ปลาเกล็ดถี่ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thynnichthys thynnoides จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลาลิ่นหรือปลาหัวโต (Hypophthalmichthys molitrix) ที่มีขนาดเล็ก กล่าวคือ หัวโต ตากลมโต ลำตัวเพรียวแบนข้างเล็กน้อย ไม่มีหนวด ปากเล็กอยู่ปลายสุดของส่วนหัว ครีบหลังไม่มีก้านครีบแข็ง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียดมาก มีสีเงินแวววาวเมื่อถูกแสงและหลุดร่วงได้ง่าย ที่บริเวณเส้นข้างลำตัวมีประมาณ 58-65 เกล็ด ข้อหางคอด ปลายครีบหางเว้าลึก ครีบทุกครีบสีจางใส ที่ฝาปิดแผ่นเหงืออกมีจุดสีคล้ำ ส่วนท้องสีขาวจาง[2]

ปลาเกล็ดถี่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาเกล็ดถี่ (สกุล)
(Bleeker, 1852)
สปีชีส์: Thynnichthys thynnoides
ชื่อทวินาม
Thynnichthys thynnoides
(Bleeker, 1852)
ชื่อพ้อง
  • Leuciscus thynnoides Bleeker, 1852
  • Thynnichthys thai Fowler, 1937

มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ชุกชุมอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ไม่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน และพบได้จนถึงคาบสมุทรมลายูและเกาะบอร์เนียว บางครั้งอาจพบปะปนอยู่กับกลุ่มปลาสร้อยด้วย โดยเฉพาะปลาสร้อยขาว (Henicorhynchus siamensis) อาจจะจำสับสนกันได้ เพราะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ปลาสร้อยขาวมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่ามาก[3]

ปลาเกล็ดถี่เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่น โดยมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น สร้อยเกล็ดถี่, นางเกล็ด, เรียงเกล็ด, ลิง, พรม เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. Lumbantobing, D.; Vidthayanon, C. (2020). "Thynnichthys thynnoides". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T188079A91076118. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T188079A91076118.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 176. ISBN 974-00-8701-9
  3. Thynnichthys thynnoides

แหล่งข้อมูลอื่น แก้