ปลาสเตอร์เจียนขาว
ปลาสเตอร์เจียนขาว (อังกฤษ: Beluga, European sturgeon, Giant sturgeon, Great sturgeon; รัสเซีย: Белуга แปลว่า สีขาว; ชื่อวิทยาศาสตร์: Huso huso) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Acipenseridae มีลักษณะลำตัวยาว ส่วนของหางเหมือนปลาฉลาม มีเกล็ดเป็นหนามแหลม ๆ เรียงเป็นแถวอยู่บนลำตัว ปลายปากเรียวแหลม ช่องปากอยู่ด้านล่างของลำตัวมีหนวดขนาดเล็กหลายเส้นรอบ ๆ ปากไว้รับสัมผัส ส่วนหลังมีสีดำอมเทา ส่วนท้องและขอบครีบต่าง ๆ มีสีขาว เมื่อยังเล็กส่วนท้องจะมีสีขาว ส่วนขอบของครีบมีสีขาว พื้นลำตัวมีสีเทาและหนามบนหลังมีสีขาว จึงเป็นที่มาของชื่อ
ปลาสเตอร์เจียนขาว ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไพลสโตซีน–ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลาสเตอร์เจียนขาวขนาดใหญ่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ | |
ปลาสเตอร์เจียนขาววัยอ่อนในตู้เลี้ยงกำลังกินปลาทอง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | อันดับปลาสเตอร์เจียน Acipenseriformes |
วงศ์: | Acipenseridae Acipenseridae |
สกุล: | ปลาฮูโซ Huso (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Huso huso |
ชื่อทวินาม | |
Huso huso (Linnaeus, 1758) | |
ชื่อพ้อง[4][5] | |
|
ปลาสเตอร์เจียนขาว นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 5 เมตร น้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม และมีบันทึกว่าพบขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อ ค.ศ. 1827 ในลุ่มแม่น้ำโวลกา เป็นเพศเมียมีความยาว 7.2 เมตร (23 ฟุต 7 นิ้ว) และมีน้ำหนัก 1,571 กิโลกรัม (3,463 ปอนด์)[6] จึงจัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก[7] ในธรรมชาติพบการแพร่กระจายในเขตหนาวของทวีปยุโรป เช่น ทะเลดำ, ทะเลสาบแคสเปียน และทะเลเอเดรียติก หากินอยู่ตามพื้นน้ำโดยใช้หนวดสัมผัส อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ
ใน ค.ศ. 1997 มีการจับปลาสเตอร์เจียนขาวได้ที่แม่น้ำโวลกา ประเทศรัสเซีย มีน้ำหนัก 1,815 กิโลกรัม มีลำตัวยาว 6.5 เมตร อายุประมาณ 130 ปี
ปลาสเตอร์เจียนขาว เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตเป็นปลาสองน้ำ ในวัยอ่อนจะฟักตัวและเลี้ยงตัวในปากแม่น้ำหรือแหล่งต้นน้ำลำธารในภูเขา เมื่อโตขึ้นจะอพยพย้ายถิ่นลงสู่ทะเลหรือแถบชายฝั่ง ในอดีตปลาสเตอร์เจียนขาวในแม่น้ำดานูบจะว่ายอพยพไปวางไข่ไกลกว่ากรุงเวียนนา ของออสเตรีย แต่ปัจจุบันนี้ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนปิดกั้นการเดินทางของปลา[7]
ปลาสเตอร์เจียนขาว เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของยุโรป ด้วยการบริโภคเนื้อมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคโรมัน รวมถึงไข่ที่ให้ไข่ปลาคาเวียร์ที่เป็นอาหารชั้นหรู มีราคาแพง ซึ่งจะให้ไข่ที่มีสีเข้มตั้งแต่สีเทาอ่อนจนกระทั่งถึงสีดำ ซึ่งนับได้ว่าเป็นไข่ปลาคาเวียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และแพงที่สุดด้วย[8]
สถานภาพของปลาสเตอร์เจียนขาวในปัจจุบัน นับว่าใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว ซึ่งเป็นผลจากการจับเพื่อการบริโภคและถูกรุกรานถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นปลาที่อ่อนไหวง่ายต่อสภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมมาก อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (ไซเตส) ได้จัดให้อยู่ในบัญชีหมายเลขที่ 2 (Appendix II) แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว และมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย
ปลาสเตอร์เจียนขาว มีชื่อเรียกอื่นอีกว่า "เบลูก้า" (белуга) ซึ่งเป็นภาษารัสเซียแปลว่า "ขาว" หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ตามชื่อสกุลและสายพันธุ์ว่า "ฮูโซ่"[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ Choudhury, Anindo; Dick, Terry A. (1998). "Special Paper: The Historical Biogeography of Sturgeons (Osteichthyes: Acipenseridae): A Synthesis of Phylogenetics, Palaeontology and Palaeogeography". Journal of Biogeography. 25 (4): 623–640. doi:10.1046/j.1365-2699.1998.2540623.x. JSTOR 2846137. S2CID 84869858.
- ↑ Gesner, J.; Chebanov, M.; Freyhof, J. (2010). "Huso huso". IUCN Red List of Threatened Species. 2010: e.T10269A3187455. doi:10.2305/IUCN.UK.2010-1.RLTS.T10269A3187455.en. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2022.
- ↑ Froese, R.; Pauly, D. (2017). "Acipenseridae". FishBase version (02/2017). สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017.
- ↑ "Acipenseridae" (PDF). Deeplyfish- fishes of the world. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-18. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Wood, Gerald L. (1982). The Guinness Book of Animal Facts and Feats (3rd ed.). Enfield, Middlesex: Guinness Superlatives. ISBN 978-0-85112-235-9. OCLC 9852754.
- ↑ 7.0 7.1 Michael Schlamberger (2012). Rita Schlamberger (บ.ก.). Danube - Europe's Amazon Part 2 Forest, Flood, Frost. Culture Unplugged.
- ↑ สุทัศน์ ยกส้าน (9 มีนาคม 2012). "คาเวียร์ : ไข่ราคาแพงที่สุดในโลก". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "'เบลูก้า สเตอเจียน' ปลาสองน้ำขนาดใหญ่เลี้ยงได้ในเมืองไทย". เดลินิวส์. 26 กุมภาพันธ์ 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2009 – โดยทาง NICAboard.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Huso huso
- รูปและข้อมูลปลาสเตอร์เจียนขาว. ที่ fishbase.org.