐานพร้อมฟังก์ชันการถอดรากที่สองและหน่วยความจำขนาดเล็ก และเครื่องคิดเลขบนปาล์มยังสามารถพิมพ์ประวัติการใช้งานได้อีกด้วย

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.4 การ์เนต เครื่องคิดเลขได้เพิ่มโหมดผู้ใช้ขั้นสูงซึ่งสามารถคำนวณได้หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น เรขาคณิต การเงิน ตรรกศาสตร์ สถิติ น้ำหนัก พื้นที่ และปริมาตร

โปรแกรมปฏิทิน (Date Book/Calendar)

แก้

โปรแกรมปฏิทินแสดงตารางนัดหมายแบบรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนแบบย่อๆ ในการแสดงตารางนัดหมายแบบรายวันแต่ละบรรทัดหมายถึงแต่ละช่วงเวลาเป็นชั่วโมงโดยมีเวลากำกับอยู่ที่ด้านซ้ายของบรรทัด โดยเส้นเชื่อมระหว่างเวลาบรรทัดหมายถึงเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของเหตุการณ์นั้นๆ บรรทัดที่ว่างเปล่าหมายถึงไม่มีเวลานัดหมาย และการเพิ่มนัดหมายใหม่ให้แตะที่บรรทัดที่ว่างเปล่า

การนัดหมายสามารถตั้งปลุกก่อนเวลานัดหมายตามที่กำหนดไว้ได้ และจะมีการปลุกเมื่อถึงเวลาไม่ว่าเครื่องกำลังปิดอยู่

การนัดหมายสามารถกำหนดให้เวียนกลับมาตามรอบเวลาที่กำหนดไว้ เป็นวัน เดือน สัปดาห์ หรือปีและยังสามารถใส่บันทึกไว้ได้อีกด้วย

ในปาล์มโอเอสรุ่นที่ 5.2.1 ปาล์มอิงค์ได้จัดทำโปรแกรมนี้ขึ้นมาใหม่โดยใช้ในเครื่องรุ่น ทังสเตน ที3 ทังสเตน อี ที่เพิ่มคุณสมบัติในการจัดกลุ่มให้กับแต่ละการนัดหมาย ใส่สีให้แก่การนัดหมายในแต่ละกลุ่ม และยังสามารถแสดงผลตารางนัดหมายในรูปแบบที่คล้ายกับในเครื่องวินโดวส์ โมบายล์อีกด้วย

โปรแกรมบันทึกการใช้จ่าย (Expense)

แก้

โปรแกรมนี้ใช้สำหรับการบันทึกการใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่สามารถคำนวณยอดรวมได้จากบนเครื่องปาล์ม ผู้ใช้ต้องทำการโอนถ่ายข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์และดูข้อมูลการใช้จ่ายจากโปรแกรมสเปรดชีท เช่น ไมโครซอฟท์เอกซ์เซล หมายเหตุ : โปรแกรมนี้ไม่ได้มีในเครื่องปาล์มทุกเครื่อง

โปรแกรมโอนถ่ายข้อมูล (HotSync)

แก้

โปรแกรมนี้มีชื่อเรียกว่า "ฮอตซิงค์ (HotSync)" มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อทำการสำรองข้อมูล โปรแกรมนี้ใช้งานโดยการกดปุ่มที่อยู่บนแท่นวางหรือสายเชื่อมโยงข้อมูลของเครื่องปาล์ม ข้อมูลจากแอปพลิเคชันต่างๆบนเครื่องปาล์มจะเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชันนั้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และจะทำการเพิ่มเติม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ตรงกัน

การสำรองข้อมูลมีประโยชน์เมื่อเครื่องปาล์มหายหรือถูกทำลายจนต้องทำการตั้งค่าเริ่มต้นใหม่ ทำให้ข้อมูลหายทั้งหมด หรือเมื่อผู้ใช้ทำการเปลี่ยนเครื่องปาล์มรุ่นใหม่ โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลเพื่อนำมาจัดเก็บบนเครื่องปาล์มดังเดิม

โปรแกรมจดบันทึก (Memo Pad/Memos)

แก้

โปรแกรมจดบันทึกนี้สามารถบันทึกตัวอักษรได้ถึง 4,000 ตัวอักษร และสามารถจัดกลุ่มบันทึกได้ โดยจัดเก็บข้อมูลในรูปของตัวอักษร ไม่ใช่รูปภาพ

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.2.1 ปาล์มอิงค์ได้จัดทำรุ่นดัดแปลงขอโปรแกรมนี้ออกมา ซึ่งสามารถใส่ข้อความได้มากถึง 32 เมกะไบต์

โน้ตแพด (Note Pad)

