ปลาสร้อยขาว เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Henicorhynchus siamensis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวเพรียวยาว หัวโตและกลมมน ปากเล็กอยู่เกือบจะสุดจะงอยปาก กึ่งกลางของริมฝีปากมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา ไม่มีหนวด เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวสีเงินอมเทา เหนือครีบอกมีจุดสีคล้ำ ครีบหลังเล็ก ครีบหางเว้าลึกและมีจุดประสีคล้ำ โคนครีบหางมีจุดสีจาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 15 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร

ปลาสร้อยขาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: ปลาตะเพียน
Cypriniformes
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
Cyprinidae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยปลาเลียหิน
Labeoninae
สกุล: ปลาสร้อย (สกุล)
Henicorhynchus
Sauvage, 1881
สปีชีส์: Henicorhynchus siamensis
ชื่อทวินาม
Henicorhynchus siamensis
Sauvage, 1881
ชื่อพ้อง
  • Crossocheilus reba Smith, 1945
  • Morara siamensis Sauvage, 1881
  • Aspidoparia siamensis (Sauvage, 1881)
  • Cirrhinus siamensis (Sauvage, 1881)
  • Gymnostomus siamensis (Sauvage, 1881)
  • Tylognathus siamensis de Beaufort, 1927
  • Tylognathus brunneus Fowler, 1934
  • Tylognathus entmema Fowler, 1934
  • Cirrhinus marginipinnis Fowler, 1937
  • Cirrhina sauvagei Fang, 1942
  • Crossocheilus thai Fowler, 1944

ปลาสร้อยขาวมีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ และในฤดูฝนจะมีการอพยพย้ายถิ่นขึ้นสู่ต้นน้ำหรือบริเวณที่น้ำหลากเพื่อวางไข่และหากิน พบในแหล่งน้ำหลาก หนองบึง และแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคอีสานของไทย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างยิ่งของภาคอีสาน โดยนิยมนำมาทำปลาร้า และทำน้ำปลา เป็นที่มาของน้ำปลารสชาติดี คือ "น้ำปลาปลาสร้อย"

ปลาสร้อยขาวมีชื่อเรียกอื่นในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาส้อยหัวกลม" ในภาษาอีสาน, หรือ "ปลากระบอก" ในภาษาเหนือ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Allen, D.J. (2011). "Gymnostomus lineatus". The IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T187870A8637633. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T187870A8637633.en.
  2. หน้า 89 หนังสือสาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ พ.ศ. 2547 ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้