ปลาไข่ออง
ปลาไข่ออง | |
---|---|
ภาพวาดปลาไข่อองชนิด O. feae | |
ภาพวาดของปลาไข่อองชนิด O. alfredianus | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Osteobrama Heckel, 1843 |
ชนิดต้นแบบ | |
Abramis gangeticus Swainson, 1839 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง | |
ปลาไข่ออง เป็นชื่อเรียกสกุลปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Osteobrama (/ออส-ที-โอ-บรา-ม่า/)
มีรูปร่างโดยรวมดังนี้ มีลำตัวลึกแบนข้างมากเป็นทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านข้างคอด หางเรียว หัวค่อนข้างเล็กกลม ปากอยู่ปลายสุด เกล็ดมีขนาดเล็ก หลุดง่าย ครีบหลังยกสูงและสั้น ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและมีขอบเป็นจักฟันเลื่อย และอยู่เหนือฐานครีบท้อง ฐานครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีเงินหรืออาจมีสีเหลืองอ่อน ครีบใส บางชนิดมีหนวด บางชนิดไม่มีหนวด หากมีก็เป็นหนวดที่สั้นและหลุดง่ายมาก มีฟันในลำคอ 3 แถว ปลายของเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ฐานครีบหาง[1]
ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 15–30 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงในน้ำขุ่น พบในประเทศอินเดียและพม่า 6 ชนิด และลุ่มน้ำสาละวิน 2 ชนิด บริเวณชายแดนไทย–พม่า
- Osteobrama alfredianus (Valenciennes, 1844) (พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน)
- Osteobrama bakeri (Day, 1873)
- Osteobrama belangeri (Valenciennes, 1844)
- Osteobrama bhimensis (Singh & Yazdani, 1992)
- Osteobrama cotio (Hamilton, 1822) (มี 3 ชนิดย่อย)
- Osteobrama feae (Vinciguerra, 1890) (พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน)
- Osteobrama neilli (Day, 1873)
- Osteobrama vigorsii (Sykes, 1839)
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยชื่อในวงการบางครั้งจะเรียกว่า "ปลาโรตี" (Rohtee) ซึ่งเป็นชื่อเรียกของสกุลเก่า ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นชื่อพ้อง
อ้างอิง
แก้- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 120. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ "Osteobrama". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.