แก้

โน้ตแพดเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการวาดภาพ หรือเขียนบันทึกสั้นๆด้วยลายมือซึ่งที่เก็บในรูปแบบของรูปภาพจึงไม่ได้มีการแปลงลายมือให้เป็นตัวอักษร เหมาะสำหรับการบันทึกสั้นๆอย่างรวดเร็วแต่ไม่เหมาะกับการจดบันทึกยาวๆ ในหนึ่งหน้าจะสามารถจุคำได้ประมาณ 10 คำและใหญ่พอที่จะเขียนแผนที่แบบง่ายๆด้วย โดยสามารถเลือกขนาดเส้นได้สามขนาด และที่ลบสำหรับลบเส้นออก และในบางรุ่นยังสามารถเลือกสีพื้นหลังได้อีกด้วย

แอปพลิเคชันนี้เริ่มมีในปาล์มโอเอสรุ่นที่ 4.0 ยกเว้นเครื่องปาล์ม เอ็ม100 ที่ใช้ระบบปาล์มโอเอสรุ่นที่ 3.51

รายการสิ่งที่ต้องทำ (To Do List/Tasks)

แก้

เป็นแอปพลิเคชันง่ายๆที่ใช้ในการจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำ มีการจัดแบ่งระดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ วันกำหนดส่ง และหมวดหมู่ อีกทั้งยังสามารถแนบบันทึกไว้ได้อีกด้วย ในการจัดเรียงรายการสิ่งที่ต้องทำสามารถจัดเรียงได้โดยเรียงจากวันที่กำหนด ความสำคัญ หรือหมวดหมู่

ตั้งแต่ปาล์มโอเอสรุ่น 5.2.1 ในเครื่องทังสเตน ที3 และทังสเตน อี ปาล์มอิงค์ได้ออกรุ่นดัดแปลงของแอปพลิเคชันนี้ออกมาซึ่งเพิ่มความสามารถในการตั้งปลุกเตือนและสามารถตั้งให้ทวนรายการสิ่งที่ต้องทำซ้ำได้

ปาล์มโฟโต้ (Palm photo) /มีเดีย (Media)

แก้

ปาล์มไพล็อตในช่วงแรกนั้นไม่ได้มีแอปพลิเคชันในการเปิดรูปภาพ จนใน ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) ได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา โดยมีชื่อว่าอิมเมจวิวเวอร์ 3(Image Viewer III) และหลังจากนั้นจึงมีแอปพลิเคชันในการเรียกดูรูปภาพสำหรับปาล์มออกมามากมาย

ในค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ปาล์มรุ่นใหม่ทั้งหมดได้มีการบรรจุแอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ซึ่งใช้ในการสร้างอัลบั้มดิจิตอลเพื่อเรียกดูบนปาล์ม เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันด้านรูปภาพอื่นๆ ภาพสามารถส่งโดยใช้อินฟราเรด บลูทูธ ไปยังอุปกรณ์มือถืออื่นๆได้ หรือแนบกับอีเมล ที่ส่งจากปาล์มได้ แอปพลิเคชันนี้สามารถแสดงภาพได้ทั้งแบบสไลด์และแบบเต็มหน้าจอได้

การแก้ไขภาพสามารถทำได้โดยแอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ที่อยู่บนระบบวินโดวส์ และเมื่อแก้ไขแล้วการแก้ไขก็จะส่งผลมาที่แอปพลิเคชันบนเครื่องปาล์มเมื่อมีการโอนถ่ายข้อมูล

แอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้มีการบรรจุอยู่ในเครื่อง ไซร์ 71, ทังสเตน ซี, ทังสเตน อี, ทังสเตน ที2, ทังสเตน ที3 และอื่นๆอีกเล็กน้อย ส่วนปาล์ม แซด22 ใช้แอปพลิเคชัน สแปลชโฟโต้ (SplashPhoto)รุ่นไลต์ ซึ่งไม่มีคุณสมบัติครบทั้งหมดของแอปพลิเคชัน หลังจากปาล์มโอเอส รุ่น 5.2.8 ตั้งแต่ปาล์ม ไซร์ 72 แอปพลิเคชันปาล์มโฟโต้ได้ถูกแทนที่ด้วยแอปพลิเคชัน มีเดีย ซึ่งสามารถจัดการและแสดงได้ทั้งภาพและวิดีโอ

การอัดเสียง (Voice recording)

แก้

เครื่องปาล์มบางรุ่นสามารถอัดเสียงได้ โดยเครื่องปาล์มรุ่นปัจจุบันที่สามารถอัดเสียงได้ประกอบด้วย ทรีโอ 700พี, ไลฟ์ไดร์ฟ, ทังสเตน ที2 ที3 และไซร์72

การตั้งค่าการทำงาน (Preferences)

แก้

แอปพลิเคชันนี้ใช้ในการเรียกที่ใช้ในการปรับตั้งค่าในส่วนต่างๆของเครื่อง ซึ่งมีประมาณ 15 หัวข้อการปรับแต่ง ตัวอย่างหัวข้อการปรับแต่ง เช่น การอ่านตัวอักษร(กราฟิตี) เสียง เมนูลัด การตั้งค่าด้านเครือข่าย และเวลาของระบบ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้