ปลาร่องไม้ตับ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Osteochilus
สปีชีส์: O.  microcephalus
ชื่อทวินาม
Osteochilus microcephalus
(Valenciennes, 1842)
ชื่อพ้อง[1]
  • Rohita brachynotopterus
  • Rohita triporos

ปลาร่องไม้ตับ หรือ ปลาข้างลาย (อังกฤษ: Bonylip barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteochilus microcephalus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีขนาดปานกลาง ลำตัวเรียวยาว จะงอยปากสั้นทู่ และครีบหางเว้าลึกเป็นแฉก มีลักษณะเด่นคือ มีแถบสีดำขนาดค่อนข้างใหญ่พาดผ่านนัยน์ตาตามความยาวลำตัวไปสิ้นสุดที่โคนครีบหาง

มีขนาดความยาวประมาณ 24 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นปลาในสกุลปลาสร้อยนกเขาที่พบได้บ่อยที่สุด โดย ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน ที่เข้ามาศึกษาพันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทยได้บันทึกไว้ว่า จับปลาร่องไม้ตับขนาดความยาว 23.5 เซนติเมตร ได้ที่แม่น้ำปราณ ในเดือนพฤษภาคม เป็นปลาตัวเมียที่มีไข่แก่ และจับได้ที่บึงบอระเพ็ดในเดือนพฤศจิกายน เป็นปลาตัวเมียขนาด 6 เซนติเมตร มีไข่เต็มท้อง แสดงให้เห็นว่า เริ่มผสมพันธุ์วางไข่ตั้งแต่ขนาด 6 เซนติเมตรขึ้นไป

เป็นปลาที่กินตะไคร่น้ำและสาหร่ายรวมถึง แมลงน้ำต่าง ๆ ตามโขดหินและใต้ท้องน้ำเป็นอาหาร นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในต่างประเทศเพราะมีความอดทน เลี้ยงง่าย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN
  2. หน้า 125, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้