ปัญญา ถนอมรอด

ตุลาการชาวไทย

ปัญญา ถนอมรอด (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็นตุลาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา นายกเนติบัณฑิตยสภา  และประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549[1][2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และกรรมการกฤษฎีกา

ปัญญา ถนอมรอด
ประธานศาลฎีกา คนที่ 37
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550
ก่อนหน้าชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ถัดไปวิรัช ลิ้มวิชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ

ประวัติ แก้

ปัญญาเกิดที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 3) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หลังจบการศึกษา รับราชการตุลาการ เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา (สอบได้อันดับที่ 1) เมื่อ พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดน่าน ตำแหน่งบริหารเคยเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง, ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา

ปัญญา ถนอมรอด ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สืบต่อจากชาญชัย ลิขิตจิตถะ ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ปัญญามีคำพิพากษาส่วนตนให้ยุบพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 111 คน

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย วิชา ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปัญญาดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 กระทั่งพ้นวาระเนื่องจากเกษียณอายุราชการ นอกจากนั้น ปัญญาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.iwebcool.com/constitutionalcourt/index.php?option=com_teamdisplay&view=members&filter_category=73&Itemid=1578&lang=th[ลิงก์เสีย]
  2. [https://web.archive.org/web/20121107174834/http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062040 เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔๐๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
ก่อนหน้า ปัญญา ถนอมรอด ถัดไป
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ   ประธานศาลฎีกา คนที่ 37
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
  วิรัช ลิ้มวิชัย